กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการควบคุมป้องกันการแพร่ระบาดไข้เลือดออก ปี 2564
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านสี่แยกไสยวน
วันที่อนุมัติ 26 เมษายน 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 26 เมษายน 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 66,900.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสุขขุม โอฬาริกบุตร
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลพนมวังก์ อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 2884 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มผู้สูงอายุ 1125 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 200 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 5826 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ตำบลพนมวังก์พบผู้ป่วยไข้เลือดออก ตั้งแต่ปี2559 - ปี2563จำนวน11,10,4,39,12 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 199.16,179.79,40.83,671.95,205.97 ตามลำดับ อัตราป่วยไข้เลือดออกมีค่ามัธยฐาน ย้อนหลัง 5 ปี เท่ากับ 199.16 ต่อแสนประชากรในปี2562และ 2563 อัตราป่วยไข้เลือดออกเกินค่ามัธยฐานย้อนหลัง 5 ปี เท่ากับ 671.95 และ 205.97โดยพบผู้ป่วยกระจายทุกหมู่บ้านในตำบลพนมวังก์ประกอบกับข้อมูลผลการสำรวจค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านสี่แยกไสยวน ตั้งแต่เดือน มกราคม 2563 จนถึงเดือน ธันวาคม 2563 พบว่าค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายของบ้านเรือนประชาชน House Index (HI) รวมถึงค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายรวมของ โรงเรียน ศาสนสถาน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เกินเกณฑ์มาตรฐานอย่างต่อเนื่อง ทำให้พื้นที่ตำบลพนมวังก์จัดเป็นพื้นที่เสี่ยงสูงต่อการเกิดโรค และตำบลพนมวังก์มีสภาพภูมิอากาศ ที่เอื้อต่อการแพร่ขยายพันธุ์ของยุงลาย ความหนาแน่นบ้านเรือนของประชากรในพื้นที่ทำให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกในวงกว้างอย่างต่อเนื่อง จากสถานการณ์ดังกล่าว โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านสี่แยกไสยวน ได้ดำเนินการควบคุมและป้องกันโรค ตามแนวทางครบถ้วนทุกราย โดยความร่วมมือของภาคีเครือข่ายสุขภาพในพื้นที่ทั้งในด้านกายภาพโดยการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย การแนะนำให้เลี้ยงปลาหางนกยูงในอ่างน้ำ และทางเคมีโดยแจกทรายกำจัดลูกน้ำยุงลาย ยาทากันยุง สเปรย์ฉีดฆ่ายุง และให้บริการพ่นเคมีตามมาตรฐาน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านสี่แยกไสยวนจึงได้จัดทำโครงการควบคุมป้องกันการแพร่ระบาดไข้เลือดออกขึ้น เพื่อรณรงค์ให้ประชาชนมีความตระหนักในการดูแลปรับปรุงสิ่งแวดล้อมให้ถูกสุขลักษณะดูแลตนเองลดความเสี่ยงในการป่วยด้วยไข้เลือดออก และผลกระทบที่สูญเสียต่อชีวิต ทรัพย์สิน ในเขตพื้นที่ของตำบลพนมวังก์ อย่างต่อเนื่อง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก ไม่น้อยกว่าร้อยละ 25 ของค่ามัธยฐานย้อนหลัง 5 ปี

อัตราป่วยด้วยโรค ไข้เลือดออกลดลงไม่น้อยกว่า ร้อยละ 25 ของค่ามัธยฐาน ย้อนหลัง 5 ปี (ปีพ.ศ.2559-2563)

20.00 25.00
2 เพื่อลดค่า HI บ้านเรือน

ค่าHI บ้านเรือน ไม่เกิน 5

10.00 5.00
3 เพื่อลดค่า CI วัด โรงเรียน ศพด

ค่าCI  วัด  โรงเรียน  ศพด ไม่เกิน 5

10.00 5.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 66,900.00 0 0.00
26 เม.ย. 64 - 31 มี.ค. 64 ประชุมสร้างความร่วมมือจากภาคีเครือข่ายในพื้นที่ในการขับเคลื่อนนโยบายในการป้องกัน ควบคุมโรค 0 1,000.00 -
26 เม.ย. 64 - 30 ก.ย. 64 ถ่ายทอดความรู้การป้องกันตนเองและการจัดการสิ่งแวดล้อม 3 เก็บ และรณรงค์ประชาสัมพันธ์สร้างการมีส่วนร่วมในการจัดการสิ่งแวดล้อม 3 เก็บ สุ่มสำรวจค่าดัชนีลูกน้ำยุงลาย 0 10,000.00 -
26 เม.ย. 64 - 30 ก.ย. 64 กิจกรรมป้องกันและควบคุมโรคตามมาตรการควบคุมโรค และติดตามประเมินผลตามระยะของการเกิดโรคออบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการพ่นสารเคมีในการควบคุมโรค การผสมสารเคมี การดูแลเครื่องพ่น เตรียมความพร้อมของเครื่องมือ อุปกรณ์ ทีมพนักงานของท้องถิ่นและ อสม.ในการควบคุมโรค 0 55,900.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกลดลงไม่น้อยกว่าร้อยละ 25 ของค่ามัธยฐาน ย้อนหลัง 5 ปี (ปี2559-2563)
  2. ค่า HI บ้านเรือนไม่เกิน5
  3. ค่า CI วัด โรงเรียน ศพด ไม่เกิน 5
  4. ไม่พบผู้ป่วยรายใหม่หลัง14 วัน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 18 มี.ค. 2564 00:00 น.