กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการป้องกันวัณโรค
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเนียง
วันที่อนุมัติ 23 กุมภาพันธ์ 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 18,350.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวอาฟีฟะห์ เจ๊ะมามะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเนียง ตำบลเปาะเส้ง อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.511,101.201place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 80 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ปัจจุบันสถานการณ์โรควัณโรคในจังหวัดยะลา คาดประมาณจำนวนผู้ป่วยวัณโรค 1,242 ราย ขึ้ทะเบียนจำนวน 425 ราย คิดเป็นร้อละ 51.6 (ข้อมูล NTIP 22 สิงหาคม 2562) โดยพบว่าผู้ป่วยเพิ่มขึ้นทุกปี และยังไม่มีแนวโน้มลดลง สำหรับตำบลเปาะเส้ง ในปีงบประมาณ 2563 พบผู้ป่วยวัณโรค
0.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

วัณโรคเป็นปัญหาสาธารณสุขของประเทศไทย องค์การอนามัยโลกจัดให้เป็น 1 ใน 14 ประเทศของ โลกที่มีภาระวัณโรค วัณโรคที่สัมพันธ์กับการติดเชื้อเอชไอวี และวัณโรคดื้อยาหลายขนานสูง จากรายงานองค์การอนามัยโลกปี 2559 คาดประมาณว่าประเทศไทยมีผู้ป่วยวัณโรค 120,000 ราย ผู้ป่วยวัณโรคที่สัมพันธ์กับการติดเชื้อเอชไอวี 15,000 รายและผู้ป่วยวัณโรคดื้อยาหลายขนาน 4,500 ราย จากผลการดำเนินงานวัณโรคของประเทศไทยปี 2559 พบว่าผู้ป่วยที่ขึ้นทะเบียนรักษาวัณโรค 73,756 ราย โดยมีอัตราสำเร็จการรักษาผู้ป่วยวัณโรคร้อยละ 77.6 จำเป็นต้องเร่งรัดความสำเร็จการรักษาให้ได้ตามเป้าหมายที่ร้อยละ 90 โดยเร่งรัดลดการตายลดการขาดยา    และพัฒนาระบบส่งต่อและติดตามผลการรักษา (สำนักวัณโรค กลุ่มยุทธศาสตร์และประเมินผล ปรับปรุงวันที่ 10 พฤศจิกายน 2560) สำหรับสถานการณ์วัณโรคในเขตสุขภาพที่ 12 พบว่า อัตรารักษาวัณโรคสำเร็จ คิดเป็นร้อยละ 81.5 เสียชีวิตร้อยละ 5.2 ปัจจุบันสถานการณ์โรควัณโรคในจังหวัดยะลา คาดประมาณจำนวนผู้ป่วยวัณโรค 1,242 ราย ขึ้นทะเบียนจำนวน 425 ราย คิดเป็นร้อยละ 51.6 (ข้อมูล NTIP 22 สิงหาคม 2562) โดยพบว่ามีผู้ป่วยเพิ่มขึ้นทุกปี และยังไม่มีแนวโน้มลดลง สำหรับตำบลเปาะเส้ง ในปีงบประมาณ 2563 ที่ผ่านมา พบผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ จำนวน 2 ราย อยู่ในช่วงการรักษา 1 ราย และเสียชีวิต 1 ราย การค้นหาผู้ป่วยวัณโรคในชุมชนจึงเป็นการ ตัดวงจรการแพร่กระจายเชื้อวัณโรคได้เป็นอย่างดีและยังทำให้ผู้ที่ติดเชื้อวัณโรคได้รับการขึ้นทะเบียนรักษาด้วยยาวัณโรคอย่างถูกต้องและถูกวิธีตลอดการรักษาจนหายและใช้ชีวิตร่วมกับอื่นในชุมชนได้อย่างเป็นปกติสุข โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเปาะเส้ง จึงได้จัดทำโครงการแก้ไขปัญหาวัณโรค ปี 2564 ต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อสร้างความตระหนักของชุมชนในการควบคุมป้องกันวัณโรค อย่างจริงจังและต่อเนื่อง 2.เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการค้นหาผู้ป่วยวัณโรคในกลุ่มเสี่ยง 3.เพื่อลดการติดต่อของโรคระหว่างผู้ป่วยกับผู้สัมผัสร่วมบ้าน 4.เพื่อลดอัตราป่วยของผู้ป่วยวัณโรครายใหม่

1.เพื่อสร้างความตระหนักของชุมชนในการควบคุมป้องกันวัณโรค อย่างจริงจังและต่อเนื่อง 2.เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการค้นหาผู้ป่วยวัณโรคในกลุ่มเสี่ยง 3.เพื่อลดการติดต่อของโรคระหว่างผู้ป่วยกับผู้สัมผัสร่วมบ้าน 4.เพื่อลดอัตราป่วยของผู้ป่วยวัณโรครายใหม่

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 140 18,350.00 0 0.00
1 มี.ค. 64 - 30 ก.ย. 64 จัดอบรมให้ความรู้แก่ผู้นำชุมชน/ผู้นำศาสนา อสม. จำนวน 60 คน 60 6,000.00 -
15 มี.ค. 64 จัดอบรมให้ความรู้แก่ผู้สัมผัสร่วมบ้านของผู้ป่วยวัณโรค 80 12,350.00 -

1.ขั้นเตรียมการ 1.1วิเคราะห์ปัญหาและกำหนดแนวทางการแก้ไขปัญหา 1.2ประชุมเพื่อชี้แจงโครงการ 1.3เขียนโครงการเพื่อเสนออนุมัติ 2.ขั้นดำเนินการ 2.1ประชาสัมพันธ์โครงการ 2.2จัดเตรียมสถานที่ดำเนินโครงการ 2.3อบรมให้ความรู้แก่ผู้นำชุมชน/ผู้นำศาสนา/อสม. 2.4อบรมให้ความรู้แก่ผู้สัมผัสร่วมบ้านของผู้ป่วยวัณโรค 2.5ติดตามการรับประทานยาโดยผู้นำ/อสม./จิตอาสาในชุมชน 2.6 conference case วัณโรค โดยทีม/สรุปถอดบทเรียน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ชุมชนสามารถป้องกันการติดต่อของโรควัณโรคได้ 2.การค้นหากลุ่มเสี่ยงวัณโรคมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น 3.ลดการติดต่อของโรคระหว่างผู้ป่วยสัมผัสร่วมบ้าน 4.ลดอัตราป่วยของผู้ป่วยวัณโรครายใหม่

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 15 มี.ค. 2564 11:18 น.