กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการคัดกรองความดันเบาหวานและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมคนพรวน
รหัสโครงการ 60- L5240-1-05
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.พรวน
วันที่อนุมัติ 1 มิถุนายน 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ -
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 23,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางวันวิสาข์ เทพเดชา
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลท่าหิน อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.395,100.419place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ภาวะความดันโลหิตสูง และเบาหวานเป็นโรคเรื้อรังพบได้บ่อยและก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ตามมา เช่นโรคหัวใจและหลอดเลือดส่งผลกระทบต่อร่างกายและจิตใจตลอดจนครอบครัวสังคมและเศรษฐกิจ จากกระแสการเปลี่ยนแปลงทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อมส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตและสุขภาพ ทั้งทางตรงและทางอ้อม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการมีพฤติกรรมที่ไม่ถูกต้อง เช่นการบริโภค การออกกำลังกาย ความเครียดการดื่มสุรา สูบบุหรี่ซึ่งเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ได้แก่โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด เป็นต้น จังหวัดสงขลาพบว่ามีจำนวนผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในปี 2557 เท่ากับ 45,669 และผู้ป่วยโรคเบาหวาน ในปี 2558 เท่ากับ 50,443 ราย เพิ่มขึ้น 4,764 รายจำนวนผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง เท่ากับ 110,517 รายและในปี 2558 เท่ากับ 119,813 ราย เพิ่มขึ้น 9,296 ราย และจากการเฝ้าระวังพฤติกรรมสุขภาพ 3 อ. ด้านอาหาร ออกกำลังกาย อารมณ์ ในกลุ่มเสี่ยง พบว่ามีพฤติกรรมการบริโภคที่ไม่ถูกต้องค่อนข้างสูงในเรื่องการรับประทานผักไม่หลากหลายชนิดใน 1 วันการออกกำลังกายที่ไม่เหมาะสมกับเพศ วัย และอายุ ตลอดจนความเครียดที่สะสม จากการใช้ชีวิตประจำวันมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ซึ่งล้วนแต่ทำให้เกิดปัญหาต่อสุขภาพโดยรวม จากข้อมูลของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลพรวนปี 2558 พบว่าผู้ป่วยเบาหวาน 80 ราย ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง 152 รายในปี2559กลุ่มประชากรเป้าหมายจำนวน860ราย ได้รับการตรวจคัดกรองความดันโลหิตสูง และตรวจคัดกรองเบาหวานโดยวาจา จำนวน860 ราย พบกลุ่มเสี่ยงจำนวน50 รายในปี 2559ผู้ป่วยเป็นโรคเบาหวานและรับยาจำนวน 80รายและผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและรับยาจำนวน 158ราย ซึ่งอยู่ในอัตราป่วยค่อนข้างสูง ขึ้นเรื่อยๆ เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลพรวน ร่วมกับอสม.แกนนำชุมชนได้จัดตั้งคลินิกDPACซึ่งมีผู้เข้ารับบริการโดยสมัครใจจำนวน 45 ราย ทำให้เป็นศูนย์กลางในการรวมกลุ่มของผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงกลุ่มปกติที่สนใจในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ดีและการดำเนินงานเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อน ต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อคัดกรองกลุ่มเสี่ยงที่มีอายุตั้งแต่ 35ปีขึ้นไป อย่างน้อยปีล่ะ1ครั้งต่อคน และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพกลุ่มเป้าหมายที่เสี่ยงต่อโรคกลุ่ม Metabolic เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดสมอง และโรคอ้วนลงพุง

 

2 2. เพื่อลดอัตราการป่วยในกลุ่มโรคความดัน/เบาหวาน โรคหลอดเลือดสมองและโรคอ้วนลงพุง

 

3 3. เพื่อลดภาวะแทรกซ้อนในกลุ่มป่วยโรคความดัน/เบาหวาน โรคหลอดเลือดสมองและโรคอ้วน

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. ประชุมชี้แจงปัญหาสาธารณสุขปัจจุบันให้ จนท. รพ.สต.และอสม.รับทราบร่วมกันค้นหาปัญหา2.หาแนวทางและจัดหางบประมาณในการแก้ไขปัญหา 3.จัดทำโครงการเพื่อเสนอพิจารณาเห็นชอบอนุมัติ4.ดำเนินการตามโครงการ5.ติดตามประเมินโครงการ 6.สรุปผลการปฏิบัติงาน

กิจกรรม/กลวิธี
1. ประชุมเตรียมความพร้อมของคณะทำงานพร้อมหาแนวทางในการจัดตั้งคลินิก DPAC 2.ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนรับทราบโครงการ เพื่อมารับบริการ ตามวันเวลาที่กำหนด 3.จัดทำทะเบียนกลุ่มผู้มารับบริการ
4. ซักประวัติ วัดความดันโลหิต / วัดรอบเอว / ประเมินดัชนีมวลกาย (BMI) 5.ดำเนินการตรวจคัดกรองเบาหวานด้วยแบบคัดกรอง 8 ข้อ และเจาะเลือดปลายนิ้วมือ
6.ส่งต่อผู้ที่ตรวจพบว่าเป็นโรคเบาหวานรับการตรวจซ้ำและรักษาโดยแพทย์ที่โรงพยาบาลสทิงพระ 7. จัดการให้ความรู้ 3 อ 2 ส /เยี่ยมบ้านกลุ่มเสี่ยงเพื่อให้เห็นวิถีชีวิตรายบุคคลตามเป้าหมาย 8. จัดจำแนกผู้รับบริการตามแนวทางปิงปอง 7 สีซึ่งได้กลุ่มเป้าหมายอย่างชัดเจน 9. ติดตามผลการรักษาของผู้ป่วยและติดตามการดูแลรักษาผู้ป่วย/กลุ่มเสี่ยงที่บ้าน 10 .สรุปผลการดำเนินงาน/ ประเมินผลเป็นระยะและต่อเนื่อง

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไป หมู่ที่ 7,8,9 ตำบลท่าหิน ได้รับการคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงไม่น้อยกว่า ร้อยละ 95 และได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไม่น้อยกว่า ร้อยละ 50
  2. กลุ่มเสี่ยงป่วยเป็นโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงไม่เกินร้อยละ 5
  3. กลุ่มป่วยไม่มีภาวะแทรกซ้อนร้อยละ 5
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 25 ก.ค. 2560 21:34 น.