โครงการชาวประกอบร่วมใจเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก ในเขตพื้นที่ตำบลประกอบ ประจำปี พ.ศ. 2564
ชื่อโครงการ | โครงการชาวประกอบร่วมใจเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก ในเขตพื้นที่ตำบลประกอบ ประจำปี พ.ศ. 2564 |
รหัสโครงการ | 64-L5202(2)-2 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | งานสาธารณสุข สำนักปลัด อบต.ประกอบ |
วันที่อนุมัติ | 11 มีนาคม 2564 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 18 มีนาคม 2564 - 30 กันยายน 2564 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 31 ธันวาคม 2564 |
งบประมาณ | 46,800.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | ว่าที่ ร.ต.หญิง ฐิติมา ศรีสุข |
พี่เลี้ยงโครงการ | นางสาวธนัชชา โชติพนัง |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลประกอบ อำเภอนาทวี จังหวัดสงขลา |
ละติจูด-ลองจิจูด | 6.483,100.643place |
งวด | วันที่งวดโครงการ | วันที่งวดรายงาน | งบประมาณ (บาท) | |||
---|---|---|---|---|---|---|
จากวันที่ | ถึงวันที่ | จากวันที่ | ถึงวันที่ | |||
1 | 11 พ.ค. 2564 | 30 ก.ย. 2564 | 46,800.00 | |||
รวมงบประมาณ | 46,800.00 |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง | 350 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง : |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
โรคไข้เลือดออกนับเป็นปัญหาสาธารณสุขไทยตลอดมา เพราะไข้เลือดอกเป็นโรคติดต่อที่สร้างความสูญเสียแก่ชีวิต และค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลและความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจของประเทศทั้งที่ทุกฝ่ายได้ช่วยกันรณรงค์ป้องกันและควบคุมมาโดยตลอด และได้รับความร่วมมอจากหน่วยงานต่างๆทั้งภาครัฐและภาคเอกชน พบว่าปัญหาโรคไข้เลือดออกไม่ได้ลดลงมากนัก ยังคงเป็นปัญหาสำคัญในระดับประเทศเรื่อยมา ตำบลประกอบ เป็นอีกหนึ่งพื้นที่ที่มีปัญหาการระบาดของโรคไข้เลือดออกมาอย่างต่อเนื่อง โดยมีอัตราป่วยต่อประชากรแสนคน ในปี 2560 เท่ากับ 231.94 (21 ราย) ปี 2561 เท่ากับ 55.22 (5 ราย) และปี 2562 เท่ากับ 187.76 (17 ราย) ต่อประชากรแสนคน สำหรับสถานการณ์โรคไข้เลือดออกปี 2563 (นับถึงวันที่ 22 ต.ค. 2563) จังหวัดสงขลาพบผู้ป่วยไข้เลือดออก 1,112 ราย (อัตราป่วย 78.93 ต่อประชากรแสนคน) มีผู้เสียชีวิต 1 ราย (อัตราตาย 0.09 ต่อประชากรแสน) กลุ่มอายุที่พบสูงสุดคือกลุ่มอายุ 10 - 14 ปี (อัตราป่วย 20.41 ต่อประชากรแสนคน) รองลงมาคือกลุ่มอายุ 5 - 9 ปี , 15 - 19 ปีตามลำดับ อำเภอที่มีอัตราป่วยต่อประชากรแสนคนสูงสุดคือ อำเภอสะบ้าย้อย รองลงมาคืออำเภอคลองหอยโข่ง , เทพา , นาทวี , สะเดา และนาหม่อมตามลำดับ ในส่วนของตำบลประกอบ ไม่มีผู้ป่วยตายด้วยไข้เลือดออกในพื้นที่ตำบลประกอบ (ที่มา : จากทะเบียนการสอบสวนโรคของ รพ.สต.ประกอบ) จะเห็นได้ว่าการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกในตำบลประกอบนั้นมีการระบาดเกิดขึ้นทุกปี ช่วงที่มีการระบาดส่วนใหญ่อยู่ในช่วงเดือน กรกฎาคม – ตุลาคม ของทุกปี ซึ่งตรงกับการเปิดภาคเรียนพอดี และชีวนิสัยของยุงชอบออกหากินตอนกลางวันจึงสันนิฐานได้ว่าการแพร่เชื้อและการกระจายโรคจะเกิดขึ้นได้ทั้งชุมชน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และโรงเรียน จึงควรมีการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคซึ่งจะต้องอาศัยความร่วมมือทั้งจากชุมชน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โรงเรียน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล องค์การบริหารส่วนตำบล และหน่วยงานอื่นๆที่เกี่ยวข้อง ปัญหาการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกที่มีมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนแนวคิดในการแก้ไขปัญหา จากการตั้งรับไปสู่นโยบายเชิงรุกโดยใช้ยุทธศาสตร์การมีส่วนร่วมของคนในชุมชนให้ได้ตระหนักถึงสภาพปัญหาของโรคไข้เลือดออก เกิดความรับผิดชอบต่อปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนของตนเอง พร้อมทั้งหาวิธีการแก้ไขปัญหาการระบาดของโรคไข้เลือดออกซึ่งเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อม ดังนั้น การดำเนินการ เฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคไข้เลือดออก จึงต้องปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ของโลกที่เปลี่ยนแปลงไป โดยเน้นให้ประชาชนเห็นถึงความสำคัญและถือเป็นภารกิจที่จะต้องช่วยกัน กระตุ้น สร้างจิตสำนึกให้ประชาชน องค์กรชุมชน ตลอดจนเครือข่ายสุขภาพให้มีส่วนร่วมอย่างจริงจังและต่อเนื่อง จึงเป็นกิจกรรมสำคัญที่ต้องเร่งดำเนินการ หากประชาชนไม่ได้ปฏิบัติตามมาตรการในการป้องกันโรค และทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในครัวเรือนและชุมชนอย่างต่อเนื่อง อาจจะทำให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ตำบลประกอบเพิ่มมากขึ้นได้ งานสาธารณสุข สำนักปลัด องค์การบริหารส่วนตำบลประกอบ จึงจัดทำโครงการฯดังกล่าวขึ้น เพื่อให้การปฏิบัติงานการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกเป็นไปอย่างต่อเนื่องและยั่งยืนต่อไป
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | ข้อที่ 1. เพื่อลดอัตราป่วย ด้วยโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ตำบลประกอบ 1.สามารถลดอัตราการป่วยจากโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ตำบลประกอบ |
0.00 | |
2 | ข้อที่ 2. เพื่อกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย และกำจัดลูกน้ำยุงลาย
|
0.00 | |
3 | ข้อที่ 3.เพื่อกระตุ้นและปลูกจิตสำนึกให้ประชาชนเกิดความตระหนักและเห็นความสำคัญของการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคไข้เลือดออก
|
0.00 |
รวมทั้งสิ้น | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 | 0.00 |
ขั้นเตรียมการ 1.จัดทำโครงการ เพื่อขออนุมัติ พร้อมบันทึกข้อความในการปฏิบัติงาน 2.ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รพ.สต. อสม. โรงเรียน และทีมวิทยากร ขั้นดำเนินการ 1.ดำเนินการประชาสัมพันธ์โรคไข้เลือดออกให้แกนนำครอบครัวทุกหลังคาเรือน 2.จัดอบรมให้ความรู้ด้านสุขศึกษาในชุมชนและโรงเรียน เกี่ยวกับการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก และ ขอความร่วมมือให้ประชาชนทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายและกำจัดลูกน้ำยุงลาย 3.รณรงค์และทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายในหมู่บ้าน ศพด. และโรงเรียน โดยวิธี -ทางกายภาพ รณรงค์เคาะประตูบ้าน พร้อมร่วมกันดำเนินการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในหมู่บ้าน ศพด. และโรงเรียน -ใช้สารเคมี ใส่สารเคมีทรายอะเบท ในตุ่มน้ำในครัวเรือน ศพด. และโรงเรียน -ทางชีวภาพ ส่งเสริมความรู้ให้แกนนำประจำครอบครัวในชุมชนเกี่ยวกับการปลูกพืชไล่ยุง เช่น ตะไคร้หอมไล่ยุง การเลี่ยงปลากินลูกน้ำ เช่น ปลาหางนกยูง ขั้นประเมินผล 1.แกนนำประจำครอบครัวสำรวจลูกน้ำยุงลายด้วยตัวเอง ร่วมกับ อาสาสมัครสาธารณสุข(อสม.) ในเขตรับผิดชอบ 2.ติดตามและประเมินความพึงพอใจการดำเนินกิจกรรม
1.สามารถลดอัตราการป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในเขตพื้นที่ตำบลประกอบ 2.ทำให้ประชาชนในพื้นที่ตำบลประกอบ มีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับไข้เลือดออก และมีพฤติกรรมที่ถูกต้องเหมาะสมในการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมไม่ให้เกิดโรคไข้เลือดออก 3.ประชาชนให้ความร่วมมือในการดำเนินการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมการแพร่ระบาดของโรคข้าเลือดออก 4.ทำให้ประชาชนให้ความร่วมมือในการร่วมกิจกรรมในการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายอย่างต่อเนื่อง สามารถลด แหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายภายในหมู่บ้าน ชุมชน ศพด. โรงเรียน วัด มัสยิด ในเขตพื้นที่ตำบลประกอบ
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 18 มี.ค. 2564 11:38 น.