กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการ อย.น้อยในโรงเรียน โรงเรียนบ้านพระพุทธ
รหัสโครงการ 64-L8287-2-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงเรียนบ้านพระพุทธ
วันที่อนุมัติ 9 มีนาคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 3 พฤษภาคม 2564 - 31 ธันวาคม 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ธันวาคม 2564
งบประมาณ 13,050.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวนูรีซัน สะมะแอ
พี่เลี้ยงโครงการ นายธนพล จรสุวรรณ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเทพา อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.833212,100.940972place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานขยะ , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของนักเรียนที่มีความรู้เกี่ยวกับการบริโภคอย่างเหมาะสมและปลอดภัย
30.00
2 ร้อยละของนักเรียนที่มีพฤติกรรมแยกขยะถูกต้อง
30.00
3 ร้อยละของนักเรียนมีสุขภาพอนามัยที่ดีเหมาะสมตามวัย
50.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

เด็กที่อยู่ในวัยเรียน ซึ่งเป็นผู้ที่กระตือรือร้นในการทำกิจกรรมที่สร้างสรรค์ และเป็นผู้ที่มีศักยภาพในตัวเอง สามารถชี้นำเพื่อนและผู้ปกครองให้สนับสนุนการดำเนินงานที่ดีอย่างได้ผล โรงเรียนบ้านพระพุทธ จัดทำโครงการ อย.น้อยในโรงเรียน โรงเรียนบ้านพระพุทธ โดยนำศักยภาพของนักเรียนมาใช้ เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องการบริโภคอย่างเหมาะสมและปลอดภัย การคุ้มครองผู้บริโภคให้ได้รับผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ปลอดภัย คุ้มค่า และสามารถเลือกซื้อเลือกบริโภคได้อย่างถูกต้อง ปลอดภัย รวมทั้งสามารถสร้างกลุ่มแกนนำเครือข่าย อย.น้อยในโรงเรียน เผยแพร่ความรู้ที่ได้รับไปยังเพื่อนนักเรียน ครอบครัว และชุมชน ตลอดจนร่วมเป็นหูเป็นตาให้ อย. โดยการตรวจสอบ เฝ้าระวังผลิตภัณฑ์สุขภาพ ตลอดจนโฆษณาที่โอ้อวดเกินจริง
ดังนั้นเพื่อให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการช่วยกันตรวจสอบ และเฝ้าระวังผลิตภัณฑ์สุขภาพ และทำหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนนำความรู้ทักษะไปปฏิบัติ ดังนั้นโรงเรียนบ้านพระพุทธ จึงได้จัดทำโครงการ อย.น้อย ในโรงเรียน โรงเรียนบ้านพระพุทธ ขึ้นเพื่อเพิ่มความรู้และทักษะในการตรวจสอบเฝ้าระวังผลิตภัณฑ์สุขภาพ และเพื่อช่วยให้โรงเรียน ตลอดจนในชุมชนได้รับความปลอดภัยจากการใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเพิ่มร้อยละของนักเรียนที่มีความรู้เกี่ยวกับการบริโภคอย่างเหมาะสมและปลอดภัย (ขนาด 30.00)

ร้อยละของนักเรียนที่มีความรู้เกี่ยวกับการบริโภคอย่างเหมาะสมและปลอดภัยเพิ่มขึ้น

30.00 60.00
2 เพื่อเพิ่มร้อยละของนักเรียนที่มีพฤติกรรมแยกแยะขยะถูกต้อง (ขนาด 30.00)

ร้อยละของนักเรียนที่มีพฤติกรรมแยกแยะขยะถูกต้องเพิ่มขึ้น

30.00 60.00
3 เพื่อเพิ่มร้อยละของนักเรียนมีสุขภาพอนามัยที่ดีเหมาะสมตามวัย (ขนาด 50.00)

ร้อยละของนักเรียนมีสุขภาพอนามัยที่ดีเหมาะสมตามวัยเพิ่มขึ้น

50.00 90.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 1387 13,050.00 5 13,050.00
18 - 28 พ.ค. 64 กิจกรรมสร้างเครือข่าย / อย. น้อยสอนน้อง 45 0.00 0.00
24 พ.ค. 64 - 28 ธ.ค. 64 กิจกรรมประชาสัมพันธ์ 334 900.00 900.00
31 พ.ค. 64 - 28 ธ.ค. 64 กิจกรรมสุขาภิบาลอาหารในโรงเรียน 340 3,350.00 3,350.00
31 พ.ค. 64 - 28 ธ.ค. 64 กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพ 334 0.00 0.00
28 ธ.ค. 64 กิจกรรมอบรมให้ความรู้ 334 8,800.00 8,800.00
  1. กิจกรรมอบรมให้ความรู้   - จัดทำคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานโครงการ อย.น้อยในโรงเรียน โรงเรียนบ้านพระพุทธ
      - จัดทำหนังสือขอความอนุเคราะห์วิทยากรจากโรงพยาบาลเทพา
      - จัดทำไวนิลงานอบรม   - จัดทำอาหารว่างและเครื่องดื่มตามจำนวนผู้เข้าอบรม   - จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้ เรื่อง การคุ้มครองผู้บริโภคให้ได้รับผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ปลอดภัยและคุ้มค่า โดยวิทยากรจากโรงพยาบาลเทพา
  2. กิจกรรมประชาสัมพันธ์
      - แกนนำเครือข่ายพี่ๆชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 ออกมาพูดเกี่ยวกับ อย.น้อย หน้าเสาธงในตอนเช้าที่ทำกิจกรรมหน้าเสาธงอย่างน้อยเดือนละครั้ง   - จัดเสียงตามสายเกี่ยวกับ อย.น้อย ในทุกวันศุกร์   - จัดบอร์ดให้ความรู้เกี่ยวกับ อย.น้อย   - จัดทำไวนิลให้ความรู้ในการเดินรณรงค์   - เดินรณรงค์ตามหมู่บ้าน โดยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มปากบางกับกลุ่มพระพุทธ
  3. กิจกรรมสุขาภิบาลอาหารในโรงเรียน   - จัดทำหนังสือขอความอนุเคราะห์วิทยากรจากโรงพยาบาลเทพา มาอบรมให้ความรู้ผู้ประกอบการจำหน่ายสินค้าในโรงเรียน   - จัดทำอาหารว่างและเครื่องดื่มตามจำนวนผู้เข้าอบรม   - จัดอบรมผู้ประกอบการจำหน่ายสินค้าในโรงเรียน
      - จัดซื้อถังขยะแยกประเภท   - นักเรียนทิ้งขยะ โดยการแยกประเภทของขยะให้ถูกประเภท
  4. กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพ   - ทำหนังสือขอความอนุเคราะห์วิทยากรจากโรงพยาบาลเทพา
      สาธิตการตรวจสารปนเปื้อนในอาหาร และการตรวจสอบ   เวชภัณฑ์   - สาธิตการตรวจสารปนเปื้อนในอาหาร และการต
  5. กิจกรรมสร้างเครือข่าย / อย.น้อยสอนน้อง   - ประชุมกับครูประจำชั้นในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 –
      มัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยทำความเข้าใจร่วมกันเกี่ยวกับโครงการ
      และขอความร่วมมือจากครูประจำชั้นช่วยคัดเลือกตัวแทน
      นักเรียน ห้องเรียนละ 3 คน
      - ครูประจำชั้นทำการคัดเลือกตัวแทนนักเรียนของแต่ละชั้น   - ทำการประชุมตัวแทนนักเรียน ทำความเข้าใจเกี่ยวกับการสร้าง   แกนนำเครือข่าย อย.น้อยสอนน้อง
      - ตัวแทนแกนนำร่วมกันวางแผนการดำเนินงานที่จะทำ และทำ   ความเข้าใจร่วมกัน แล้วให้ตัวแทนในแต่ละห้องเรียนเป็นแกนนำ   ในห้องเรียนของตัวเองในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับ อย.   น้อยในโรงเรียน ให้กับเพื่อนๆหรือน้อง ๆ ต่อไป
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.นักเรียนมีความรู้เกี่ยวกับการบริโภคอย่างเหมาะสมและปลอดภัยในชีวิตประจำวัน 2.นักเรียนมีพฤติกรรมการแยกขยะได้ถูกต้อง 3.นักเรียนมีสุขภาพอนามัยที่ดีเหมาะสมตามวัย

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 15 มี.ค. 2564 00:00 น.