กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการป้องกันโรคไข้เลือดออก พื้นที่ท่าหิน
รหัสโครงการ 60- L5240-1-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต. ท่าหิน
วันที่อนุมัติ 1 มิถุนายน 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2560 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 20,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางจารุพรรณ โปชู
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลท่าหิน อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.395,100.419place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานสิ่งเสพติด , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่สำคัญซึ่งมีการแพร่ระบาดของโรคในทุกภาคของประเทศมีแนวโน้มช่วงระยะเวลาในการระบาดถี่ขึ้นและมีความรุนแรงมากขึ้น จากการระบาดของโรคปีเว้นสองปีปีเว้นปี ปัจจุบันมีการระบาดของโรคเป็นประจำทุกปี โดยพบผู้ป่วยได้ในทุกฤดูกาลโรคไข้เลือดออกจึงเป็นปัญหาระดับประเทศ ในแต่ละปีมีผู้ป่วยและตายเป็นจำนวนมากส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจและสังคม รัฐบาลจึงได้เล็งเห็นความสำคัญ จึงได้นำปัญหาโรคไข้เลือดออกมากำหนดเป็นนโยบายหลักในการดำเนินงาน โดยที่สถานบริการสุขภาพทุกแห่งจะต้องร่วมมือกับองค์กรชุมชนต่างๆดำเนินการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกให้ครอบคลุมทุกพื้นที่อย่างต่อเนื่อง
ในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าหิน นั้นได้ดำเนินการอย่างต่อเนื่องทุกปี โดยเน้นให้ อสม. ร่วมกับผู้นำชุมชนดำเนินการอย่างต่อเนื่อง แต่ยังไม่ได้ผลเท่าที่ควรเพราะยังมีผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ตำบลท่าหิน จากข้อมูลระบาดวิทยาจังหวัดสงขลาพบผู้ป่วยไข้เลือดออก 3,550 ราย มีอัตราป่วย252.50 ต่อประชากรแสนคน เสียชีวิต8 ราย มีอัตราป่วยตายร้อยละ0.23 อันตำบลท่าหินปี2556มีผู้ป่วย 6 รายอัตราป่วย 230 ต่อแสนประชากร ปี 2557 ไม่มีผู้ป่วย ปี2558 ไม่มีผู้ป่วย ปี 2559 มีผู้ป่วยจำนวน 3 รายอัตราป่วย 115ต่อแสนประชากร เนื่องมาจากผู้นำชุมชนไม่ให้ความสำคัญและไม่เป็นตัวอย่างในการกำจัดลูกน้ำยุงลายอสม.มีการดำเนินงานไม่ต่อเนื่องสม่ำเสมอ นักเรียนมีการกำจัดลูกน้ำยุงลายเป็นช่วงๆขาดความสม่ำเสมอประชาชนขาดความร่วมมือในการควบคุมลูกน้ำยุงลายในบ้านเรือนตนเอง โดยไม่เห็นความจำเป็นต้องดำเนินการกำจัดลูกน้ำยุงลายเพราะเป็นบทบาทของอสม.และเจ้าหน้าที่สาธารณสุขจึงจำเป็นต้องหาวิธีการใหม่ๆเพื่อสร้างจิตสำนึกในการป้องกันและควบคุมลูกน้ำยุงลายโดยสมาชิกในบ้านของตนเองอย่างจริงจัง เพื่อการสร้างจิตสำนึกในการป้องกันและควบคุมลูกน้ำยุงลายโดยสมาชิกในบ้านเรือนตนเองอย่างจริงจังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าหินจึงได้จัดทำโครงการบ้านฉันปลอดลูกน้ำยุงลายตำบลท่าหิน อำเภอสทิงพระจังหวัดสงขลาปลอดไข้เลือดออกขึ้น โดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมและมาตรการชุมชน โดยสร้างบทบาทการเป็นผู้นำชุมชน โรงเรียนและอสม.เพื่อเป็นตัวอย่างในการสร้างจิตสำนึกและความตระหนักในการป้องกันโรคไข้เลือดออกแประชาชนทำให้ตำบลท่าหินปลอดไข้เลือดออกอย่างยั่งยืนต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้ประชาชนมีความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออก

1.ร้อยละ 80 ของประชาชนมีความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออก

2 2.เพื่อให้ประชาชนร่วมมือในการกำจัดลูกน้ำยุงลายในครัวเรือนอย่างต่อเนื่อง

1.ร้อยละ 80 ของหลังคาเรือนให้ความร่วมมือในการกำจัดลูกน้ำยุงลายอย่างต่อเนื่อง

3 3.เพื่อลดอัตรป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกร้อยละ 20 เมื่อเทียบกับค่าmedainย้อนหลัง 5 ปี

1.อัตราการป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกลดลงร้อยละ 20 เมื่อเทียบกับค่า median ย้อนหลัง 5 ปี 2.ค่า HI < 10,CI = 0

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

ขั้นเตรียมการ 1. จัดประชุมผู้เกี่ยวข้อง เพื่อระดมความคิดเห็นในการดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในปีที่ผ่านมา พร้อมทั้งสรุปปัญหา อุปสรรคและหาแนวทางการดำเนินงาน ปี 2560
2. คัดเลือกหมู่บ้านนำร่องเร่งรัดจัดการโรคไข้เลือดออก ปี 2560 โดยเลือกหมู่ที่ 4 ตำบลท่าหิน 3. จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติ ขั้นดำเนินการ 1. จัดประชุมให้ความรู้เรื่องการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกแก่ อสม.หมู่ที่ 1 – 6 ตำบลท่าหิน โดยเน้นกระบวนการสำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายที่ถูกต้องพร้อมทั้งมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของอสม.ทุกวันที่ 13 ของเดือน
2. ให้ความรู้ความรู้แก่ประชาชนทั่วไป , นักเรียน เรื่องการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในหมู่บ้าน โดยช่องทางต่างๆ เช่น หอกระจายข่าว ให้สุขศึกษารายกลุ่มในชุมชนและในโรงเรียน แจกเอกสาร แผ่นพับจัดบอร์ดความรู้
3. รณรงค์ทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายทุกวันศุกร์ ในโรงเรียน วัด และบ้านเรือนโดยวิธีการที่หลากหลายและสอดคล้องบริบทของชุมชนดังนี้ 3.1. ด้านกายภาพโดยการกำจัดขยะทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลายโดยการ คว่ำภาชนะ เผาฝัง 3.2.ด้านเคมีโดยการใส่ทรายทีมีฟอสพ่นหมอกควันกำจัดยุงตัวแก่กรณีมีรายงานโรคไข้เลือดออกรัศมี 100 เมตร (วันที่ 0,3,7,14,21) 3.3. ด้านชีวภาพโดยการจัดตั้งธนาคารปลาหางนกยูงประจำหมู่บ้าน 4. จัดตั้งสารวัตรยุงลายขึ้นในโรงเรียนเพื่อเป็นแกนนำในการควบคุมแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลายและรายงานผลการสำรวจทุกวันศุกร์
5. อสม.สำรวจแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลายทุก 1 เดือน

ขั้นประเมินผลกิจกรรม 1. ประเมินปัจจัยนำเข้าคน,เงิน ,สิ่งของ ตามช่วงเวลา 2. ประเมินกระบวนการจากกิจกรรมเป็นระยะๆ 3. ประเมินผลงานและผลลัพธ์ของโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ประชาชนมีการตื่นตัวและตระหนักถึงอันตรายของโรคไข้เลือดออก และร่วมมือกันกำจัดลูกน้ำยุงลายอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ โดยเกิดความร่วมมือระหว่าง บ้าน วัด โรงเรียนและชุมชน ทำให้ค่าดัชนีความชุกชุมลูกน้ำยุงลาย ( HI, CI ) ลดลงส่งผลให้ลดอัตราป่วยของโรคลดลงจนทำให้เกิดหมู่บ้านปลอดไข้เลือดออกและตำบลปลอดไข้เลือดออก

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 25 ก.ค. 2560 21:21 น.