กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการควบคุมโรคไข้เลือดออกปี 2560 พื้นที่พรวน
รหัสโครงการ 60- L5240-1-06
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลพรวน
วันที่อนุมัติ 1 มิถุนายน 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2559 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 15,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางวันวิสาข์ เทพเดชา
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลท่าหิน อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.395,100.419place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 1692 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออกเป็นปัญหาสำคัญของประเทศไทยในแต่ละปีมีผู้ป่วยและเสียชีวิตด้วยโรคไข้เลือดออก จำนวนมากทำให้มีการสูญเสียงบประมาณที่ใช้ในการรักษาอย่างมากมายจากรายงานทางระบาดวิทยาตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2558 – 1 มกราคม 2559 มีผู้ป่วยรวมทั้งสิ้น 10,147 ราย อัตราป่วย15.97 ต่อประชากรแสนคน (พบผู้ป่วย 16 คน ในประชากรหนึ่งแสนคน จำนวนนี้เสียชีวิต 9 ราย อัตราป่วยตายร้อยละ 0.09จังหวัดสงขลา ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2556 – 8 พฤศจิกายน 2557 พบผู้ป่วยจำนวน 1,700 ราย เสียชีวิต 3 รายพบในเพศชายมากกว่าเพศหญิง จากข้อมูลการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลพรวนตั้งแต่ เดือนมกราคม พ.ศ.2555 ถึง เดือนตุลาคม พ.ศ. 2559 พบผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก ในหมู่ที่ 7-9 ตำบลท่าหิน จำนวน 1 ราย ซึ่งไม่เกินเกณฑ์มาตรฐานตัวชี้วัด (อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก < 79 ต่อแสนประชากรอัตราตาย < 0.15ต่อแสนประชากร)แต่อย่างไรก็ตามจากสถานการณ์ในภาพรวม คาดว่าโอกาสเสี่ยงจะเกิดโรคมีสูง เนื่องจากมีการระบาดของ โรคเกิดในพื้นที่ใกล้เคียงค่อนข้างสูงมากเนื่องจากโรคไข้เลือดมียุงลายเป็นพาหะนำโรค เมื่อมีผู้ป่วยเกิดขึ้น จะมีการแพร่ระบาดอย่างรวดเร็วถ้าหากไม่มีการควบคุม ป้องกันหรือทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุง ประกอบกับสภาพปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม ปัญหาของพื้นที่เอื้อต่อการเพาะพันธ์ยุงลาย ทำให้มีโอกาสเกิดไข้เลือดออกได้ และการรณรงค์ป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกให้ได้ผลสำเร็จนั้น ยังต้องอาศัยความร่วมมือกันอย่างจริงจัง จากทุกๆฝ่ายไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานของรัฐองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ผู้นำชุมชน และประชาชนทั่วไป จากหลักการและเหตุผลดังกล่าวโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลพรวน จึงจัดทำโครงการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก ประจำปี2560ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้ประชาชนและชุมชนมีส่วนร่วมในการกำจัดยุงลายอย่างต่อเนื่อง

 

2 2.เพื่อให้จำนวนผู้ป่วยและอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในพื้นที่รับผิดชอบลดลงเมื่อเทียบกับค่าMEDIAN ย้อนหลัง 5 ปี

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

ขั้นเตรียมการ 1.จัดเวทีประชาคมสุขภาพเพื่อชี้แจงสภาพปัญหา ร่วมแสดงความคิด เพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหา 2.จัดทำโครงการ เพื่อขออนุมัติ 3.จัดซื้อ วัสดุอุปกรณ์เพื่อใช้ในการป้องกัน รณรงค์ และควบคุมโรค เมื่อมีการระบาด 4.การประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อต่างๆ 5.ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ขั้นดำเนินการ 1.ประชุมชี้แจง/ให้ความรู้เกี่ยวกับโรคไข้เลือดออก/แนวทางการดำเนินโครงการ แก่ผู้นำชุมชน อสม.และคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลท่าหิน 2.จัดกิจกรรมรณรงค์ปรับปรุงสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมในชุมชน ,โรงเรียน,วัดเพื่อกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายควบคุมการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก ปีละ 2 ครั้ง (เดือน ต.ค,พ.ค.) 3.ให้ความรู้ในรูปแบบต่างๆ เช่น แผ่นไวนิล การจัดนิทรรศการให้ความรู้และแจกเอกสารแผ่นพับ 4.สำรวจลูกน้ำยุงลาย พร้อมกำจัดลูกน้ำยุงลายโดยวิธีทางกายภาพ และวิธีทางเคมีโดยเครือข่ายอสม.และประชาชน ในโรงเรียนวัดโพธิ์กลาง วัดโพธิ์กลาง และในหมู่บ้านหมู่ที่ 7-9 ทุก 3 เดือน (เดือนพ.ย.,ก.พ.,พ.ค,ส.ค.) 5.ทีมควบคุมโรคระดับตำบลกำจัดยุงตัวเต็มวัยในพื้นที่ที่เกิดโรคโดยการพ่นเคมีพร้อมสำรวจค่าดัชนีลูกน้ำกำจัดลูกน้ำยุงลายและแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย 6.เฝ้าระวังการเกิดโรคในพื้นที่พร้อมวิเคราะห์สถานการณ์โรคไข้เลือดออกและแจ้งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบ โดยการใช้ระบบการสื่อสาร และแจ้งในวันประชุมประจำเดือน ขั้นประเมินผล 1.ติดตามผลการดำเนินงานควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกระดับหมู่บ้าน/ตำบล 2.รายงานกิจกรรมการดำเนินงานในช่วงรณรงค์ประจำทุกเดือน 3.สรุป /รายงานสถานการณ์การเกิดโรคไข้เลือดออก 4.สรุปค่าใช้จ่ายเงินในการดำเนินงานโครงการไข้เลือดออก 5.สรุปและประเมินผลภาพรวมของโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ประชาชนในเขตพื้นที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลพรวน สามารถสร้างหมู่บ้านปลอดลูกน้ำยุงลาย โดยการสนับสนุนจากทุกภาคส่วน ทั้งทางด้านเทคนิคและวิชาการ อันเป็นกระบวนการแก้ไขปัญหาโรคในท้องถิ่นโดยกลวิธีทางด้านสาธารณสุขมูลฐาน โดยชุมชนมีส่วนร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมแก้ไขปัญหาในพื้นที่ 2.สามารถลดอัตราป่วย อัตราตายด้วยโรคไข้เลือดออกในพื้นที่เขตรับผิดชอบ จนเป็นพื้นที่ปลอดไข้เลือดออกได้อย่างต่อเนื่อง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 25 ก.ค. 2560 21:48 น.