กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมโภชนาการสำหรับเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลประจัน
รหัสโครงการ 64-L3029-3-13
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 3 สนับสนุนการจัดกิจกรรมของ ศูนย์เด็กเล็ก/ผู้สูงอายุ/คนพิการ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ สำนักปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลประจัน ร่วมกับศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านประจันและบ้านบราโอ
วันที่อนุมัติ 1 มีนาคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2564 - 31 มีนาคม 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2564
งบประมาณ 20,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวนาปีซะห์ ลาเตะ ครู คศ.1
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลประจัน อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนเป็นเป้าหมายสำคัญของการพัฒนาประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดแนวทางการดำเนินงานเพื่อให้ประชาชนมีสุขภาวะ (Well-being) ทั้งมิติทางกาย ใจ สังคม และปัญญา (จิตวิญญาณ) และมิติของคน ครอบครัว และสังคมมากขึ้น โดยเริ่มจากวัยต้นของชีวิต คือ เด็กปฐมวัย ซึ่งเป็นวัยที่มีความสำคัญ เนื่องจากเป็นวัยที่มีการพัฒนาอย่างรวดเร็วทั้งทางด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ สังคม และเป็นวัยที่เริ่มต้นการรับรู้และรับรู้เพื่อเป็นพื้นฐานของช่วงวัยต่อไป ปัญหาในการดำเนินส่งเสริมสุขภาพเด็กปฐมวัย พบว่า เด็กยังประสบปัญหาภาวะทุพโภชนาการเป็นจำนวนมาก จำเป็นต้องมีการส่งเสริมและพัฒนาเด็กให้มีพัฒนาการที่สมวัยในทุกด้านของชีวิต การแก้ไขปัญหาโดยการมีมุมส่งเสริมโภชนากการและพัฒนาการเด็กในสถานพยาบาล และการดำเนินงานแก้ไขปัญหาและส่งเสริมพัฒนาการเด็กโดยเจ้าหน้าที่เพียงฝ่ายเดียวไม่สามารถแก้ปัญหาให้ลดน้อยหรือหมดไปได้ สิ่งสำคัญจะต้องมีการให้ความรู้แก่พ่อแม่ ผู้เลี้ยงดูเด็ก และส่งเสริมให้ครอบครัวและชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการส่งเสริมพัฒนาการของเด็ก จากสภาพปัญหาดังกล่าว ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านประจันและบ้านบราโอจึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมโภชนาการสำหรับเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลประจันขึ้น เพื่อสร้างความตระหนักให้ครอบครัวและชุมชนได้มีส่วนร่วมในการส่งเสริมโภชนาการสำหรับเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลประจันอย่างต่อเนื่อง จากการติดตามและเฝ้าระวังทางภาวะโภชนาการในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านประจัน จำนวน 83 คน และศูนย์พัฒนาเด็กบ้านบราโอ จำนวน 30 คน พบเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านประจัน จำนวน 10คน และศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านบราโอ จำนวน 3 คน เนื่องจากเป้าหมายส่วนใหญ่ยังบริโภคอาหารประเภทกรุบกรอบมากขึ้นรับประทานอาหารไม่ครบ 5 หมู่ ด้วยปัจจัยต่างๆ เช่น สังคม เศรษฐกิจ รวมไปถึงการขาดความรู้ความเข้าใจด้านโภชนาการ ขาดการใส่ใจดูแลเท่าที่ควรของพ่อแม่ผู้ปกครองที่ดูแลเด็ก เป็นผลให้เด็กมีน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ ซึ่งอาจส่งผลต่อภาวะโภชนาการและพัฒนาการในอนาคตต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
1 - 31 มี.ค. 64 โครงการส่งเสริมโภชนาการสำหรับเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลประจัน 0 20,000.00 -
รวม 0 20,000.00 0 0.00

3.1 จัดทำโครงการและเสนอโครงการ เพื่อขออนุมัติ 3.2 จัดประชุมคณะทำงานและผู้เกี่ยวข้อง เพื่อกำหนดแนวทางการทำงาน และประชาสัมพันธ์โครงการให้กลุ่มเป้าหมาย 3.3 แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานโครงการส่งเสริมโภชนาการสำหรับเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 3.4 จัดเตรียมเอกสาร วัสดุ ครุภัณฑ์ต่างๆในการจัดกิจกรรมให้พร้อมดำเนินงาน 3.5จัดกิจกรรมประชุมให้ความรู้เชิงปฏิบัติการ เรื่องเกี่ยวกับภาวะทุพโภชนาการในเด็กและหลักโภชนาการในกลุ่มเด็ก ให้ครูผู้ดูแลเด็ก ผู้เกี่ยวข้องและผู้ปกครอง 3.5 จัดการฝึกสาธิต ทักษะการปรุงอาหาร ให้กับผู้ปกครอง
3.6 สรุปผลการดำเนินงานตามแผนงานโครงการพร้อมแบบรายงาน ส่งให้กองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

7.๑ปัญหาภาวะทุพโภชนาการในเด็กศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านประจันลดลง 7.2เด็ก 2-5 ปี ได้รับการเฝ้าระวังและติดตามภาวะทุพโภชนาการอย่างครอบคลุม 7.3ครู ผู้ปกครองและแม่ครัวในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก มีความรู้ความเข้าใจถึงภาวะทางโภชนาการเด็ก 7.4เด็กมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหารได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมตามวัย 7.5 ทำให้ผู้ปกครองของเด็กตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาภาวะโภชนาการในเด็ก

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 17 มี.ค. 2564 00:00 น.