กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเฝ้าระวังการบริโภคอาหารสะอาดปลอดภัยจากสารปนเปื้อนและคุ้มครองผู้บริโภค รพ.สต. ท่าหิน
รหัสโครงการ 60-L5240-1-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต. ท่าหิน
วันที่อนุมัติ 1 มิถุนายน 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2560 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 9,120.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางจารุพรรณ โปชู
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลท่าหิน อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.395,100.419place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

อาหารเป็นปัจจัย 4 ที่มีความจำเป็นต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์เป็นอย่างยิ่งการบริโภคอาหารที่สุก สะอาด ถูกต้อง เหมาะสม ทั้งประเภท ปริมาณครบถ้วน5 หมู่ ช่วยให้ร่างกายเจริญเติบโตช่วยซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอและยังช่วยสร้างเสริมภูมิคุ้มกันอีกด้วย ในทางกลับกัน การบริโภคอาหารที่ไม่สด สะอาด มีสารปนเปื้อนก็จะเป็นอันตรายแก่ผู้บริโภคได้ อาหาร จะสะอาดหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบที่สำคัญดังนี้คือ อาหารหรือวัตถุดิบที่นำมาปรุงสถานที่ผลิตและประกอบการด้านอาหาร เช่น ร้านอาหาร แผงลอยตลาด แผงขายอาหารสด และโรงครัวและร้านขายของชำ คนจำหน่ายคนปรุง และคนเสริฟอาหาร ตลอดจนคนทำความสะอาดภาชนะนอกจากนี้ก็ยังมีสิ่งแวดล้อมภายนอก เช่น แหล่งน้ำเสีย และแหล่งทิ้งขยะมูลฝอยเป็นต้น หากอาหารไม่สะอาดมีสารปนเปื้อนปนเปื้อนเชื้อจุรินทรีย์ ทำให้ผู้บริโภคมีอาการท้องเสียได้ จากสถานการณ์โรคอุจจาระร่วง ปี 2559 ของตำบลท่าหิน ได้รับรายงานผู้ป่วยโรคDiarrhoeaจำนวนทั้งสิ้น 67 รายคิดเป็นอัตราป่วย 1631.76ต่อประชากรแสนคน ไม่มีรายงานผู้ป่วยเสียชีวิต โดยพบมากในกลุ่มเด็ก 0-4 ปี อัตราป่วย 650 ต่อแสนประชากร ตามมาด้วยกลุ่มเด็กอายุ 5-9ปี มีอัตราป่วย 250 ต่อแสนประชากรตามลำดับ โดยอาชีพส่วนใหญ่คือ เด็กในปกครอง ซึ่งโรคอุจจาระร่วงยังเป็นปัญหาที่สำคัญของตำบลท่าหินและพื้นที่คาบสมุทรสทิงพระ โดยมีอัตราป่วยเกินกว่า 1,000ต่อแสนประชากร จากการดำเนินงานอาหารปลอดภัยและงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านสาธารณสุขของ รพ.สต.ท่าหิน ปี 2559ที่ได้ดำเนินการแล้วเสร็จ เช่นโดยอบรมพี่เลี้ยงเด็กอายุ 0-4 ปี จำนวน 20คน และ 2-4ปี จำนวน 20 คน และผู้ประกอบอาหารในโรงเรียน จำนวน 2 คนผู้ประกอบอาหารในงานเลี้ยงของชุมชน 3 คนการตรวจสารปนเปื้อนในแผงลอยจำหน่ายอาการจำนวน 1 แผง คิดเป็นร้อยละ100

แม้การดำเนินงานสุขาภิบาลอาหารของรพ.สต.ท่าหินจะเน้นกลุ่มเด็ก 0 -4 ปี พี่เลี้ยงเด็ก ผู้ประกอบอาหารในโรงเรียน งานวัดต่างๆแล้วแต่ไม่สามารถทำให้โรคอุจจาระร่วงลดลงได้จำเป็นต้องดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง โดยอาศัยแกนนำสุขาภิบาลอาหารของตำบลท่าห่าหิน เช่นนักเรียน ครู ร้านค้า ผู้ดูแลเด็กเล็กในโรงเรียนและศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ตัวแทนร้าค้าดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่า หิน จึงได้จัดทำโครงการ เฝ้าระวังการบริโภคอาหารสะอาด ปลอดภัยจากสารปนเปื้อน คุ้มครองผู้บริโภค รพ.สต.ท่าหินปี 2560 ขึ้น เพื่อให้ประชาชนตำบลท่าหินมีสุขภาพดีปลอดจากโรคที่เกิดจากสาบริโภคอาหารไม่ถูกต้อง ต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้ผู้ขายอาหารแผงลอยในเขตโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าหินมีความรู้ในการดำเนินงานอาหารสะอาดปลอดภัย ตระหนัก เห็นความสำคัญและร่วมรับผิดชอบในการพัฒนาให้แผงลอยผ่านเกณฑ์ตัวชี้วัด

1.ร้านค้าแผงลอยได้รับการตรวจติดตาม ดูแลด้านสุขาภิบาลอาหารร้อยละ 100 2.ร้านค้า แผงลอยผ่านเกณฑ์อาหารปลอดภัยร้อยละ 100

2 2.เพื่อให้ กลุ่มแกนนำ อบต.ผู้นำชุมชน อสม. ครูผู้ดูแลเด็ก ผู้ประกอบอาหารในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและในโรงเรียน ในเขตโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าหิน มีความรู้อาหารปลอดภัย สุขาภิบาลอาหาร สามารถเลือกซื้อ บริโภคอาหารที่สะอาด ปลอดภัย

1.กลุ่มแกนนำ อบต.,ผู้นำชุมชน,อสม.,ครูผู้ดูแลเด็ก ผู้ประกอบอาหารในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและในโรงเรียน ได้รับการอบรมสุขาภิบาลอาหารร้อยละ 100 2.กลุ่มแกนนำ อบต.,ผู้นำชุมชน,อสม.,ครูผู้ดูแลเด็ก ผู้ประกอบอาหารในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและในโรงเรียน มีความรู้เรื่องสุขาภิบาลอาหาร ร้อยละ 100

3 3.เพื่อสร้างภาคีเครือข่ายให้เข้มแข็งแก่ผู้บริโภค

1.มีภาคีเครือข่ายคุ้มผู้บริโภค

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. ประชุมเจ้าหน้าที่และประธาน อสม.แต่ละหมู่ 2.ตรวจ ติดตาม ดูแลด้านสุขาภิบาลอาหารอาหารปลอดภัย ร้านค้าแผงลอยขายอาหาร 2.1. แผงลอยขายอาหาร จำนวน 1แผง 2.2. ร้านค้าจำนวน 9 ร้าน 2.3. โรงอาหารในโรงเรียน จำนวน 2โรง 3.อบรมสุขาภิบาลอาหาร 3.1. กลุ่มแกนนำ อบต.และผู้นำชุมชน 12 คน /1 วัน 3.2. อสม.แต่ละหมู่ 6 คน /1 วัน 3.3. ผู้ประกอบอาหารและครูผู้ดูแลเด็กในศูนย์เด็กเล็ก 2 คน /1 วัน 3.4. ผู้ประกอบอาหารและครูในโรงเรียน 4 คน /1 วัน 3.5. ตัวแทนแผงลอย, ร้านค้า 10 คน/1 วัน 4.สนับสนุนการดำเนินงานโครงการอย.น้อยในโรงเรียน 5.สนับสนุนการพัฒนาแผงลอยตัวอย่าง 6.สนับสนุนให้โรงเรียนเข้าร่วมประชุม ประชาสัมพันธ์ด้านอาหารปลอดภัยร่วมกับรถ Mobile ของจังหวัด 6.1 นักเรียน 6 คน /1 รร. 6.2 ครู 1 คน/ 1 รร 6.3 อสม. 1 คน /หมู่
    1. .ติดตาม นิเทศ ผู้ดูแลเด็ก ผู้ปกครอง ผู้ประกอบอาหารในศูนย์เด็กเล็กและโรงเรียน 8.ประเมินผลการดำเนินงานสุขาภิบาลในชุมชนสรุปผลการดำเนินงานโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ผู้ประกอบการอาหาร แผงลอย มีความรู้เรื่องการสุขาภิบาลอาหารและปฏิบัติตามมาตรฐานของสถานประกอบการประชาชนมีความรู้ เกิดความตระหนัก และเห็นความสำคัญในการเลือกซื้อและบริโภคอาหารที่สะอาดและปลอดภัย ได้คุณค่าทางโภชนาการ

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 25 ก.ค. 2560 21:26 น.