กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเด็กวัยเรียน อนามัยดี ไม่มีเหาปีงบประมาณ 2564
รหัสโครงการ 64-L5234-1-2
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกระดังงา
วันที่อนุมัติ 29 มีนาคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มิถุนายน 2564 - 31 กรกฎาคม 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 31 สิงหาคม 2564
งบประมาณ 17,020.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกระดังงา
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลกระดังงา อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.509,100.427place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 98 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

เหา หรือที่มีชื่อเรียกทางวิทยาศาสตร์ว่า Pedidulus umanus เป็นแมลงในกลุ่มปรสิต อาศัยอยุู่บนร่างกายนและดำรงชีวิตด้วยการกินขี้ไคลบนหนังศรีษะของคนเรา เหามีมากกว่า 3,000 ชนิด ซึ่งบางส่วนที่เป็นปรสิตที่อยู่ในสัตว์ แต่ที่เป็นชนิดที่อยู่ในคนนั้นมีเพียงแค่ 3 ชนิด ได้แก่ เหาที่อยู่บนศรีษะ เหาที่เกาะอยู่ตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย และเหาที่บริเวณอวัยวะเพศ หรือโลน โดยเหาแต่ละชนิดจะอาศัยอยู่ในบริเวณต่างๆ ของร่างกาย อาทิเช่น บนศรีษะ บนร่างกาย และบริเวณอวัยวะเพศ เหาสามารถแพร่ะกระจายจากคนสู่คนได้ โดยการอยู่ใกล้ชิดและคลุกคลีกับผู้ที่เป็นโรคเหา จึงทำให้ผู้ที่เป็นโรคเหานั้นก็มักจะถูกสังคมรังเกียจ ซึ่งอาการที่มักจะพบได้จากคนที่เป็นเหาก็คืออาการคันและเป็นแผลติดเชื้อบนหนังศรีษะ อันเนื่องมาจากการระคายเคืองนอกจากนี้เหายังชอบวางไข่เอาไว้ตามเส้นผมของเราจนทำให้เป็นจุดขาวๆ ตามเส้มผม แถมยังเกาะแน่นอีกด้วย โดยจะไม่หลุดไปถึงแม้จะหายเป็นเหาแล้วก็ตาม     โรคเหาเป็นโรคท่พบกันบ่อยมากในกลุ่ม นักเรียนตั้งแต่ชั้นปฐมวัยจนถึงประถมศึกษาโดยจากการสำรวจนักเรียนในโรงเรียนวัดกลาง พบว่า มีนักเรียนติดเหา จำนวน 88 ค คิดเป็น 89.80% และโรงเรียนวัดกระดังงาติดเหาจำนวน 10 คน คิดเป็น 10.20% ซึ่งโรคเหานับเป็นโรคที่น่ารังเกียจ สำหรับคนทั่วไป นอกจากก่อให้เกิดความรำคาญกับผู้ที่เป็นเนื่องจากมีอาการคันศรีษะแล้วยังทำให้เสียสมาธิในการเรียน เสียบุคลิกภาพ และยังเป็นพาหนะนำไปติดผู้อื่นต่อไป วิธีการรักษาเหา จะต้องทำการรักษาผู้ที่เป็นเหาและผู้ที่อยู่ใกล้ชิดควบคู่กันไป โดยต้องทำการควบคุมไม่ให้เหาแพร่ะกระจาย และป้องกันไม่ให้เกิดการติดเหาซ้ำโดยใช้ยาเพื่อฆ่าเหาซ่ึ่งยามีทั้งในรูปครีม เจล หรือโลชั่น ซึ่งวิธีการรักษาเหาในรูปแบบดังกล่าวเป็นวิธีการที่ทำได้ง่าย และเห็นผลชัดเจน   ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกระดังงา ได้เล็งเห็นความสำคัญของการดูแลสุขภาพของนักเรียนที่เห็นโรคเหา จึงได้จัดทำโครงการเด็กวัยเรียน อนามัยดี ไม่มีเหาปีงบประมาณ 2564 ขึ้นเพื่อกำจัดเหานักเรียนในโรงเรียนวัดกลางและโรงเรียนวัดกระดังงา

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้นักเรียนหญิงสามารถดูแลรักษาความสะอาดร่างกายตนเองได้ถูกต้อง 2.เพื่อลดอัตราการเกิดเหาในเด็กวัยเรียนหญิง

1.ร้อยละ 70 ของเด็กนักเรียนหญิงหายจากการเป็นเหา 2.ร้อยละ 90 ของเด็กนักเรียนหญิงสามารถดูแลรักษาความสะอาดร่างกายตนเองได้ถูกต้อง

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

1.ประชุมวางแผนเจ้าหน้าที่และครูผุู้รับผิดชอบงานอนามัยโรงเรียน เพื่อกำหนดเป้าหมายและจำนวนกลุ่มเป้าหมาย 2.มอบหมาย หน้าที่ในการดำเนินการตามแผนงานโครงการ 3.ประสานดำเนินงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 4.จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติ 5.สำรวจเด็กนักเรียนที่เป็นเหาโดยครูประจำชั้น 6.ให้ความรู้เรื่องการดูแลความสะอาดของร่างกาย 7.ทำหนังสือแจ้งผู้ปกครองเพื่อขออนุญาตกำจัดเหาในเด็กนักเรียน 8.ดำเนินการกิจกรรมกำจัดเหาในเด็กนักเรียนโดยทำติดต่อกันจำนวน 2 ครั้งห่างกัน 2 สัปดาห์โดยใช้วัสดุอุปกรณ์ดังนี้ หวีเสนียด ถุงมือ หมวกคลุมผม ผ้าขนหนูผืนเล็กพันศรีษะ และน้ำยาสระผมกำจัดเหา 9.ดำเนินกิจกรรมกำจัดเหาที่บ้านนักเรียนและบันทึกผลการติดตามกำจัดเหาที่บ้านโดยผู้ปกครอง 10.ติดตามและประเมินผลการดำเนินงาน 11.สรุปผลการดำเนินงานโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

เด็กนักเรียนหญิงมีความตระหนักถึงผลกระทบต่อการเป็นเหาและเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในการรักษาความสะอาดร่างกายที่ถูกต้อง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 15 มี.ค. 2564 13:53 น.