กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบการติดตามประเมินผลการดำเนินกิจกรรมของโครงการ (Process Evaluation)

กิจกรรมระยะเวลาเป้าหมาย/วิธีการผลการดำเนินงานปัญหา/อุปสรรค/แนวทางแก้ไข
ตามแผนปฏิบัติจริงตามแผนปฏิบัติจริงตามแผนปฏิบัติจริง
กิจกรรมสร้างเครือข่าย / อย. น้อยสอนน้อง 18 พ.ค. 2564 18 พ.ค. 2564

 

1.ประชุมกับครูประจำชั้นในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 - มัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยทำความเข้าใจร่วมกันเกี่ยวกับโครงการ และขอความร่วมมือจากครูประจำชั้นช่วยคัดเลือกตัวแทนนักเรียน ห้องเรียนละ 3 คน (ปรับจากตอนแรก 5 คน เพราะจำนวนเยอะเกินไป) 2.ครูประจำชั้นทำการคัดเลือกตัวแทนนักเรียนของแต่ละชั้น 3.ทำการประชุมตัวแทนนักเรียน ทำความเข้าใจเกี่ยวกับการสร้างแกนนำเครือข่าย อย.น้อยสอนน้อง 4.ตัวแทนแกนนำร่วมกันวางแผนการดำเนินงานที่จะทำ และทำความเข้าใจร่วมกัน แล้วให้ตัวแทนในแต่ละห้องเรียนเป็นแกนนำในห้องเรียนของตัวเองในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับ อย.น้อยในโรงเรียน ให้กับเพื่อนๆหรือน้อง ๆ ต่อไป

 

โรงเรียนมีกลุ่มแกนนำเครือข่าย อย.น้อยในโรงเรียน ทำให้นักเรียนเข้าถึงข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับ อย.น้อยได้ง่ายมากขึ้น และยังมีการรวมกลุ่มทำกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง

 

กิจกรรมประชาสัมพันธ์ 24 พ.ค. 2564 24 พ.ค. 2564

 

1.แกนนำเครือข่ายพี่ๆชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 ออกมาพูดเกี่ยวกับ อย.น้อย หน้าเสาธงในตอนเช้าที่ทำกิจกรรมหน้าเสาธงอย่างน้อยเดือนละครั้ง 2.จัดเสียงตามสายเกี่ยวกับ อย.น้อย ในทุกวันศุกร์ 3.จัดบอร์ดให้ความรู้เกี่ยวกับ อย.น้อย (เปลี่ยนจากเดิมเป็น จัดบอร์ดนิทรรศการ) 4.จัดทำไวนิลให้ความรู้ในการเดินรณรงค์ ขนาด 2*1.5 เมตร จำนวน 2 ป้าย ราคา 900 บาท 5.เดินรณรงค์ตามหมู่บ้าน โดยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มปากบางกับกลุ่มพระพุทธ

 

มีบอร์ดให้ความรู้เกี่ยวกับ อย.น้อย และการเดินรณรงค์ในหมู่บ้าน ทำให้นักเรียนได้รับความรู้และเข้าถึงข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับ อย.น้อย สะดวกมากขึ้น รวมทั้งยังสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนในการเข้าถึงข้อมูลร่วมกัน นักเรียนสามารถเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับชุมชนของตนเองได้

 

กิจกรรมสุขาภิบาลอาหารในโรงเรียน 31 พ.ค. 2564 28 ธ.ค. 2564

 

1.จัดทำหนังสือขอความอนุเคราะห์วิทยากรจากโรงพยาบาลเทพา มาอบรมให้ความรู้ผู้ประกอบการจำหน่ายสินค้าในโรงเรียน 2.จัดทำอาหารว่างและเครื่องดื่มตามจำนวนผู้เข้าอบรม จำนวน 6 คน จำนวน 1 มื้อ มื้อละ 25 บาท/คน/มื้อ เป็นเงิน 150 บาท
3.จัดอบรมผู้ประกอบการจำหน่ายสินค้าในโรงเรียน
4.(ตรวจสุขภาพผู้ประกอบการจำหน่ายสินค้าในโรงเรียน) ***ไม่ได้ดำเนินการ เพราะต้องใช้งบประมาณที่สูง ทางโครงการไม่มีงบประมาณในส่วนนี้ 5.จัดซื้อถังขยะแยกประเภท 4 ใบ/1 ชุด ราคา 3,200 บาท 6.นักเรียนทิ้งขยะ โดยการแยกประเภทของขยะให้ถูกประเภท

 

1.ผู้ประกอบการจำหน่ายสินค้าในโรงเรียนทุกคนได้รับความรู้ความเข้าใจและรู้จักหลักการจำหน่ายสินค้าที่ถูกหลัก ทำให้ผู้ประกอบการจำหน่ายสินค้าในโรงเรียนจำหน่ายสินค้าที่ถูกหลักมากขึ้น 2.นักเรียนสามารถแยกประเภทของขยะได้ถูกต้อง ทำให้นักเรียนมีพฤติกรรมการทิ้งขยะแยกประเภทของขยะได้ถูกประเภทมากขึ้น

 

กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพ 31 พ.ค. 2564 28 ธ.ค. 2564

 

1.ทำหนังสือขอความอนุเคราะห์วิทยากรจากโรงพยาบาลเทพา สาธิตการตรวจสารปนเปื้อนในอาหาร และการตรวจสอบเวชภัณฑ์ 2.สาธิตการตรวจสารปนเปื้อนในอาหาร และการตรวจสอบเวชภัณฑ์ โดยวิทยากรจากโรงพยาบาลเทพา

 

นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจในการตรวจสารปนเปื้อนในอาหารเบื้องต้น และรู้ค่าของสารปนเปื้อนที่ตรวจในอาหารว่าอยู่ในระดับใด ปลอดภัยหรือไม่ การเก็บเวชภัณฑ์ได้เป็นหมวดหมู่ ยาทุกประเภทมี อย.ชัดเจน ทำให้นักเรียนรู้จักการตรวจสารปนเปื้อนเบื้องต้นและการเก็บเวชภัณฑ์ได้อย่างถูกต้องมากขึ้น

 

กิจกรรมอบรมให้ความรู้ 28 ธ.ค. 2564 28 ธ.ค. 2564

 

1.จัดทำคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานโครงการ อย.น้อยในโรงเรียน โรงเรียนบ้านพระพุทธ 2.จัดทำหนังสือขอความอนุเคราะห์วิทยากรจากโรงพยาบาลเทพา 3.จัดทำไวนิลงานอบรม ขนาด 1*3 เมตร ราคา 450 บาท 4.จัดทำอาหารว่างและเครื่องดื่มตามจำนวนผู้เข้าอบรม จำนวน 334 คน จำนวน 1 มื้อ มื้อละ 25 บาท/คน/มื้อ เป็นเงิน 8,350 บาท 5.จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้ เรื่อง การคุ้มครองผู้บริโภคให้ได้รับผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ปลอดภัยและคุ้มค่า โดยวิทยากรจากโรงพยาบาลเทพา

 

นักเรียนได้ความรู้เกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภคให้ได้รับผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ปลอดภัยและคุ้มค่า ทำให้นักเรียนสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพได้อย่างปลอดภัยและคุ้มค่ามากขึ้น