กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการสร้างกระแสสังคม"ผู้ดูแลเด็กเล็กรุ่นใหม่ ใส่ใจความสะอาดของอาหารป้องกันโรคอุจจาระร่วงในเด็ก 0-5 ปี ตำบลท่าหิน"
รหัสโครงการ 60- L5240-1-04
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.ท่าหิน
วันที่อนุมัติ 1 มิถุนายน 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มิถุนายน 2560 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 5,180.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางจารุพรรณ โปชู
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลท่าหิน อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.395,100.419place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคอุจจาระร่วงเป็นปัญหาสำคัญของประเทศไทย มีการแพร่ระบาดอย่างมากไปทั่วทุกหมู่บ้านในแต่ละปีมีผู้ป่วยด้วยโรคอุจาระร่วงเฉียบพลันจำนวนมาก ทำให้มีการสูญเสียงบประมาณที่ใช้ในการรักษาอย่างมากมายทั้ง ๆ ที่โรคนี้สามารถป้องกันและควบคุมได้ไม่ยากนัก การป้องกันเบื้องต้นคือ การปรับปรุงและพัฒนาสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเกิดโรคการปรับพฤติกรรมการบริโภคที่ถูกสุขลักษณะ และยังมีปัจจัยอีกหลายอย่าง ที่เป็นต้นเหตุของการเกิดโรคเช่น การรับประทานอาหาร อาหาร น้ำที่ ปนเปื้อน โรค สารเคมีดังนั้นการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมป้องกันโรคอุจจาระร่วง จึงต้องอาศัย ความรู้และเจตคติ ที่ดี ในการปฏิบัติตนในการป้องกันโรคที่ถูกต้องจนเป็นสุขนิสัยล้างมือทุกครั้งก่อนรับประทานอาหาร และหลังการใช้ส้วม ถ่ายอุจจาระในส้วม รับประทานอาหารปรุงสุกใหม่ล้างผักสะอาดก่อนรับประทานอาหาร ฯซึ่ง อาหารและน้ำ เป็นปัจจัย สาเหตุ ที่สำคัญ และอาหารจะสะอาดหรือไม่ ขึ้นอยู่กับ วัตถุดิบที่นำมาปรุงงประกอบ ไม่สด สะอาด มีเชื้อโรคและสารเคมีปนเปื้อนสถานที่ปรุงประกอบอาหาร เช่นร้านอาหาร แผงลอยตลาด แผงขายอาหารสด ร้านขายของชำ โรงครัว ครัวเรือนตลอดจนผู้ปรุงประกอบอาหาร นอกจากนี้ก็ยังมีสิ่งแวดล้อมภายนอก เช่น แหล่งน้ำเสีย และแหล่งทิ้งขยะมูลฝอย เป็นต้นสิ่งเหล่านี้เป็นสาเหตุที่ทำให้อาหารไม่สะอาดซึ่งเป็นต้นเหตุของโรคอุจจาระร่วง จากรายงานทางระบาดวิทยา ของอำเภอสทิงพระ ปี พ.ศ.2557 พบว่ามีผู้ป่วยโรคอุจจาระร่วง 32 รายคิดเป็นอัตราป่วย 1230ต่อแสนประชากร, ปี พ.ศ. 2558 พบผู้ป่วย 38 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 1461.54ต่อแสนประชากรและจากรายงานโรค ของ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอสทิงพระ ตั้งแต่วันที่1 มกราคม 2559 ถึงวันที่30 พฤศจิกายน2559 พบ ผู้ป่วยโรคDiarrhoeaจำนวนทั้งสิ้น 19 รายคิดเป็นอัตราป่วย 730.76ต่อประชากรแสนคน โดยพบมากในกลุ่มอายุ0 - 4ปีมีผู้ป่วย5 รายอัตราป่วย192ต่อประชากรแสนคน ซึ่งสาเหตุเกิดจากพฤติกรรมการเลี้ยงดูและสุขาภิบาลอาหารในครัวเรือนที่ไม่ถูกต้อง การเลี้ยงดูและสุขาภิบาลอาหารในครัวเรือนที่ไม่ถูกต้องนั้นจะต้องให้พี่เลี้ยงเด็กมีความรู้เรื่องการควบคุมป้องกันโรค ปัจจัยสาเหตุการเกิดโรค เพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการปฏิบัติและปฏิบัติสุขนิสัยที่ถูกต้องจากเหตุผลดังกล่าวโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าหินจึงได้จัดทำ"ผู้ดูแลเด็กเล็กรุ่นใหม่ ใสใจความสะอาดของอาหาร ป้องกันโรคอุจจาระร่วงในเด็ก 0-5 ปี ตำบลท่าหินอำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา ปี 2560 ขึ้น เพื่อป้องกันการเกิดโรคแก่ประชากรในพื้นที่ ซึ่งจะส่งผลให้เกิดผู้ป่วยโรคอุจจาระร่วงลดลงไม่เกินเกณฑ์มาตรฐานในโอกาสต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้ผู้ดูแลเด็ก 0 - 5ปีในพื้นที่หมู่ที่ 1 - 6 ตำบลท่าหิน มีความรู้เรื่องโรคอุจจาระร่วงสุขาภิบาลอาหารและหลักการรักษาความสะอาดป้องกันสิ่งปนเปื้อนในอาหาร นม และภาชนะบรรจุ

1.ร้อยละ 80 ของผู้ดูแลเด็ก 0-5 ปี มีความรู้เรื่องโรคอุจจาระร่วง สุขาภิบาลอาหาร และหลักการรักษาความสะอาดป้องกันสิ่งปนเปื้อนในอาหาร นม และภาชนะบรรจุ

2 2.เพื่อให้ผู้ดูแลเด็ก 0 - 5ปีในพื้นที่หมู่ที่ 1 - 6 ตำบลท่าหิน สามารถจัดเตรียม/ทำอาหารได้ถูกหลักสุขาภิบาลอาหารฯ

1.ผู้ดูแลเด็กปฏิบัตตนได้ถูกต้องในการเตรียมอาหาร ตามหลักสุขาภิบาลอาหารและป้องกันโรคอุจจาระร่วง ร้อยละ 90

3 3.เพื่อลดอัตตราป่วยด้วยโรคอุจจาระร่วงในกลุ่มเด็ก 0-4 ปี เทียบกับค่าMEDAIN 5 ปีย้อนหลัง

1.โรคอุจจาระร่วงในกลุ่มเด็ก 0-5 ปี ลดลงร้อยละ 20 เมื่อเทียบกับค่าmedain 5 ปีย้อนหลัง

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

ขั้นเตรียมการ 1.จัดทำโครงการเสนอพิจารณาอนุมัติ 2.เชิญกลุ่มเป้าหมายและเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุมวางแผนการดำเนินโครงการ 3.จัดทำแผนการดำเนินงานโครงการ(แผนปฏิบัติงานแนบท้าย) 4.เตรียมการสนับสนุนการดำเนินงานโครงการในพื้นที่ 4..วัสดุ อุปกรณ์ เอกสารและเนื้อหาวิชาการ การประชุม อบรม 4.2.อาหารและเครื่องดื่มสำหรับการประชุม อบรมฯ 4.3.สนับสนุน งบประมาณและวัสดุ อุปกรณ์ การดำเนินกิจกรรมตามโครงการ

ขั้นดำเนินการ 1.สำรวจพฤติกรรมพี่เลี้ยงเด็ก 0 – 5 ปี หมู่ที่ 1 – 6 ตำบลท่าหิน
2.อบรมพี่เลี้ยงเด็กที่มีพฤติกรรมการเลี้ยงดูเด็กไม่ถูกต้อง(จากแบบสำรวจพฤติกรรมพี่เลี้ยงเด็กข้อ 1.) 3.ติดตามเยี่ยมบ้าน เรื่องการสุขาภิบาลอาหารในครัวเรือนและการพฤติกรรมการประกอบอาหารของพี่เลี้ยงเด็กที่ผ่านการอบรม 4.ให้ความรู้สุขาภิบาลอาหารในครัวเรือน ในชุมชน และในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก แก่แม่บ้าน ผู้ประกอบอาหารในหมู่บ้าน และศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
5.ติดตามดูแลการสุขาภิบาลอาหารในวัด/มัสยิด ในโรงเรียน
6.ให้ความรู้ผ่านสื่อทุกรูปแบบ เอกสาร แผ่นพับ ไวนิลประชาสัมพันธ์ หอกระจายข่าว
7.เฝ้าระวัง ควบคุมโรค และป้องโรคอุจจาระร่วงในหมู่บ้าน ชุมชน 8.ให้ความรู้แก่ประชาชนทั่วไป เรื่องโรคอุจจาระร่วงการอนามัยส่วนบุคคล การสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมในบ้านและบริเวณบ้าน วัด/มัสยิดศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ฯ
9.รณรงค์การจัดสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมในบ้านและบริเวณบ้าน วัด/มัสยิดศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
ในหมู่บ้านและชุมชน


ขั้นประเมินผล 1ประเมินความรู้โดยการใช้แบบทดสอบความรู้เรื่องสุขาภิบาลอาหาร ก่อนและหลังอบรม 2ติดตามเยี่ยมบ้านพี่เลี้ยงเด็กเพื่อสำรวจการจัดสุขาภิบาลอาหารในครัวเรือนและพฤติกรรมการเตรียมอาหารและนมของพี่เลี้ยงเด็ก
3สรุปค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานตามโครงการ
4สรุปและประเมินผลภาพรวมของโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ประชาชนหมู่ที่ 1 – 6 ตำบลท่าหิน มีความรู้ ความเข้าใจ และตระหนัก เห็นความสำคัญให้ความร่วมมือ ในการป้องกันและควบคุมโรคอุจจาระร่วง อัตราป่วยด้วยโรคอุจจาระร่วงลดลงทุกปีอย่างต่อเนื่อง จนส่งผลให้อัตราป่วยด้วยโรคอุจจาระร่วงของประชาชนทุกกลุ่มอายุในเขตรับผิดชอบ < 1,000 ต่อแสนประชากรอัตราป่วยในกลุ่มเด็ก 0-5 ปี น้อยกว่า 6,000 ต่อแสนประชากรและไม่มีผู้ป่วยตายด้วยโรคอุจจาระร่วง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 25 ก.ค. 2560 21:50 น.