กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการสร้างเสริมสุขภาพเด็กประจัน สมาร์ทคิดส์ (Prajan Smart Kids)
รหัสโครงการ 64-L3029-1-11
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลประจัน
วันที่อนุมัติ 1 มกราคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2564 - 31 สิงหาคม 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2564
งบประมาณ 45,420.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวอารีณา บินวาณิช
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลประจัน อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนเป็นเป้าหมายสำคัญของการพัฒนาประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดแนวทางการดำเนินงานเพื่อให้ประชาชนมีสุขภาวะที่ดีทั้งมิติทางกาย ใจ สังคมและปัญญา (จิตวิญญาณ) และมิติของคน ครอบครัว และสังคมมากขึ้น โดยเริ่มจากช่วงวัยต้นของชีวิต คือ เด็ก 0–5 ปี ซึ่งเป็นวัยที่มีความสำคัญ เนื่องจากเป็นวัยที่มีการเจริญเติบโตและมีการพัฒนาอย่างรวดเร็วทั้งทางด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ สังคม และเป็นวัยที่เริ่มต้นการรับรู้และรับรู้เพื่อเป็นพื้นฐานของช่วงวัยต่อไป ดังนั้นเพื่อให้เด็กวัย 0–5 ปีมีสุขภาพดีนั้น ควรได้รับการดูแลสุขภาพอย่างเป็นองค์รวมและครอบคลุมทั้ง 4 ด้านได้แก่ การเจริญเติบโตสมส่วนตามวัย พัฒนาการด้านสมองตามวัย การดูแลสุขภาพช่องปากและฟันไม่ให้มีฟันผุ และรับวัคซีนครบตามกำหนด
จากการการสำรวจพบว่า ภาวะโภชนาการของเด็กปัตตานี มีเด็กผอม และเด็กเตี้ยสูงกว่าเกณฑ์ซึ่งมีสาเหตุมาจากการขาดสารอาหารเรื้อรัง การได้รับโภชนาการที่ไม่เหมาะสมและเพียงพอ บิดามารดาไม่มีเวลาเลี้ยงดูบุตร และด้านพัฒนาการพบว่า มีพัฒนาการค่อนข้างล่าช้า จากผลสำรวจ IQ เด็กชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 พบว่ามี IQ เฉลี่ยแล้ว ต่ำที่สุดในประเทศไทย เรื่องของวัคซีน พบว่าการครอบคลุมในการรับวัคซีน ต่ำมากเกือบทุกตัว สาเหตุส่วนใหญ่มาจากการรับวัคซีนช้า ไม่เห็นประโยชน์ของวัคซีน และเกิดอาการข้างเคียงจากการได้รับวัคซีน อีกทั้งยังพบปัญหาฟันผุในเด็ก เนื่องจากมีพฤติกรรมการไม่แปรงฟังและดูแลสุขภาพช่องปากที่ไม่ถูกต้อง ดังนั้นทางสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดปัตตานีได้เล็งเห็นความสำคัญของเด็กปัตตานีโดยได้กำหนดนโยบาย Pattani smart kids เพื่อให้เด็กปัตตานีมีสุขภาพดีเด็ก 0-5 ปี ได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์ สูงดีสมส่วน พัฒนาการสมวัย และฟันดีไม่ผุ ซึ่งจากผลการดำเนินงานดูแลสุขภาพกลุ่มเด็กอายุ 0-5 ปี ในตำบลประจัน ปีงบประมาณ 2563 พบว่างานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค (วัคซีน) เด็ก 0-5 ปี ได้รับวัคซีนตามเกณฑ์ที่กำหนด ร้อยละ 42.17 งานเฝ้าระวังภาวะโภชนาการ เด็ก 0-5 ปี สูงดีสมส่วน ร้อยละ 59.79 งานส่งเสริมพัฒนาการพบว่ามีเด็ก 0-5 ปีมีพัฒนาการสมวัย ร้อยละ 96.97 และการดูแลสุขภาพช่องปากและฟัน พบว่ามีเด็กอายุ 3-5 ปี มีฟันดีไม่ผุ ร้อยละ 54.17 (ข้อมูลจาก HDC) จากรายงานแม้ขนาดของปัญหาลดลง แต่ยังคงสูงกว่าค่าเฉลี่ยในระดับจังหวัดระดับภาคและระดับประเทศ
ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลประจันเล็งเห็นถึงความสำคัญของการดูแลสุขภาพของเด็กแบบองค์รวมให้ครอบคลุมทั้ง ๔ ด้าน จึงได้จัดทำโครงการสร้างเสริมสุขภาพเด็กประจันสมาร์ทคิดส์ เพื่อให้ความรู้เรื่องดังกล่าวแก่ผู้ปกครอง และส่งเสริมพัฒนาเด็กวัย 0-5 ปี ในเรื่องการกิน กอด เล่น เล่า นอน เฝ้าระวังดูแลสุขภาพช่องปาก และติดตามวัคซีน เพื่อสร้างเด็กให้ มีคุณภาพชีวิตที่ดี เหมาะสมตามวัย เป็นพลเมืองสร้างสรรค์ และมีส่วนร่วมในการพัฒนาสังคมในอนาคตต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
1 ม.ค. 64 - 31 ส.ค. 64 โครงการสร้างเสริมสุขภาพเด็กประจัน สมาร์ทคิดส์ (Prajan Smart Kids) 0 45,420.00 -
รวม 0 45,420.00 0 0.00
  1. จัดทำแผนงาน/โครงการเพื่อเสนอพิจารณาอนุมัติและสนับสนุนงบประมาณ
    1. จัดประชุมชี้แจงการดำเนินงานแก่เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง
  2. วางแผนและกำหนดรูปแบบกิจกรรมโครงการ
  3. ประชาสัมพันธ์โครงการและประสานกลุ่มผู้นำ องค์กรในชุมชน
  4. ดำเนินกิจกรรมตามที่กำหนดไว้ โดยกิจกรรมแบ่งเป็นดังนี้
  5. สรุปผลและประเมินผลโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เพื่อให้ผู้ปกครองและผู้เลี้ยงดูเด็ก มีความตระหนักในการเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการ/โภชนาการ ติดตามการรับวัคซีนตามเกณฑ์ และการได้รับฟลูออไรด์
    1. ผู้ปกครองหรือผู้เลี้ยงดูเด็กมีความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้อง เกี่ยวกับการดูแลเด็ก เกี่ยวกับภาวะโภชนาการ การดูแลสุขภาพช่องปาก การส่งเสริมพัฒนาการตามวัย และการได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์
    2. เด็กมีภาวะสุขภาพทีดีทั้งด้านภาวะโภชนาการ พัฒนาการ สุขภาพช่องปากและได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 16 มี.ค. 2564 00:00 น.