กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการสร้างกระแสสังคม "คนพรวนกินอาหารสะอาดปลอดภัย "
รหัสโครงการ 60- L5240-1-07
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต. พรวน
วันที่อนุมัติ 1 มิถุนายน 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2559 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 7,420.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางวันวิสาข์ เทพเดชา
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลท่าหิน อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.395,100.419place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

อาหารเป็นปัจจัย 4 ที่มีความจำเป็นต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์เป็นอย่างยิ่งการบริโภคอาหารที่สุก สะอาด ถูกต้อง เหมาะสม ทั้งประเภท ปริมาณครบถ้วน 5 หมู่ ตามหลักโภชนาการสำหรับบุคคลทั่วไป กลุ่มเสี่ยง และผู้ป่วยนั้นทำให้เกิดประโยชน์แก่ร่างกายคือ ช่วยให้ร่างกายเจริญเติบโตช่วยซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอและยังช่วยสร้างเสริมภูมิคุ้มกันอีกด้วย ในทางกลับกัน การบริโภคอาหารที่ไม่สด สะอาด มีสารปนเปื้อนก็จะเป็นอันตรายแก่ผู้บริโภคได้เช่น การบริโภคอาหารที่ไม่สะอาด ปนเปื้อนเชื้อโรคเป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคอุจจาระร่วงอหิวาตกโรค โรคอาหารเป็นพิษและการบริโภคอาหารที่มีสารเคมีปนเปื้อน และประเภทปิ้ง ย่าง รมควัน เป็นประจำ ก็เป็นสาเหตุ ให้เกิดโรคมะเร็ง เป็นต้น รัฐบาลจึงได้มุ่งเน้นงานอาหารปลอดภัยและงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านสาธารณสุขเป็นนโยบายสำคัญมาตั้งแต่ปี 2548 โดยกำหนดยุทธศาสตร์การดำเนินงานด้านความเข้มแข็งในการกำกับดูแล ให้อาหารปลอดภัยและคุ้มครองผู้บริโภคด้านอาหารซึ่งมีกิจกรรมการดูแลสถานประกอบการอาหาร และผลิตภัณฑ์อาหาร การดำเนินโครงการอาหารสะอาด รสชาติอร่อย (Clean Food Good Taste) การตรวจสารปนเปื้อนในอาหาร 6 ชนิด และสารโพลาร์ในน้ำมันทอดซ้ำ รวมทั้งอะฟาท็อกซินตลอดจนการรณรงค์ให้ประชาชนมีความรู้ในการเลือกบริโภคอาหารที่สะอาด ปลอดภัย ถูกหลักสุขาภิบาลอาหาร ผ่านสื่อต่าง ๆ กิจกรรมเหล่านี้มีความสำคัญที่จะทำให้ประชาชนผู้บริโภคได้รับอาหารและผลิตภัณฑ์อาหารที่สะอาด ปลอดภัย
อาหารจะสะอาดหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบที่สำคัญดังนี้คือ อาหารหรือวัตถุดิบที่นำมาปรุงสถานที่ผลิตและประกอบการด้านอาหาร เช่น ร้านอาหาร แผงลอยตลาด แผงขายอาหารสด ร้านขายของชำโรงครัวในวัดและโรงเรียน ร้านขายของชำ ครัวเรือน ตลอดจน คนจำหน่ายคนปรุง คนเสริฟอาหารและคนทำความสะอาดภาชนะนอกจากนี้ก็ยังมีสิ่งแวดล้อมภายนอก เช่น แหล่งน้ำเสีย และแหล่งทิ้งขยะมูลฝอยเป็นต้นและจากข้อมูลการดำเนินงานอาหารปลอดภัยของอำเภอสทิงพระปี 2559 พบว่าร้านอาหารผ่านเกณฑ์อาหารสะอาดรสชาติอร่อย 100 %และผ่านเกณฑ์อาหารปลอดภัยจากสารปนเปื้อน 6 ชนิดและสารโพลาร์ในน้ำมันทอดซ้ำ 91.15 % สถานที่ผลิตอาหารผ่านเกณฑ์ GMP 100 %ปี2559พบว่าผ่านร้านอาหารผ่านเกณฑ์อาหารสะอาดรสชาติอร่อย100 %ผ่านเกณฑ์อาหารปลอดภัยจากสารปนเปื้อน 6 ชนิดและสารโพลาร์ในน้ำมันทอดซ้ำ92.36 %สถานที่ผลิตอาหารผ่านเกณฑ์ GMP 100 % และใน ปี 2554 พบว่า ร้านอาหารผ่านเกณฑ์อาหารสะอาดรสชาติอร่อย ผ่านเกณฑ์ 100 %ผ่านเกณฑ์อาหารปลอดสารปนเปื้อน 6 ชนิดและสารโพลาร์ในน้ำมันทอดซ้ำ 98.53 % และสถานที่ผลิตอาหารผ่านเกณฑ์ GMP 100 % แต่อย่างไรก็ตาม ยังต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง โดยเน้นการสุขาภิบาลอาหารในครัวเรือน เนื่องจากประชาชนปรุงอาหารรับประทานเองเป็นส่วนมาก จึงต้องมีการให้ความรู้เรื่องสุขาภิบาลอาหารแก่แม่บ้านให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ต่อไป เพื่อแก้ปัญหาเรื่องโรคอุจจาระร่วงซึ่งเป็นปัญหาสาธารณสุขอันดับแรกๆของ ตำบลท่าหินหมู่ที่ 7-9อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา ซึ่งในการดำเนินงานดังกล่าว ตำบลท่าหิน ได้กำหนดแนวทางหรือกลยุทธ์ไว้เพื่อให้การดำเนินงานบรรลุเป้าหมายตามยุทธศาสตร์ที่ 3 และ 4 ของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสงขลา เพื่อสร้างเสริมคุณภาพ พฤติกรรมสุขภาพของประชาชนและเสริมสร้างความเข้มแข็งการมีส่วนร่วมของภาคเครือข่าย เป็นการสร้างสระแสสังคม ให้ตระหนักเห็นความสำคัญของการเลือกซื้อเลือกอาหารบริโภค ที่ถูกต้อง ตลอดจนการจำหน่ายอาหาร การปรุงประกอบอาหารและ ทั้งใน โรงครัว แผงลอยและครัวเรือน ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีกิจกรรมรณรงค์ ให้ความรู้ แก่ผู้ประกอบการร้านค้า แผงลอย กลุ่มแม่บ้านประจำครัวเรือน นักเรียนกลุ่ม อย.น้อยในโรงเรียนและประชาชนทั่วไป ผ่านสื่อทุกรูปแบบ โดยเน้นในพื้นที่ เช่น โรงเรียน วัด แผงลอยอาหาร และครัวเรือนตลอดจนโรงครัวโรงเรียนในวัดและโครงครัวชั่วคราวในหมู่บ้านเมื่อมีงานต่างๆ ได้แก่ งานศพ งานมงคลสมรส งานอุปสมบทเพื่อให้กลุ่มเป้าหมายที่เกี่ยวข้องกับอาหารทุกพื้นที่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมปฏิบัติตนอย่างถูกต้องต่อไป ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลพรวนจึงได้จัดทำโครงการ สร้างกระแสสังคม“ คนพรวนกินอาหารสะอาด ปลอดภัย” อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา ปี 2560 ขึ้น เพื่อให้การดำเนินงานอาหารปลอดภัยสำเร็จ ลุล่วงตามวัตถุประสงค์ต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้ผู้ประกอบการด้านอาหารแผงลอย ในตำบลท่าหิน (หมู่ที่ 7- 9) มีความรู้ในการดำเนินงานอาหารสะอาดปลอดภัยตระหนัก เห็นความสำคัญและร่วมรับผิดชอบในการพัฒนาให้สถานที่ประกอบการอาหารผ่านเกณฑ์ชี้วัดและข้อกำหนดต่างๆ

 

2 2 .เพื่อให้ประชาชนในตำบลท่าหิน (หมู่ที่7-9) มีความรู้อาหารปลอดภัย ตระหนัก และเห็นความสำคัญในการเลือกซื้อ ปรุงประกอบและบริโภคอาหารที่สะอาด ปลอดภัย

 

3 3. เพื่อให้การดำเนินงานอาหารปลอดภัย ของตำบลท่าหิน (หมู่ที่7- 9)บรรลุเป้าหมายตามเกณฑ์ชี้วัดอย่างต่อเนื่อง

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

กลวิธีดำเนินงาน ระยะเตรียมการ 1จัดทำโครงการ 2ประชุมชี้แจงอาสาสมัครสาธารณสุขหมู่ที่7-9 เพื่อวางแผนการดำเนินงาน 3. จัดเตรียมสิ่งสนับสนุนในการดำเนินงานโครงการ 3.1วัสดุ อุปกรณ์ เอกสาร การประชุม/อบรม/จัดกิจกรรมรณรงค์ 3.2กำหนดการประชุม/หลักสูตรการอบรม 3.3งบประมาณวัสดุ อุปกรณ์ เอกสารความรู้วิชาการ ดำเนินงานโรงเรียนอาหารปลอดภัย อย.ในโรงเรียน และการพัฒนาแผงลอยอาหารตัวอย่าง
3.4 อาหารและเครื่องดื่มสำหรับการประชุม 3.5งบประมาณการอบรม สนับสนุนการดำเนินงานในพื้นที ระยะปฏิบัติการ 1. ประชุมอสม.
1.1กำหนดแผนการประชุม 1.2ลงทะเบียนการประชุม/แจกเอกสาร 1.3กำหนดวาระการประชุมดังนี้ 2ตรวจ ติดตาม ดูแลด้านสุขาภิบาลอาหาร/อาหารปลอดภัยแก่ผู้ประกอบการร้านค้าแผงลอยขายอาหาร กลุ่มผลิตภัณฑ์อาหารพื้นฐาน ผู้ดูแลตลาด แผงลอยขาย อาหารสด ผู้จำหน่ายอาหารในโรงเรียน
2.1ตรวจตามข้อกำหนดสุขาภิบาลอาหารของกรมอนามัย ให้คำแนะนำ 2.2ตรวจสารปนเปื้อน 2.3ตรวจ SI – 2
2.4นัด ตรวจ ติดตามครั้งต่อไป
3. อบรมสุขาภิบาลอาหาร/อาหารปลอดภัย แม่บ้านประจำครัวเรือน อบต.อสม.ผู้นำกลุ่มผู้ประกอบอาหาร 3.1 ลงทะเบียนการอบรม/แจกเอกสาร 3.2เนื้อหาการอบรม ประกอบด้วย นโยบายการดำเนินงาน อาหารปลอดภัยปี 2560 วัตถุประสงค์การอบรม สุขาภิบาลอาหารในครัวเรือนการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์อาหาร 4 อบรมสุขาภิบาลอาหาร/อาหารปลอดภัย ผู้ปรุงประกอบอาหารในงานต่างๆของหมู่บ้าน/ชุมชน 4.1 ลงทะเบียนการอบรม/แจกเอกสาร 4.2 เนื้อหาการอบรม ประกอบด้วย นโยบายการดำเนินงาน อาหารปลอดภัยปี 2560 วัตถุประสงค์การอบรม สุขาภิบาลอาหารและการปรุงประกอบอาหารในงานต่างๆ การเลือกซื้อผลิตภัณฑ์อาหาร 5จัดทำแผ่นไวนิลประชาสัมพันธ์/เอกสารแผ่นพับ 6 ให้สุขศึกษาประชาสัมพันธ์ทุกรูปแบบ - ให้สุขศึกษารายบุคคล รายกลุ่ม เอกสาร โป๊สเตอร์ แผ่นพับ -หอกระจายข่าว เสียงตามสาย
ระยะประเมินผล - ติดตามนิเทศการดำเนินงานของ -ประเมินผลจากการดำเนินงานและรายงานประจำเดือนของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลพรวน
- สรุปผลการดำเนินงานโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้ประกอบการด้านอาหารสถานประกอบการด้านอาหารผ่านเกณฑ์มาตรฐานอย่างต่อเนื่อง
    1. ประชาชนเกิดความตระหนัก และเห็นความสำคัญในการปรุงประกอบอาหาร เลือกซื้อ และบริโภคอาหารที่สะอาดและปลอดภัย จนเป็นพฤติกรรมสุขภาพที่ดีอย่างยั่งยืน 3.ประชาชนมีสุขภาพดีขึ้นโรคที่เกิดจากองค์ประกอบด้านการผลิตอาหารและบริโภคอาหารเป็นปัจจัยหลักลดลง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 25 ก.ค. 2560 21:30 น.