กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการสตรีไทยป้องกันภัยโรคมะเร็งเต้านมและโรคมะเร็งปากมดลูก
รหัสโครงการ 64-L3314-1-6
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านคลองขุด
วันที่อนุมัติ 17 มีนาคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2564 - 30 กันยายน 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2564
งบประมาณ 13,200.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายภูไท เอี่ยมระยับ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลหานโพธิ์ อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.525,100.145place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคมะเร็งเป็นสาเหตุการตายเป็นอันดับสามรองมาจากโรคหัวใจและอุบัติเหตุมะเร็งที่เกิดในสตรีมากที่สุดคือมะเร็งปากมดลูกซึ่งเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตของหญิงไทยเป็นอันดับสองรองลงมาจากมะเร็งเต้านม พบได้ตั้งแต่ผู้หญิงอายุก่อน ๓๐ปี จนถึงวัยชราอายุ ๘๐ปี และพบมากในช่วงอายุ ๓๕ – ๕๐ปี ซึ่งพบมากที่สุดในภาคเหนือของประเทศไทยเมื่อเปรียบเทียบกับภูมิภาคอื่น ๆ โดยทุกๆ ๒นาที จะมีผู้หญิงเสียชีวิต ๑คน ขณะที่หญิงไทยมีอัตราการเสียชีวิตจากมะเร็งปากมดลูกเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จาก ๗คนต่อวัน เป็น ๑๔คน ต่อวัน ซึ่งคิดเป็นอัตราที่เพิ่มขึ้นถึง ๑๐๐% หรือเสียชีวิตประมาณ ๔,๕๐๐คน ต่อปี โดยในแต่ละปีจะมีหญิงไทยได้รับการวินิจฉัยเป็นมะเร็งปากมดลูกรายใหม่ประมาณ ๙,๐๐๐รายต่อปี ซึ่งร้อยละ ๔๐-๕๐จะเสียชีวิตจากโรค ค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูก จะตกประมาณ ๓๕๐ ล้านบาทต่อปี และมีแนวโน้มจะสูงขึ้นเรื่อยๆ โดยหญิงไทยส่วนใหญ่คิดว่าตัวเองไม่ใช่กลุ่มเสี่ยง และมักเกิดความอายความกลัวที่จะไปพบแพทย์เพื่อตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ดังนั้นกว่าจะรู้ตัวว่ามีอาการผิดปกติ ความรุนแรงของโรคก็มักอยู่ในระยะลุกลาม ทำให้มีอัตราการรอดชีวิตต่ำ ดังนั้นผู้หญิงทุกคนควรได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกเป็นประจำอย่างน้อยปีละ ๑ครั้ง ตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยตนเองเดือนละ ๑ ครั้งโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม สามารถดูแลป้องกันรักษาได้ในระยะแรกๆ และการป้องกันที่ดีที่สุดคือ การค้นหาผู้ป่วยให้เร็วที่สุด ดังนั้นการให้ความรู้ การสร้างความตระหนักและการกระตุ้นให้เกิดการดูแลและป้องกันตัวเองในระยะแรกเพื่อเป็นการส่งเสริมสุขภาพ ตลอดจนลดอัตราป่วยและตายของสตรีจากโรคมะเร็งปากมดลูก จากข้อมูลการคัดกรองโรคมะเร็งเต้านม จำนวนกลุ่มเป้าหมาย 875 คน คัดกรองได้ 767 คนคิดเป็นร้อยละ 87.66 อัตราป่วยจากโรคมะเร็งเต้านม ปี 2559– 25๖2 คิดเป็น ๔๙.6๕ ,1๘8.๖๕ และ๑๗๓.7๘ ต่อแสนประชากรตามลำดับ มะเร็งปากมดลูก จำนวนกลุ่มเป้าหมาย 673 คน คัดกรองได้ 446 คน คิดเป็นร้อยละ 66.27 ไม่พบผู้ป่วยโรคมะเร็งปากมดลูก โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านคลองขุด จึงได้จัดทำโครงการเฝ้าระวังสตรีไทยให้ปลอดภัยจากโรคมะเร็งเต้านมและโรคมะเร็งปากมดลูก ปีงบประมาณ 25๖4 เพื่อสร้างเสริมความรู้ ความเข้าใจในการคัดกรองและดูแลผู้ป่วยโรคมะเร็งเต้านมและโรคมะเร็งปากมดลูก

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ความรู้และค้นหาความผิดปกติของปากมดลูกและเต้านมในสตรีกลุ่มอายุ 30-70 ปี จำนวน 50 คน

สตรีกลุ่มอายุ 30-70 ปีได้รับการตรวจมะเร็งปากมดลูกและตรวจเต้านมมากกว่าร้อยละ 80

80.00
2 เพื่อลดอัตราป่วยและอัตราตายจากโรคมะเร็งเต้านมและโรคมะเร็งปากมดลูก

ผลการตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการ (pap smear) และผลการตรวจเต้านมด้วยตนเอง พบความผิดปกติไม่เกินร้อยละ 0.2

0.00
3 เพื่อรณรงค์ให้สตรีกลุ่มอายุ 30-70 ปี ตรวจมะเร็งปากมดลูกอย่างน้อย 1 ครั้ง/ปี และตรวจมะเร็งเต้านมด้วยตนเองเดือนละ 1 ครั้ง

อัตราป่วยด้วยโรคมะเร็งปากมดลูกและโรคมะเร็งเต้านมลดลง

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 50 13,200.00 0 0.00
1 เม.ย. 64 - 30 ก.ย. 64 กิจกรรมประชุมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้เรื่องโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม 50 13,200.00 -
1 เม.ย. 64 - 30 ก.ย. 64 กิจกรรมตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม 0 0.00 -

1.สำรวจข้อมูลสตรีกลุ่มเป้าหมาย อายุ 30-70 ปี 2.จัดทำแผนการปฏิบัติงานโครงการเฝ้าระวังสตรีไทยให้ปลอดภัยจากโรคมะเร็งเต้านมและโรคมะเร็งปากมดลูกปีงบประมาณ 2564 3.จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ การเฝ้าระวังและดูแลผู้ป่วยโรคมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูกจำนวน 1วัน 4.สตรีกลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก 5.สตรีกลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยตนเอง 6.ติดตามการดำเนินงาน 7.สรุปผลการดำเนินงาน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนมีความเข้าใจมีพฤติกรรมการป้องกันโรคที่ถูกต้อง
  2. สตรีกลุ่มอายุ ๓๐ –7๐ ปีได้รับการตรวจคัดกรองโดยวิธี Pap Smear และสตรีกลุ่มอายุ ๓๐ – ๗๐ ปี ตรวจเต้านมด้วยตนเองเดือนละ1 ครั้ง
  3. กลุ่มเป้าหมายที่มีผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการผิดปกติและตรวจเต้านมผิดปกติได้รับการส่งต่อ และรักษาอย่างทันท่วงที
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 18 มี.ค. 2564 14:37 น.