กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการรณรงค์ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก
รหัสโครงการ 64-L5234-2-13
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงเรียนวัดกระดังงา
วันที่อนุมัติ 29 มีนาคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กรกฎาคม 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2564
งบประมาณ 14,980.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลกระดังงา อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.509,100.427place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 60 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรงเรียนวัดกระดังงา มีนักเรียนหลายรายไม่สบายด้วยโรคไข้เลือดออก ซึ่งเป็นผลมาจากถูกยุงลายกัด ด้วยเหตุนี้โรงเรียนได้ตระหนักถึงความปลอดภัยของสุขภาพนักเรียน จึงได้จัดทำโครงการรณรงค์ควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก ประจำปีการศึกษา 2564 ขึ้น เพื่อให้เขตพื้นที่บริการ หมู่ที่ 2,3 และ 4 ตำบลกระดังงา ครอบคลุมทุกครัวเรือนปราศจากยุงลาย ซึ่งเป็นพาหะนำโรคไข้เลือดออกและเพื่อป้องกันการระบาดของโรคไข้เลือดออกซึ่งเป็นอันตรายแก่ชีวิต และเพื่อเสริมสร้างศักยภาพของชุมชนให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อกำจัดลูกน้ำยุงลายซึ่งเป็นพาหะของโรค ไม่ให้เกิดการระบาดของโรคไข้เลือดออก 2.เพื่อรณรงค์ให้นักเรียนและผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรมป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในบ้านตนเองอย่างต่อเนื่อง 3.เพื่อเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกส่งผลให้บุคคล ครอบครัวชุมชน ให้มีศักยภาพในการช่วยกันดูแลและลดการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก

1.นักเรียน ครู ผู้ปกครองและชุมชน ร้อยละ 95 มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคไข้เลือดออก และมีวิธีการในการป้องกัน ควบคุมไม่ให้เป็นไข้เลือดออก

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

1.ขั้นเตรียมการ   1)เสนอโครงการเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ   2)แต่งตั้งผู้รับผิดชอบโครงการ/ประสานหน่วยงาน 2.ขั้นดำเนินการ   1)ประชาสัมพันธ์โครงการและรายละเอียดของกิจกรรมตามโครงการให้นักเรียน ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานทราบ   2)จัดทำปฏิทินการปฏิบัติกิจกรรมตามโครงการ   3)จัดทำปฏิทินการปฏิบัติกิจกรรมตามโครงการ   4)ดำเนินงานตามโครงการฯ โดยจัดกิจกรรม ดังนี้   4.1 กิจกรรมอบรมให้ความรู้   4.2 กิจกรรมเดินรณรงค์ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก   4.3 กิจกรรมการสำรวจและกำจัดยุงลายในสถานศึกษาและชุมชน 3.ขั้นตรวจสอบ   1)นิเทศ กำกับ ติดตาม เพื่อสร้างขวัญกำลังใจในการดำเนินโครงการ เพื่อนำข้อมูลที่ได้รับมาปรับปรุงแก้ไขและพัฒนาให้มีคุณภาพยิ่งขึ้น   2)ประเมินการมีส่วนร่วมและความพึงพอใจของผู้เกี่ยวข้อง ได้แก่ ครู นักเรียน ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 4.ขั้นปรับปรุงแก้ไข   1)ประชุมคณะกรรมการดำเนินงานงานวิเคราะห์รายงานผลการประเมินเพื่อสรุปหาแนวทางการปรับปรุงพัฒนา   2)นำเสนอแนวทางการปรับปรุงพัฒนาให้คณะครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครองทราบ 5.สรุปและรายงานผลโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.นักเรียนและผู้ปกครองมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการป้องกันโรคไข้เลือดออก ส่งผลให้บุคคล ครอบครัว ชุมชนให้มีศักยภาพในการช่วยกันดูแลและลดการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก 2.นักเรียนและผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรมป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในบ้านตนเองอย่างต่อเนื่อง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 15 มี.ค. 2564 12:25 น.