กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการสุขภาพจิตดี สุขภาพกายดีตาม สังคมมีความสุข

รายละเอียดโครงการ
รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ/กิจกรรม โครงการสุขภาพจิตดี สุขภาพกายดีตาม สังคมมีความสุข
รหัสโครงการ 64-l7255-02-04
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ สมาคมพุทธศาสตร์คลองแห
วันที่อนุมัติ 19 มีนาคม 2564
ปี 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2564 - 30 กันยายน 2564
งบประมาณ 60,085.00
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางพรทิพย์ พละสินธุ์ ประธานฯ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลคลองแห อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
ประเด็น
แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานผู้สูงอายุ , แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
สถานการณ์/หลักการและเหตุผล
  1. ร้อยละของผู้สูงอายุ ที่มีการบริโภคอาหาร ผัก ผลไม้ปลอดภัย เพื่อสุขภาพอย่างเพียงพอ ขนาด 45.22
  2. ร้อยละสมาชิกในสมาคมพุทธมีปัญหาโรคซึมเศร้า เครียด ขนาด 22.50
  3. จำนวนบุคคลในครอบครัวที่มีความรู้ความเข้าใจและสามารถปฏิบัติต่อผู้สูงอายุที่ต้องได้รับการดูแล (คน) ขนาด 35.42
  4. ร้อยละสมาชิกสมาคมพุทธมีีความรู้ในการแก้แก้ปัญหาและใช้ชีวิตในสังคมได้ ขนาด 38.56

นสถานการณ์ปัจจุบันภายใต้ยุคโควิด 2019 ที่เรากำลังเผชิญอยู่ ทำให้ประชาชนได้รับผลกระทบในการดำรงชีวิตมากมาย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเศรษฐกิจ ความเป็นอยู่ในครอบครัว สังคม ชุมชน ซึ่งเป็นปัญหาที่ส่งผลต่อสุขภาพจิตของประชาชน ก่อให้เกิดเป็นปัญหาโรคเครียด ซึมเศร้า ท้อแท้ การทำร้ายตัวเองและผู้อื่น ซึ่งหากไม่ได้รับการดูแลก็จะส่งผลกระทบเป็นวงกว้างจากครอบครัวสู่ชุมชนและสังคมต่อไป ด้วยเหตุนี้สมาคมพุทธศาสตร์คลองแห ได้เล็งเห็นถึงการป้องกัน สร้างสรรค์สังคมให้อยู่ได้กับสังคมที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน จึงได้จัดทำ “โครงการสุขภาพจิตดี สุขภาพกายดี ตามสังคมมีสุข”ขึ้น เพื่อให้ประชาชนได้ปรับตัวให้เข้ากับสภาวะที่เป็นอยู่ รู้เท่าทัน รู้วิธีแก้ปัญหา พร้อมที่จะตั้งรับกับปัญหา พร้อมที่จะปกป้องคนใกล้ตัวให้ผ่านพ้นวิกฤติแห่งความเครียดไปได้ โดยการนำหลักธรรมคำสอนของพระพุทธศาสนา มาใช้ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น อีกทั้งได้มีกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้การอยู่ร่วมกันในสังคมปัจจุบันให้มีความสุขต่อไปได้“อยู่กับโลกอย่างที่โลกเป็นให้มีความสุข ไม่อยู่อย่างกำหนดโลก”

วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
  1. เพื่อเพิ่มจำนวนบุคคลในครอบครัวที่มีความรู้ความเข้าใจและสามารถปฏิบัติต่อผู้สูงอายุที่ต้องได้รับการดูแล
  2. สมาชิกในสมาคมพุทธสามารถแก้ปัญหาปัญหาโรคซึมเศร้า เครียด ได้
  3. สมาชิกสมาคมพุทธมีีความรู้ในการแก้แก้ปัญหาและใช้ชีวิตในสังคมได้
  4. เพื่อเพิ่มจำนวนผู้สูงอายุ ที่มีการบริโภคอาหารปลอดภัยและเพียงพอ
การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. สำรวจและประเมินสุขภาพ
  2. ประชุมคณะทำงานเพื่อวางแผนในการดำเนินงานโครงการ
  3. อบรมเชิงปฏิบัติการ
  4. ถอดบทเรียนและแลกเปลี่ยนเรียนรู้
  5. ติดตามประเมินผลการดำเนินกิจกรรม
  6. สรุปผลการดำเนินกิจกรรมตามโครงการ
  7. ประชุมวางแผนทำงาน
  8. ประเมินและตรวจคัดกรองสุขภาพเบื้องต้นก่อนและหลังการดำเนินโครงการ
  9. สุขภาพจิตดี สุขภาพกายดี ไม่ลืม ไม่เศร้าครั้งที่ 1
  10. กิจกรรมสุขภาพจิตดี สุขภาพกายดี ลดการโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ครั้งที่ 2
  11. สุขภาพจิตดี สุขภาพกายดี ด้วยสมุนไพรไทย ครั้งที่ 3
  12. ถอดบทเรียนโครงการส่งเสริมการดูแลสุขภาพแบบพึ่งตนเองในผู้สูงอายุ
  13. ติดตามประเมินผลโครงการ
  14. สรุปโครงการฉบับสมบูรณ์ส่งกองทุนหลักประกันสุขภาพ
วิธีดำเนินการ
ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ผู้เข้าอบรมสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการดูแลสุขภาพตนเองและครอบครัว 2.ผู้สูงอายุสามารถพึ่งพาตนเองได้ 3 ผู้เข้ารับการอบรมมีความพร้อมในการเข้าสู่วัยผู้สูงอายุ