กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการควบคุมและป้องกันโรคมือเท้าปาก ปี 2564
รหัสโครงการ 64-L2481-1-12
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านตะเหลี่ยง
วันที่อนุมัติ 25 กุมภาพันธ์ 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 30 ธันวาคม 2564
งบประมาณ 9,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสมศรี พงษ์พานิชย์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเกาะสะท้อน อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.22,102.059place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 60 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรค มือเท้าปาก นับเป็นโรคที่ระบาดในเด็กโรคหนึ่งที่พบทุกปี โดยเฉพาะในช่วงที่เริ่มเข้าหน้าฝนเป็นช่วงที่มีอัตราการระบาดของโรคนี้สูงพบบ่อยในเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 5 ปี โดยในปี 2563 ตั้งแต่ 1 ม.ค.- 14 ม.ค. อำเภอตากใบพบเด็กป่วยด้วยโรคมือ เท้า ปาก จำนวน 73 ราย อัตราป่วย 101.27 ต่อแสนประชากร และในตำบลเกาะสะท้อน จำนวน 6 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 62.1 ต่อแสนประชากร โดยพบในหมู่ที่ 1 จำนวน 1 ราย อัตราป่วย 88.97 ต่อแสนประชากร และหมู่ที่ 8 จำนวน 1 ราย อัตราป่วย 118.76 ต่อแสนประชากร (ข้อมูลจาก www.naradusis.net) โดยปกติโรคนี้เป็นโรคที่ไม่น่ากลัวและหายเองได้โดยไม่มีปัญหา แต่ถ้าหากเกิดมีโรคแทรกซ้อนอาจทำให้ก้านสมองอักเสบ และส่งผลให้เกิดภาวะหายใจและระบบไหลเวียนของโลหิตล้มเหลว ถึงแก่ชีวิตได้อย่างรวดเร็ว โรคนี้ติดต่อกันได้ง่าย โดยการสัมผัสน้ำมูกน้ำลายหรืออุจจาระของผู้ป่วยโดยตรงหรือทางอ้อม โรค มือ เท้า ปาก ไม่มียารักษาจำเพาะ และยังไม่มีวัคซีนป้องกัน เด็กที่อยู่ร่วมกันเป็นจำนวนมากมีโอกาสติดโรคกันได้ง่ายโดยเฉพาะเด็กที่อยู่ในสถานรับเลี้ยงเด็ก หรือศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านตะเหลี่ยง จึงจัดทำโครงการนี้ขึ้น เพื่อให้ครูและผู้ปกครองมีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องการป้องกันโรค มือ เท้า ปากที่ถูกต้อง เพื่อเฝ้าระวังโรคแก่บุตรและนักเรียน และลดอัตราการเจ็บป่วยและป้องกันการระบาดของโรคในเด็กก่อนวัยเรียน ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านในพื้นที่

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อควบคุม ป้องกันโรคมือเท้าปาก ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

ไม่พบอัตราป่วยด้วยโรคมือ เท้า ปาก ใน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

0.00
2 เพื่อเฝ้าระวังโรคมือเท้าปากไม่ให้แพร่ระบาด

ไม่พบการระบาดโรคมือเท้าปากในชุมชน

0.00
3 เพื่อให้ผู้ปกครองและครูผู้ดูแลเด็กมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรค มือเท้าปาก

ผู้ปกครองและครูผู้ดูแลเด็กมีความรู้ความเข้าใจและสามารถควบคุมป้องกันโรคได้

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 60 9,000.00 0 0.00
1 เม.ย. 64 - 30 ก.ย. 64 จัดกิจกรรมให้ความรู้เรื่องโรคมือเท้าปาก 60 6,000.00 -
1 เม.ย. 64 - 30 ก.ย. 64 กิจกรรมให้ความรู้และประชาสัมพันธ์โครงการ 0 3,000.00 -
  1. จัดทำโครงการ เพื่อขออนุมัติงบประมาณในการดำเนินงาน

  2. ดำเนินการจัดหาวัสดุ ในการดำเนินโครงการ

  3. ประชาสัมพันธ์โครงการให้กลุ่มเป้าหมายรับทราบ

  4. จัดอบรมให้ความรู้แก่ผู้ปกครองและครูผู้ดูแลเด็ก จำนวน 60 คน ณ ศพด.บ้านราญอ

  5. จัดกิจกรรมส่งเสริม ป้องกันโรค เช่น ให้ครูคัดกรองเด็กรายวัน สาธิตการล้างมือ 7 ขั้นตอนให้กับเด็กๆหลังรับประทานอาหาร ทำความสะอาดวัสดุและสื่อการเรียนอาทิตย์ละ 1 ครั้ง

  6. ติดตามการดำเนินงาน

  7. ประเมินการดำเนินโครงการและรายงานผลให้ผู้บริหารได้รับทราบ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมีกิจกรรมเฝ้าระวัง โรคมือเท้า ปาก อย่างต่อเนื่อง

  2. ไม่พบอัตราป่วยด้วยโรคมือเท้าปากในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

  3. ไม่เกิดการระบาดของโรคมือเท้าปากในชุมชน

  4. ผู้ปกครองและครูผู้ดูแลเด็ก มีความรู้ในการเฝ้าระวังและสามารถควบคุมและป้องกันโรคมือเท้าปากได้

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 15 มี.ค. 2564 11:47 น.