กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมป้องกันสุขภาพช่องปากเด็กปฐมวัย
รหัสโครงการ 64-L5234-3-2
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก อบต.กระดังงา
วันที่อนุมัติ 29 มีนาคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มิถุนายน 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2564
งบประมาณ 11,044.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ ครู รักษาราชการแทนหัวหน้า ศพด.อบต.กระดังงา
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลกระดังงา อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.509,100.427place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 82 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การส่งเสริมสุขภาพและการป้องกันโรคในช่องปาก เป็นกิจกรรมหนึ่งที่จะทำให้เด็กมีสุขภาพดี ป้องกันโรคฟันผุ สุขภาพช่องปากมีความสำคัญต่อสุขภาพของทุกคนโดยเฉพาะใน โรคฟันผุในเด็กสามารถพบได้ตั้งแต่ฟันเริ่มขึ้นในช่วงขวบปีแรกและอัตราการผุเพ่ิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงอายุ 1-3 ปี สาเหตุหลักที่ทำให้เด็กมีฟันผุมาจากพฤติกรรมการดูแลทำความสะอาดช่องปากไม่ถูกวิธีและมีพฤติกรรมการบริโภคที่ไม่เหมาะสมก่อให้เกิดโรคฟันผุในฟันน้ำนมอย่างรุนแรง เป็นช่วงที่สำคัญที่สุดในชีวิตเด็กจึงควรได้รับการเลี้ยงดูเอาใจใส่อย่างใกล้ชิดและเหมาะสม เพื่อให้เด็กมีสุขภาพอนามัยที่สมบูรณ์และมีพัฒนาการตามวัย อย่างไรก็ตามจากสภาพการเปลี่ยนแปลงของสังคม ปัจจุบันส่งผลให้เด็กได้รับการดูแลเอาใจใส่น้อยลง เด็กส่วนหนึ่งต้องมีปัญหาสุขภาพอนามัยซึ่งส่งผลเสียต่อการเจริญเติบโตและการพัฒนาการของเด็กในด้านสติปัญญาและความสามารถในการเรียนรู้ โรคฟันผุในเด็กเล็กนับเป็นปัญหาที่พบมากอีกทั้งฟันผุในฟันน้ำนมมีการลุกลามถึงโพรงประสาทฟันได้อย่างรวดเร็วกว่าฟันแท้ เนื่องจากความหนาของเคลือบฟันและเนื้อฟันน้อยกว่าฟันแท้และฟันผุนระยะแรกสามารถลุกลามเป็นรูผุได้ในเวลา 6 - 12 เดือน เด็กที่เริ่มมีฟันผุในอายุน้อยมการลุกลามได้เร็วและเริ่มผุในช่วงขวบปีแรก อัตราการผุจะเพ่ิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงอายุ 1-3 ปี การส่งเสริมสุขภาพช่องปากในที่สำคัญในช่วงนี้ได้แก่ การควบคุมอาหารหวาน และการแปรงฟันด้วยยาสีฟันผสมฟลูออไรด์วันละ 2 ครั้ง ควบคู่ไปกับมาตรการป้องกันโรคฟันผุอื่นๆ เช่น การใช้สารฟลูออไรด์ชนิดทาร่วมกับการตรวจคัดกรองเด็กที่มีความเสี่ยงต่อฟันผุ และการให้ทันตศึกษา     ศููนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลกระดังงา ได้ตระหนักถึงความสำคัญในการส่งเสริมดูแลสุขภาพฟันและการป้องกันโรคช่องปากในเด็กปฐมวัย เพื่อให้เด็กปฐมวัยมีสุขภาพฟันและช่องปากที่แข็งแรง จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมป้องกันสุขภาพช่องปากเด็กปฐมวัยขึ้น เพื่อสร้างเสริมสุขภาพช่องปากเด็กเล็กให้ห่างไกลโรคฟันผุอย่างยั่งยืนต่อไป ตลอดจนการสอนวิธีการแปรงฟันที่ถูกต้องให้แก่เด็กปฐมวัย

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อส่งเสริมให้ความรู้เรื่องทันตอนามัยโภชนการที่ดีและมีประโยชน์ต่อสุขภาพฟันของเด็กปฐมวัย 2.เพื่อสร้างสุขนิสัยและฝึกทักษะการดูแลความสะอาดช่องปากให้เด็กปฐมวัย

-ครู ผู้ดุูแลเด็กและเด็กปฐมวัยตระหนักถึงความสำคัญของการดูแลสุขภาพช่องปากและฟัน มีส่วนร่วมและส่งเสริมการดูแลสุขภาพช่องปากและฟันเด็กปฐมวัยได้รับการดูแลสุขภาพช่องปากและฟันอย่างถูกวิธี -เด็กปฐมวัยผ่านการประเมินผลการแปรงฟันที่ถูกวิธีไม่น้อยกว่าร้อยละ 70% -หากมีเด็กปฐมวัยที่ไม่ผ่านการประเมิน หลังจากการประเมินครั้งแรก ผ่านไป 2 เดือนดำเนินการประเมินผลการแปรงฟันอีกครั้ง

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

1.ขั้นเตรียมการ   1.1 จัดประชุมคณะครูและเจ้าหน้าที่กองการศึกษา   1.2 เขียนโครงการ   1.3 เสนอโครงการเพื่อขออนุมัติโครงการฯ ต่อผู้บริหาร   1.4 ขออนุมัติโครงการต่อกองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.กระดังงา   1.5 เมื่อได้รับการอนุมัติโครงการฯ แล้วดำเนินการจัดหาวิทยากรให้ความร้ทันตสุขภาพในเด็กเล็ก 2.ขั้นดำเนินการ   -จัดอบรมให้ความรู้ทางทันตกรรมแก่ครู ผู้ดูแลเด็กและเด็กปฐมวัย   -วิทยากรสาธิตการแปรงฟันที่ถูกวิธีให้แก่ครู ผู้ดูแลเด็ก และเด็กปฐมวัย   -เด็กปฐมวัยฝึกการแปรงฟันที่ถูกวิธี   -ครูประจำชั้นดำเนินการประเมินผลเด็กปฐมวัยแต่ละห้องว่ามีแรงฟันถูกวิธีไหม   -เมื่อประเมินผลแล้ว หากปรากฎว่ามีเด็กปฐมวัยไม่ผ่านการประเมิน ดำเนินการครั้งที่ 2 ต่อไป 3.สรุปผลโครงการและนำเสนอต่อไป

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.อัตราของการเกิดฟันผุในเด็กเล็กลดลง 2.เด็กปฐมวัยทุกคนมีสุขภาพอนามัยในช่องปากที่ดีและมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมกับครู ผู้ดูแลเด็กในการป้องกันโรคฟันผุ

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 16 มี.ค. 2564 10:51 น.