กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการการป้องกันเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี เสียชีวิตจากการจมน้ำ ปี 2564
รหัสโครงการ l3308-64-02-12
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ประธานชมรม อสม.รพ.สต.บ้านชะรัด
วันที่อนุมัติ 17 มีนาคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 17 มีนาคม 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 10,800.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายสมนึก ทองรอด
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลชะรัด อำเภอกงหรา จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.473,99.989place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 140 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากรายงานขององค์การอนามัยโลก พบว่าการจมน้ำในเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปีเป็นการเสียชีวิตอันดับที่ 3 ของโลก โดยมีจำนวนการเสียชีวิตปีละ 141,219 คน ประเทศไทย พบว่าเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี เสียชีวิตจากการจมน้ำสูงเป็นอันดับที่ 1 เฉลี่ย 1,015 คน(ปี พ.ศ.2550-2559) ปี พ.ศ.2559 มีเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี เสียชีวิตจากการจมน้ำ จำนวน 713 คน หรือ 6.2 ต่อประชากรแสนคน จากข้อมูลสถิติปี 2559ของจังหวัดพัทลุง มีเด็กเสียชีวิตจากการจมน้ำ จำนวน 7 ราย จากประชากรเด็กทั้งหมด 97,002 คน คิดเป็นอัตราตาย 8.2 ต่อประชากรเด็กแสนคน ปี จังหวัดพัทลุง ปี พ.ศ.2560 พบว่าเด็กอายุต่ำกว่า 15ปี เสียชีวิตจากการจมน้ำ จำนวน 2 คน หรือ 2.1 ต่อประชากรแสนคน ส่วนอำเภอกงหราพบเด็กอายุต่ำกว่า 15ปี เสียชีวิตจากการจมน้ำตั้งแต่ปี พ.ศ.2557-ปัจจุบันจำนวน 3 ราย ปี พ.ศ. 2555 ตำบลชะรัดพบเด็กอายุต่ำกว่า 15ปี เสียชีวิตจากการจมน้ำ จำนวน 1 ราย การจมน้ำเสียชีวิต เป็นสาเหตุที่สามารถป้องกันได้ในปีงบประมาณ 2563 ได้กำหนดเป้าหมายลดอัตราการเสียชีวิตจากการจมน้ำของเด็ก อายุต่ำกว่า 15 ปี ไม่เกิน 6.5 ต่อประชากรเด็กแสนคน
  ประกอบกับรัฐบาลมีข้อเสนอเชิงนโยบายที่สำคัญ 3 ประเด็น สำหรับการดำเนินงานป้องกันเด็กจมน้ำ 1.) ควรให้เด็กทุกคนที่มีอายุตั้งแต่ 5 ปี ขึ้นไป ได้เรียนหลักสูตรว่ายน้ำเพื่อเอาชีวิตรอด(ความรู้เรื่องความปลอดภัยทางน้ำการเอาชีวิตรอด และวิธีการช่วยเหลือ) เป็นหลักสูตรภาคบังคับสำหรับเด็ก 2.) ควรออกกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ สำหรับท้องถิ่นในการขุดแหล่งน้ำเพื่อใช้ประโยชน์ในพื้นที่ ต้องมีมาตรการในการป้องกันเพื่อไม่ให้แหล่งน้ำดังกล่าวกลายเป็นแหล่งน้ำสี่ยงของชุมชน เช่นเดียวกับแหล่งน้ำที่จัดให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยว (น้ำตก ทะเล อ่างเก็บน้ำ สวนน้ำ) และสระว่ายน้ำ จำเป็นต้องกำหนดให้มีมาตรการความปลอดภัย เช่น การมีเจ้าหน้าที่ (Lifeguard) ดูแล การมีกฎระเบียบให้ผู้มารับบริการทุกคนต้องสวมเสื้อชูชีพทุกครั้งที่เดินทางหรือทำกิจกรรมทางน้ำ การมีอุปกรณ์ช่วยคนตกน้ำติดตั้งไว้เป็นระยะและสามารถเข้าถึงได้ง่าย การมีป้าย/ธงแจ้งเตือน (ห้ามลงเล่นน้ำ น้ำลึก น้ำวน) ป้ายบอกระดับความลึกของน้ำ 3.) ควรให้ทุกหน่วยงานในพื้นที่มีการสร้างทีมเครือข่ายผู้ก่อการดี (Merit Maker) เพื่อดำเนินงานป้องกันการจมน้ำ อย่างน้อยตำบลละ 1 ทีม เพื่อให้เกิดการบูรณาการการดำเนินงานป้องกันการจมน้ำของหน่วยงานและภาคส่วนต่างๆ ครอบคลุมทุกมาตรการในระดับพื้นที่ และเน้นการใช้ทรัพยากรร่วมกัน
  ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านชะรัด ได้เล็งเห็นถึงปัญหานี้ จึงได้ทำโครงการการป้องกันเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี เสียชีวิตจากการจมน้ำ ขึ้น เพื่อลดอัตราการเสียชีวิตด้วยการจมน้ำ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 2.1เพื่อพัฒนาศักยภาพทีมผู้ก่อการดี (Merit Maker) ในระดับพื้นที่ 2.2.เพื่อส่งเสริมให้เด็ก6 – 14 ปี สามารถลอยตัว และช่วยเหลือคนจมน้ำได้ 2.3 เพื่อส่งเสริมให้มีการใช้คอกกั้นเด็กอายุต่ำกว่า0-2 ปี 2.4 เพื่อให้เด็ก 3-5 ปีรู้จักแหล่งน้ำเสี่ยง

-กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมกิจกรรมสามารถว่ายน้ำเพื่อเอาชีวิตรอดได้ร้อยละ 100 -ทีมผู้ก่อการดีผ่านเกณฑ์การรับรองระดับเงิน

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

วิธีดำเนินการ (ออกแบบให้ละเอียด) 1.ศึกษาข้อมูลสถานการณ์การเสียชีวิตจากการจมน้ำ
2.นำเสนอข้อมูลต่อผู้บริหารเพื่อขอสนับสนุนงบประมาณ 3.จัดประชุมทีมผู้ก่อการดีภาคีชะรัด จำนวน 1 รุ่น ระยะเวลา 1 วัน เพื่อสร้างวิทยากรครู ค ในชุมชน 4.สำรวจแหล่งน้ำเสี่ยง และจัดการสิ่งแวดล้อมบริเวณแหล่งน้ำเสี่ยงในพื้นที่ตำบลชะรัด 5.จัดอบรมสอนหลักสูตร“ว่ายน้ำเพื่อเอาชีวิตรอด”ในเด็กอายุ 6-14 ปีจำนวน 100 คนๆ ละ 1 วัน
6.สื่อสาร ประชาสัมพันธ์ ผ่านหอกระจายข่าว และจัดนิทรรศการรณรงค์ป้องกันเด็กจมน้ำในหมู่บ้าน/ ชุมชน สถานศึกษา  รพ.สต. เดือนละ 1 ครั้ง 7.ให้ความรู้แก่เด็ก 3-5 ปี เรื่องแหล่งน้ำเสี่ยงและการปรับปรุงแหล่งน้ำเสี่ยงใน ศพด.
8.ให้ความรู้ผู้ดูแลเด็ก อายุ 0-2 ปี ปี ในพื้นที่ชะรัด ในวันที่มีคลินิกเด็กดีที่ รพสต.บ้านชะรัด 9.จัดประชุมติดตามการดำเนินงานผู้ก่อการดีภาคีชะรัด จำนวน 1 ครั้ง 10.ประเมินผล/ สรุปผลดำเนินงาน/ รายงานผลโครงการฯ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.มีการบริหารจัดการให้มีการดำเนินงานการป้องกันเด็กจมน้ำอย่างมีประสิทธิภาพ มีการดำเนินงานตามมาตรการดำเนินงานการป้องกันเด็กเสียชีวิตจากการจมน้ำ ผ่านการรับรองตามมาตรฐาน จากสำนักงานควบคุมโรคไม่ติดต่อ 2. ตำบลชะรัดไม่มีเด็กอายุ ต่ำกว่า 15 ปี เสียชีวิตจากการจมน้ำ

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 16 มี.ค. 2564 16:00 น.