กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลเมืองคลองแห

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการสุขภาพจิตดี สุขภาพกายดีตาม สังคมมีความสุข

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลเมืองคลองแห

สมาคมพุทธศาสตร์คลองแห

1. นางพรทิพย์ พละสินธุ์ประธาน
2. นางศรชนกไชยมิตรรองประธาน
3. นางอัญชลี สังข์น้อย กรรมการ
4. นางอุดมรัตน์ หมุยจินดากรรมการ
5. นางพนัญญา สาวิชโก กรรมการ

เทศบาลเมืองคลองแห

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานผู้สูงอายุ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของผู้สูงอายุ ที่มีการบริโภคอาหาร ผัก ผลไม้ปลอดภัย เพื่อสุขภาพอย่างเพียงพอ

 

45.22
2 ร้อยละสมาชิกในสมาคมพุทธมีปัญหาโรคซึมเศร้า เครียด

 

22.50
3 จำนวนบุคคลในครอบครัวที่มีความรู้ความเข้าใจและสามารถปฏิบัติต่อผู้สูงอายุที่ต้องได้รับการดูแล (คน)

 

35.42
4 ร้อยละสมาชิกสมาคมพุทธมีีความรู้ในการแก้แก้ปัญหาและใช้ชีวิตในสังคมได้

 

38.56

นสถานการณ์ปัจจุบันภายใต้ยุคโควิด 2019 ที่เรากำลังเผชิญอยู่ ทำให้ประชาชนได้รับผลกระทบในการดำรงชีวิตมากมาย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเศรษฐกิจ ความเป็นอยู่ในครอบครัว สังคม ชุมชน ซึ่งเป็นปัญหาที่ส่งผลต่อสุขภาพจิตของประชาชน ก่อให้เกิดเป็นปัญหาโรคเครียด ซึมเศร้า ท้อแท้ การทำร้ายตัวเองและผู้อื่น ซึ่งหากไม่ได้รับการดูแลก็จะส่งผลกระทบเป็นวงกว้างจากครอบครัวสู่ชุมชนและสังคมต่อไป ด้วยเหตุนี้สมาคมพุทธศาสตร์คลองแห ได้เล็งเห็นถึงการป้องกัน สร้างสรรค์สังคมให้อยู่ได้กับสังคมที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน จึงได้จัดทำ “โครงการสุขภาพจิตดี สุขภาพกายดี ตามสังคมมีสุข”ขึ้น เพื่อให้ประชาชนได้ปรับตัวให้เข้ากับสภาวะที่เป็นอยู่ รู้เท่าทัน รู้วิธีแก้ปัญหา พร้อมที่จะตั้งรับกับปัญหา พร้อมที่จะปกป้องคนใกล้ตัวให้ผ่านพ้นวิกฤติแห่งความเครียดไปได้ โดยการนำหลักธรรมคำสอนของพระพุทธศาสนา มาใช้ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น อีกทั้งได้มีกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้การอยู่ร่วมกันในสังคมปัจจุบันให้มีความสุขต่อไปได้“อยู่กับโลกอย่างที่โลกเป็นให้มีความสุข ไม่อยู่อย่างกำหนดโลก”

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเพิ่มจำนวนบุคคลในครอบครัวที่มีความรู้ความเข้าใจและสามารถปฏิบัติต่อผู้สูงอายุที่ต้องได้รับการดูแล

จำนวนบุคคลในครอบครัวที่มีความรู้ความเข้าใจและสามารถปฏิบัติต่อผู้สูงอายุที่ต้องได้รับการดูแล เพิ่มขึ้น

35.42 70.00
2 สมาชิกในสมาคมพุทธสามารถแก้ปัญหาปัญหาโรคซึมเศร้า เครียด ได้

สมาชิกสมาคมพุทธมีปัญหาด้านโรคซึมเศร้า เครียด ลดลง

22.50 20.00
3 สมาชิกสมาคมพุทธมีีความรู้ในการแก้แก้ปัญหาและใช้ชีวิตในสังคมได้

ร้อยละสมาชิกสมาคมพุทธมีีความรู้ในการแก้แก้ปัญหาและใช้ชีวิตในสังคมได้เพิ่มขึ้น

38.56 65.00
4 เพื่อเพิ่มจำนวนผู้สูงอายุ ที่มีการบริโภคอาหารปลอดภัยและเพียงพอ

ร้อยละของผู้สูงอายุ ที่มีการบริโภคอาหาร ผัก ผลไม้ เพื่อสุขภาพอย่างเพียงพอ เพิ่มขึ้น

45.22 75.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 25
กลุ่มผู้สูงอายุ 10
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 10
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 5
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมวางแผนทำงาน

ชื่อกิจกรรม
ประชุมวางแผนทำงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมวางแผนทำงาน ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 25 คนๆละ 25 บาท รวมเป็นเงิน 625 บาท

ค่าวัสดุสำนักงาน ( สมุด ปากกา )   300 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
2 เมษายน 2564 ถึง 4 เมษายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

แผนการดำเนินงาน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
925.00

กิจกรรมที่ 2 ประเมินและตรวจคัดกรองสุขภาพเบื้องต้นก่อนและหลังการดำเนินโครงการ

ชื่อกิจกรรม
ประเมินและตรวจคัดกรองสุขภาพเบื้องต้นก่อนและหลังการดำเนินโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ทำแบบทดสอบความรู้สมาชิกผู้เข้ารับการอบรม พร้อมทั้งตรวจสุขภาพเบื้องต้น

งบประมาณ

ค่าถ่ายเอกสารแบบทดสอบ  และแบบคัดกรองสุขภาพเบื้องต้น  เป็นเงิน  500  บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
29 เมษายน 2564 ถึง 31 สิงหาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้เข้ารับการอบรมได้รับการคัดกรองสุขภาพ

สามารถทราบระดับความรู้ของผู้เข้าอบรม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
500.00

กิจกรรมที่ 3 สุขภาพจิตดี สุขภาพกายดี ไม่ลืม ไม่เศร้าครั้งที่ 1

ชื่อกิจกรรม
สุขภาพจิตดี สุขภาพกายดี ไม่ลืม ไม่เศร้าครั้งที่ 1
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อบรมความรู้และทักษะการให้คำปรึกษา ลดเครียดเพื่อให้มีทักษะการดูแลและช่วยเหลือตนเองและคนนครอบครัวที่มีภาวะแทรกซ้อนจากโรคเรื้อรังและภาวะซึมเศร้า ( 1 วัน)

รายละเอียดงบประมาณ

-ค่าอาอาหารกลางวันผู้อบรมและผู้ดำเนินงาน จำนวน 55 คนๆละ 60 บาท จำนวน 1 มื้อ รวมเป็นเงิน 3,300 บาท

-ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มผู้เข้าร่วมอบรมและผู้ดำเนินงาน จำนวน 55 คนๆละ 25 บาท จำนวน 2 มื้อ รวมเป็นเงิน 2,750 บาท

-ค่าเช่าเครื่องเสียง วันละ 1,000 บาท จำนวน 1 วัน รวมเป็นเงิน 1,000 บาท

-ค่าเช่าสถานที่ วันละ 500 บาท จำนวน 1 วัน รวมเป็นเงิน 500 บาท

-ค่าวิทยากร จำนวน 1 คน จำนวน 3 ชั่วโมงๆละ 600 บาทเป็นเงิน 1,800 บาท

-ค่าวิทยากรกลุ่ม จำนวน 2 คนๆละ 3 ชั่วโมงๆละ 600 บาท จำนวน 1 วัน เป็นเงิน 3,600 บาท

-ค่าไวนิล ขนาด 1.5x 4 เมตร เป็นเงิน 720 บาท

-ค่าจัดทำเอกสารการอบรม จำนวน 50 ชุด ราคาชุดละ 30 บาท เป็นเงิน 1,500 บาท

-กระเป๋าผ้าพร้อมสกรีน จำนวน 50 ใบ ราคาใบละ 100 บาท เป็นเงิน 5,000 บาท

-ค่าวัสดุอุปกรณ์ ( สมุด ปากกา )1,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
9 พฤษภาคม 2564 ถึง 9 พฤษภาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้เรื่องการดูแลและช่วยเหลือผู้สูงอายุที่มีภาวะแทรกซ้อนจากโรคเรื้อรังและภาวะซึมเศร้าละสามารถนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
21170.00

กิจกรรมที่ 4 กิจกรรมสุขภาพจิตดี สุขภาพกายดี ลดการโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ครั้งที่ 2

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมสุขภาพจิตดี สุขภาพกายดี ลดการโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ครั้งที่ 2
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.กิจกรรมเตรียมความพร้อมสู่วัยผู้สูงอายุ  รู้ทันวิวัฒนาการโลกยุคใหม่ ห่างไกลโรคเรื้อรัง

2 มีการสาธิตและแนะนำเมนูสุขภาพในผู้สูงอายุ

3 กิจกรรมทางกาย ฟื้นฟูกล้ามเนื้อมือ การทำดอกไม้จากใบเตยและริบบิ้น

รายละเอียดงบประมาณ

-ค่าอาอาหารกลางวัน จำนวน 55 คนๆละ 60 บาท จำนวน 1 มื้อ รวมเป็นเงิน 3,300 บาท

-ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 55 คนๆละ 25 บาท จำนวน 2 มื้อ รวมเป็นเงิน 2,750 บาท

-ค่าเช่าเครื่องเสียง วันละ 1,000 บาท จำนวน 1 วัน รวมเป็นเงิน 1,000 บาท

-ค่าเช่าสถานที่ วันละ 500 บาท จำนวน 1 วัน รวมเป็นเงิน 500 บาท

-ค่าวิทยากร จำนวน 1 คน จำนวน 3 ชั่วโมงๆละ 600 บาทเป็นเงิน 1,800 บาท

-ค่าวิทยากรกลุ่ม จำนวน 2 คนๆละ 3 ชั่วโมงๆละ 600 บาท จำนวน 1 วัน เป็นเงิน 3,600 บาท

-วัสดุ และอุปกรณ์สาธิเมนูการทำอาหารเพื่อสุขภาพ ( ผัก ผลไม้ เนื้อสัตว์ สมุนไพร เครื่องปรุงรส) จำนวนเงิน 2,000 บาท

-วัสดุอุปกรณ์ในการทำดอกไม้จากใบเตย ริบบิ้น ( ริบบิ้น  กรรไกร  ยางรัด )  จำนวนเงิน  2,000  บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
6 มิถุนายน 2564 ถึง 6 มิถุนายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.ผู้เข้าอบรมในพื้นที่ความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพและเตรียมความพร้อมเข้าสู่วัยผู้สูงอายุ

2.ผู้เข้าอบรมมีกิจกรรมทางกายเพิ่มขึ้น

3.ผู้เข้่อบรมมีตัวอย่างเมนูสุขภาพในการดูเลตนเอง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
14950.00

กิจกรรมที่ 5 สุขภาพจิตดี สุขภาพกายดี ด้วยสมุนไพรไทย ครั้งที่ 3

ชื่อกิจกรรม
สุขภาพจิตดี สุขภาพกายดี ด้วยสมุนไพรไทย ครั้งที่ 3
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.อบรมให้ความรู้ในดูแลสุขภาพด้วยสมุนไพรไทย

2 จัดทำแปลงสาธิตสมุนไพรป้องกันโรค ตามหลักภูมิปัญญาพื้นบ้าน

3.มีการสาธิตและแนะนำเมนูสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุและกลุ่มเสี่ยงโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง

งบประมาณ

-ค่าอาอาหารกลางวัน จำนวน 55 คนๆละ 60 บาท จำนวน 1 มื้อ รวมเป็นเงิน 3,300 บาท

-ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 55 คนๆละ 25 บาท จำนวน 2 มื้อ รวมเป็นเงิน 2,750 บาท

-ค่าเช่าเครื่องเสียง วันละ 1,000 บาท จำนวน 1 วัน รวมเป็นเงิน 1,000 บาท

-ค่าเช่าสถานที่ วันละ 500 บาท จำนวน 1 วัน รวมเป็นเงิน 500 บาท

-ค่าวิทยากร จำนวน 1 คน จำนวน 2 ชั่วโมงๆละ 600 บาทเป็นเงิน 1,200 บาท

-ค่าวิทยากรกลุ่ม จำนวน 2 คนๆละ 2ชั่วโมงๆละ 600 บาท จำนวน 1 วัน เป็นเงิน 2,400 บาท

จัดซื้อวัสดุอุปกรณ์สาธิตทำสวนสมุนไพร

กระถาง จำนวน 50 กระถาง กระถางละ 30 บาท รวมเป็นเงิน 1,500 บาท

ดินหมักอินทรีย์ จำนวน 50 ถุง ๆละ 25 บาท รวมเป็นเงิน 1,250 บาท

ค่าต้นสมุนไพร จำนวน 100 ต้นๆละ 10 บาท ใช้สาธิตและมอบให้ผู้เข้าร่วมโครงการนำไปปลูกในบริเวณบ้าน รวมเป็นเงิน 1,000 บาท

ปุ๋ยคอก จำนวน 30 กระสอบ กระสอบละ 20 บาท รวมเป็นเงิน 600 บาท

ถุงดำเพาะต้นไม้ จำนวน 2 กิโลกรัม กิโลกรัมละ 70 บาทรวมเป็นเงิน 140 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
4 กรกฎาคม 2564 ถึง 4 กรกฎาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.ผู้เข้าอบรมมีความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพในผู้สูงอายุ และสามารถใช้สมุนไพรไทย ในการป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง

2.มีศูนย์สาธิตเรื่องสมุนไพรไทยในการป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
15640.00

กิจกรรมที่ 6 ถอดบทเรียนโครงการส่งเสริมการดูแลสุขภาพแบบพึ่งตนเองในผู้สูงอายุ

ชื่อกิจกรรม
ถอดบทเรียนโครงการส่งเสริมการดูแลสุขภาพแบบพึ่งตนเองในผู้สูงอายุ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

เชิญผู้เข้าร่วมโครงการ คณะทำงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ถอดบทเรียนและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การดำเนินโครงการ 70 คน

กิจกรรม

มอบประกาศเกียรติคุณผู้สูงอายุต้นแบบใส่ใจสุขภาพ เสวนาผู้สูงอายุในยุค 2021 งบประมาณ

-ค่าประกาศนียบัตรพร้อมกรอบผู้สูงอายุต้นแบบจำนวน 5ชุด ๆละ 300 บาทเป็นเงิน 1500 บาท

-ค่าตอบแทนวิทยากร เข้าร่วมเสวนาจำนวน3 คน ๆละ 2 ชั่วโมงๆละ 600 บาท เป็นเงิน 3,600 บาท

-ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ผู้เข้าร่วมโครงการและคณะทำงาน รวม 60 คน 25 บาท รวมเป็นเงิน 1,500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
19 กันยายน 2564 ถึง 19 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เรียนรู้ปัญหาอุปสรรคในการเข้าร่วมกิจกรรมเพื่อถอดออกมาปรับใช้ในกิจกรรมครั้งต่อไปและเป็นการเผยแพร่ข้อมูลในประชาชนทั่วไปทราบการทำกิจกรรมในพื้นที่

มีบ้านต้นแบบในการใช้สมุนไพรไทยในการดูแลสุขภาพ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
6600.00

กิจกรรมที่ 7 ติดตามประเมินผลโครงการ

ชื่อกิจกรรม
ติดตามประเมินผลโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ติดตามประเมินผลโครงการจากการจัดกิจกรรมแต่ละครั้ง ก่อนและหลังเข้าร่วมกิจกรรม

คัดกรองสุขภาพผู้เข้าร่วมโครงการ  หลังทำโครงการ โดยการช่างน้ำหนักวัดความดันโลหิต วัดรอบเอว

ประเมินความรู้หลังอบรม

งบประมาณ

ค่าถ่ายเอกสาร   300  บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
22 กันยายน 2564 ถึง 25 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เกิดการติดตามประเมินผลโครงการ

ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ในแต่ละกิจกรรมและนำมาปรับใช้กับชีวิตประจำวันได้

ผู้เข้าร่วมโครงการมีสุขภาพที่ดีขึ้น

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
300.00

กิจกรรมที่ 8 สรุปโครงการฉบับสมบูรณ์ส่งกองทุนหลักประกันสุขภาพ

ชื่อกิจกรรม
สรุปโครงการฉบับสมบูรณ์ส่งกองทุนหลักประกันสุขภาพ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

สรุปเอกสารโครงการฉบับสมบูรณ์ส่งกองทุนหลักประกันสุขภาพ

ระยะเวลาดำเนินงาน
27 กันยายน 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เอกสารรูปเล่มสรุปผลการดำเนินโครงการ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 60,085.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ผู้เข้าอบรมสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการดูแลสุขภาพตนเองและครอบครัว
2.ผู้สูงอายุสามารถพึ่งพาตนเองได้
3 ผู้เข้ารับการอบรมมีความพร้อมในการเข้าสู่วัยผู้สูงอายุ


>