กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมอนามัยใส่ใจการบริโภคอาหารประชาชนตำบลทุ่งบุหลัง
รหัสโครงการ 64-L5292-1-2
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งบุหลัง
วันที่อนุมัติ 23 มีนาคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 7 เมษายน 2564 - 7 เมษายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 7 พฤษภาคม 2564
งบประมาณ 11,132.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายชัยยา ฤทธิ์เดช
พี่เลี้ยงโครงการ 1. นายสมบัติ สิทธิชัย 2. นางนูรียะฮ์ ไชยเทพ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลทุ่งบุหลัง อำเภอทุ่งหว้า จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 7 เม.ย. 2564 7 พ.ค. 2564 11,132.00
รวมงบประมาณ 11,132.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 60 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ตามแนวคิดหลักของการพัฒนาสุขภาพ ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้มุ่งเน้นการสร้างสุขภาพมากกว่าการซ่อมสุขภาพ ดังนั้นจึงมีการกำหนดยุทธศาสตร์ในการดำเนินงานอย่างเป็นระบบ โดยมุ่งเน้นปัจจัยพื้นฐาน 4 ประการได้แก่ ด้านสุขภาพจิต การออกกำลังกาย การอนามัยสิ่งแวดล้อม และอาหารสะอาดปลอดภัย ซึ่งจะนำไปสู่สุขภาวะที่ดีด้วย ปัจจัยพื้นฐานด้านอาหารนับว่าเป็นสิ่งที่ส่งผลต่อสุขภาพของประชาชนอย่างมาก การจัดการอาหารที่ดี นอกจากจะคำนึงถึงรสชาติแล้วยังต้องคำนึงถึงความปลอดภัยในอาหารเป็นสำคัญ ดังนั้นจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องคำนึงถึงรสชาติและความปลอดภัยในอาหารเป็นสำคัญ ในยุคสมัยที่คนเราเร่งรีบ รักความสะดวกสบาย หลายคนคงเคยชินกับการรับประทานอาหารกล่อง อาหารสำเร็จรูป เพราะสะดวก รวดเร็ว ประหยัด หาซื้อได้ง่าย โดยลืมคำนึงถึงสุขภาพ และด้วยสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบันที่สินค้าอุปโภคบริโภคมีราคาแพงขึ้น ทำให้พ่อค้าแม่ขายต้องปรับตัวหาวิถีทางที่จะลดต้นทุน เพื่อให้ได้กำไรที่มากขึ้น อีกทั้งคนส่วนใหญ่ เน้น “อิ่ม-ถูก-เร็ว” ส่งผลให้อาหารประเภทข้าวกล่องแกงถุง กลายเป็นตัวเลือกอันดับต้นๆที่ผู้คนให้ความสนใจในชีวิตประจำวัน โดยละเลยอันตรายต่อสุขภาพที่แฝงมากับอาหารและวัสดุที่ใช้บรรจุอาหาร ซึ่งอาจจะเกิดผลกระทบต่อสุขภาพขึ้นได้ เช่น โรคอาหารเป็นพิษ โรคอุจจาระร่วงอย่างรุนแรง เป็นต้น กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในเรื่องการใส่ใจในการบริโภคอาหาร จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมอนามัยใส่ใจการบริโภคอาหาร ขึ้นเพื่อให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมรับรู้ เข้าใจและตระหนักถึงความสำคัญในเรื่องโภชนาการอาหารปลอดภัยอย่างเหมาะสม

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการบริโภคอาหารที่ปลอดภัย

ประชาชน ร้อยละ ๘๐ มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการบริโภคอาหารที่ปลอดภัย

0.00
2 เพื่อส่งเสริมให้ความรู้ความเข้าใจในการเลือกซื้ออาหาร การทำความสะอาด การประกอบอาหารอย่างปลอดภัย ถูกวิธีและถูกสุขลักษณะ

ประชาชน ร้อยละ ๘๐ มีความรู้ความเข้าใจในการเลือกซื้ออาหาร การทำความสะอาด การประกอบอาหารอย่างปลอดภัย ถูกวิธีและถูกสุขลักษณะ

0.00
3 เพื่อส่งเสริมการดูแลสุขภาพและป้องกันการเจ็บป่วยจากการบริโภคอาหาร

ประชาชนร้อยละ ๘๐ มีการดูแลสุขภาพและป้องกันการเจ็บป่วยจากการบริโภคอาหาร

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 11,132.00 0 0.00
7 เม.ย. 64 1. กิจกรรมอบรมให้ความรู้ 0 11,132.00 -
  1. ขั้นตอนการวางแผน   - ร่วมกันประชุมวางแผน กำหนดเป้าหมาย จำนวนกลุ่มเป้าหมาย เนื้อหาและรูปแบบวิธีการดำเนิน โครงการ   - แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานตามแผนโครงการ   - ประสานดำเนินงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
  2. จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติต่อคณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบล  ทุ่งบุหลัง
  3. ขั้นตอนการดำเนินงาน   - ประชาสัมพันธ์โครงการ ให้กลุ่มเป้าหมายทราบแผนการดำเนินงาน   - จัดกิจกรรมอบรมส่งเสริมอนามัยใส่ใจการบริโภคอาหาร
  4. ประเมินผลการดำเนินงาน
  5. สรุปผลการดำเนินงานตามแผนโครงการส่งให้กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งบุหลัง
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการบริโภคอาหารที่ปลอดภัย
  2. ประชาชนได้เลือกซื้อสินค้าอุปโภคและบริโภคที่ถูกสุขลักษณะและปลอดภัย ทำให้สุขภาพร่างกายแข็งแรง ปลอดโรคภัยไข้เจ็บ
  3. เสริมสร้างความเข้มแข็งของผู้บริโภคในเรื่องสุขภาพในเรื่องอาหารการกินของประชาชน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 18 มี.ค. 2564 08:53 น.