กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการควบคุมและป้องกันภัยโรคไข้เลือดออกโดยภาคีเครือข่ายชุมชนปี 2564 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลพรวน
รหัสโครงการ 64-L5240-1-11
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลพรวน
วันที่อนุมัติ 23 กุมภาพันธ์ 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 24 กุมภาพันธ์ 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 20,880.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายพรชัย กลัดเข็มทอง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลท่าหิน อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.395,100.419place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สถานการณ์โรคไข้เลือดออก ตั้งแต่วันที่1มกราคม ถึงวันที่8 พฤษภาคม 2563 (ข้อมูลจากระบบรายงานการเฝ้าระวังโรค 506 สำนักระบาดวิทยา) ประเทศไทย มีรายงานผู้ป่วยไข้เลือดออก (Dengue Fever:DF,Dengue hemorrhagic fever :DHF, Dengue shock syndrome :DSS)สะสมรวม 9777 ราย อัตราป่วย 14.55 ต่อประชากรแสนคน มีรายงานผู้ป่วยเสียชีวิต 14 รายสำหรับในพื้นที่เขต 12 พบผู้ป่วย 775 ราย (เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ที่ผ่านมา 24 ราย)คิดเป็น 0.18 เท่า เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันในปีที่ผ่านมา อัตราป่วย 15.82 ต่อประชากรแสนคน ไม่มีรายงานผู้ป่วยเสียชีวิต จังหวัดที่พบอัตราป่วยสูงสุดคือ จังหวัดสงขลา อัตราป่วย 21.85 ต่อประชากรแสนคน (309ราย) รองลงมา คือ จังหวัดพัทลุง 17.97 ต่อประชากรแสนคน (94ราย) จังหวัดตรัง 16.53 ต่อประชากรแสนคน (106ราย) จังหวัดนราธิวาส 13.23 จาอประชากรแสนคน (104ราย) จังหวัดปัตตานี 11.47 ต่อประชากรแสนคน (80ราย) จังหวัดยะลา 10.57 ต่อประชากรแสนคน (55ราย) และจังหวัดสตูล 8.52 ต่อประชากรแสนคน (27ราย) จากข้อมูลการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลพรวน ตั้งแต่ เดือนมกราคม 2559-เดือนกันยายน 2563 พบผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก ในหมู่7-9ตำบลท่าหิน จำนวน 1 ราย ซึ่งไม่เกินเกณฑ์มาตรฐานตัวชี้วัด (อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชนและชุมชนมีส่วนร่วมในการกำจัดยุงลายอย่างต่อเนื่อง

ประชาชนในครัวเรือนมีส่วนร่วมในการกำจัดยุงลายร้อยละ100ของหลังคาเรือน

100.00
2 เพื่อกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในชุมชน ให้ได้ตามเกณฑ์ HI<10 แล/โรงเรียน/วัด/และสถานบริการ CI=0

ภาคีเครือข่าย(องค์กรชุมชน ท้องถิ่น วัด โรงเรียน) มีส่วนร่วมกำจัดยุงลายร้อยละ 100 วัด โรงเรียน รพสต. มีค่าดัชนีลูกน้ำยุงลาย CI=0
หมู่บ้านมีค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายในบ้านโดยมีค่า HI

100.00
3 เพื่อให้จำนวนผู้ป่วยและอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในพื้นที่รับผิดชอบลดลงเมื่อเทียบกับค่า MEDAIN ย้อนหลัง 5 ปี

จำนวนผู้ป่วย และอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ลดลง

100.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

1.จัดกิจกรรมรณรงค์ปรับปรุงสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมในครัวเรือน โรงเรียน วัด รพสต.พรวน เพื่อกำจัดแหล้งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย ควบคุมการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกปีละ 6 ครั้ง (เดือน พย มค มีค พค กค กย)
2.ให้ความรู้ในรูปแบบต่างๆเช่น จัดทำแผ่นไวนิลการป้องกันโรคไข้เลือดออก การจัดนิทรรศการให้ความรู้ และแจกเอกสารแผ่นพับ 3.สำรวจลูกน้ำยุงลาย พร้อมกำจัดลูกน้ำยุงลายโดยวิธีทางกายภาพและวิธีทางเคมีโดยทรายเคมีฟอสเครือข่ายอสม.ประชาชนในโรงเรียนวัดโพธิ์กลาง วัดโพธิ์กลาง และในครัวเรือนหมู่บ้าน หมู่ที่ 7-9 ทุกเดือน 4.ทีมควบคุมโรคระดับตำบล กำจัดยุงตัวเต็มวัยในพื้นที่ที่เกิดโรคการใช้สเปรย์กรณีเกิดโรคระบาดของโรคก่อนหารใช้เครื่องแบบฉีดพ่นยา พร้อมสำรวจค่าดัชนีลูกน้ำ กำจัดลูกน้ำยุงลายและแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย 5.เฝ้าระวังการเกิดโรคในพื้นที่ พร้อมวิเคราะห์สถานการณ์โรคไข้เลือดออกและแจ้งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบ โดยการใช้ระบบการสื่อสาร และแจ้งในวันประชุมประจำเดือน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ประชาชนในเขตพื้นที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลพรวน สามารถสร้างหมู่บ้านปลอดลูกน้ำยุงลาย โดยการสนับสนุนจากทุกภาคส่วน ทั้งทางด้านเทคนิคและวิชาการ อันเป็นกระบวนการแก้ไขปัญหาโรคในท้องถิ่นโดยกลวิธีทางด้านสาธารณสุขมูลฐาน โดยชุมชนมีส่วนร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมแก้ไขปัญหาในพื้นที่
2.ทุกหมู่บ้าน ชุมชน มีค่า HI < 10 และวัด โรงเรียน สถานบริการ ค่า CI=0 3.สามารถลดอัตราป่วย อัตราตายด้วยโรคไข้เลือดออกในพื้นที่เขตรับผิดชอบ จนเป็นพื้นที่ปลอดไข้เลือดออกได้อย่างต่อเนื่อง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 15 มี.ค. 2564 14:46 น.