กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเฝ้าระวังและป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในโรงเรียนเทศบาล 3 (บ้านนาตาล่วง)
รหัสโครงการ 2564-L6896-05-12
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 5 สนับสนุนกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงเรียนเทศบาล 3 (บ้านนาตาล่วง)
วันที่อนุมัติ 11 มีนาคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 15 มีนาคม 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2564
งบประมาณ 80,382.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางปัญจมน ชุมคช
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลทับเที่ยง อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.559,99.616place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ซึ่งมีการประกาศกระทรวงสาธารณสุขให้โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เป็นโรคโรคติดต่ออันตรายลำดับที่ 15 ตาม พรบ.โรคติดต่อ พ.ศ.2558และได้มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร ตั้งแต่วันที่ 26 มีนาคม2563 และได้ขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินคราวที่ 6 ออกไปจนถึงวันที่ 31 ตุลาคม2563 นั้น และจากข้อมูลสถิติสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 จากกรมควบคุมโรค ณ วันที่ 15 ธันวาคม 2563 พบว่าในประเทศไทยมีผู้ติดเชื้อสะสมจำนวน 4,261ราย โดยเป็นรายใหม่ จำนวน 9 ราย มีผู้เสียชีวิต จำนวน 60 ราย และรักษาหายแล้ว 3,977 ราย จักเห็นได้ว่าสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019(COVID-19) ยังคงมีความรุนแรง ทั้งยังปรากฏว่ามีการระบาดของโรคดังกล่าวอย่างรุนแรงจนควบคุมไม่ได้แล้วในหลายประเทศที่มีพรมแดนติดกับประเทศไทย ประกอบกับข้อมูลทางสาธารณสุขพบว่าเชื้อโรคได้กลายพันธุ์เป็นหลายสายพันธุ์ ในขณะที่การผลิตวัคซีนและยาเพื่อการป้องกันและรักษาโรคยังไม่ประสบผลสำเร็จ ซึ่งจากข้อมูลและสถานการณ์ที่เกิดขึ้นนั้นทำให้เกิดการตื่นตระหนกของประชาชนทั่วโลกและคนไทยจากสถานการณ์การระบาดกำลังแพร่กระจายยังไม่สามารถควบคุมได้
    ทั้งนี้กระทรวงสาธารณสุขและกระทรวงศึกษาธิการได้ออกมาตรการป้องกันโควิด-19 ในโรงเรียนและสถานศึกษา จำนวน 6 มาตรา ซึ่งประกอบด้วย1.มีมาตรการคัดกรองวัดไข้และอาการเสี่ยงก่อนเข้าสถานศึกษา2.สวมหน้ากากผ้าหรือหน้ากากอนามัยตลอดเวลา3.จัดจุดล้างมือหรือเจลแอลกอฮอล์อย่างเพียงพอ4.จัดระยะห่างระหว่างบุคคลอย่างน้อย 1-2 เมตร5.ทำความสะอาดห้องเรียน/พื้นผิวสัมผัสร่วม เปิดหน้าต่างประตู ระบายอากาศ 6.ไม่จัดกิจกรรมรวมกลุ่มคนจำนวนมาก เหลื่อมเวลา ลดเวลาทำกิจกรรม     โรงเรียนเทศบาล 3 (บ้านนาตาล่วง)  มีจำนวนนักเรียน 363 คน บุคลากร 28 คนมีการจัดการเรียนการสอนตั้งแต่เวลาเวลา 08.30 ถึง 16.30 น. ซึ่งจัดเป็นโรงเรียนขนาดกลางและค่อนข้างมีความแออัดของนักเรียนเมื่อทำกิจกรรมร่วมกันโรงเรียนจึงมีความจำเป็นจักต้องปฏิบัติตามมาตรการในการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในสถานศึกษา อย่างเคร่งครัด ทางโรงเรียนเทศบาล3 (บ้านนาตาล่วง) จึงได้จัดทำ “โครงการเฝ้าระวังและป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)ในโรงเรียนเทศบาล 3 (บ้านนาตาล่วง)” ขึ้นมาเพื่อเป็นการร่วมกันเฝ้าระวังและป้องกันโรคที่จะเกิดขึ้นภายในสถานศึกษา อีกทั้งเพื่อคุ้มครองสุขภาพและความปลอดภัยของนักเรียนจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ความรู้ คำแนะนำ การดูแลเฝ้าระวังป้องกันตนเองเรื่องโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019(COVID-19)ให้แก่นักเรียน คณะครูและบุคลากรทางการศึกษา

นักเรียน บุคลากรทางการศึกษามีความรู้ในการป้องกันตนเองอย่างครอบคลุมป้องกันตนเองจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19)

0.00
2 เพื่อให้มีทรัพยากรเพียงพอต่อการสนับสนุนการดำเนินงานเฝ้าระวัง โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)ในช่วงมาตรการผ่อนปรนของรัฐ และช่วงเวลาที่เปิดเรียน

มีการจัดซื้ออุปกรณ์/เครื่องมือที่จำเป็นในการคัดกรอง เฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ภายในสถานศึกษา

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 80,382.00 3 78,582.00
18 มี.ค. 64 - 30 ก.ย. 64 กิจกรรมให้ความรู้เรื่อง คำแนะนำ การดูแลเฝ้าระวังป้องกันตนเองเรื่องโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ให้แก่นักเรียน ในชั้นเรียน 0 6,000.00 4,500.00
18 มี.ค. 64 - 30 ก.ย. 64 กิจกรรมการคัดกรองวัดไข้และอาการเสี่ยงก่อนเข้าสถานศึกษา 0 74,082.00 74,082.00
18 มี.ค. 64 - 30 ก.ย. 64 สรุปและประเมินผลโครงการ 0 300.00 0.00
  1. ขั้นตอนวางแผนงาน

- ร่วมกันประชุมวางแผนกำหนดเป้าหมาย วัตถุประสงค์จำนวนกลุ่มเป้าหมายเนื้อหาและรูปแบบวิธีการดำเนินงานโครงการ - แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานตามแผนงานโครงการ - ติดต่อประสานงานหน่วยงาน/ผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อร่วมกันดำเนินงาน 2.จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติต่อคณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลนครตรัง 3.ขั้นตอนการดำเนินกิจกรรมตามโครงการ 1. จัดอบรม ให้ความรู้กับนักเรียน บุคลากรทางการศึกษาในการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19)
2. สนับสนุนการดำเนินงานเฝ้าระวัง สอบสวนและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19) โดยจัดหาวัสดุ อุปกรณ์ป้องกันการติดเชื้อ ตามแนวทางการควบคุมโรคของกระทรวงสาธารณสุข 3. จัดหาวัสดุอุปกรณ์ในการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) ขณะเปิดเรียน 4. ติดตามสถานการณ์ เฝ้าระวังสาถานการณ์ เพื่อเตรียมความพร้อมในการป้องกันโรค
5. สรุปผลการดำเนินงาน และ รายงานให้คณะกรรมการกองทุนฯ ทราบเมื่อสิ้นสุดโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.มีจุดตรวจคัดกรองโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19) เพื่อเฝ้าระวังการควบคุมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) ภายในสถานศึกษา 2.ลดความตื่นตระหนกของผู้ปกครองและนักเรียน และสร้างความพร้อมในการเผชิญกับการแพร่ระบาดของโรค
3.นักเรียนคณะครูและบุคคลากรศึกษา ในโรงเรียนและผู้เกี่ยวข้องมีความรู้ ความเข้าใจ และสามารถปฏิบัติตามแนวทางการป้องกันควบคุมการระบาดได้อย่างถูกต้อง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 18 มี.ค. 2564 09:12 น.