กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของกลุ่มเสี่ยงและผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
รหัสโครงการ 64-L3314-1-7
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านสะทัง
วันที่อนุมัติ 17 มีนาคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2564 - 30 กันยายน 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2564
งบประมาณ 19,600.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางภัควดี แก้วสม
พี่เลี้ยงโครงการ นายประเทือง อมรวิรยะชัย
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลหานโพธิ์ อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.525,100.145place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากสภาพสังคมปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและเทคโนโลยีอย่างรวดเร็ว ทำให้วิถีชีวิตความเป็นอยู่เปลี่ยนตามสภาพจากเดิม ทำให้พฤติกรรมของแต่ละคนเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ไม่ถูกต้อง เช่นพฤติกรรมการบริโภคอาหาร พฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเอง อันนำไปสู่ ระบบการทำงานต่างๆของร่างกายเริ่มจะเสื่อมโทรมลง และมีโอกาสที่จะเจ็บป่วยได้ง่ายมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคเรื้อรัง Metabolic ได้แก่ โรคเบาหวาน, โรคความดันโลหิตสูงและโรคไขมันในเลือดผิดปกติโรคหลอดเลือดหัวใจ ทำให้ผู้ป่วยเกิดภาวะทนทุกข์ทรมานและทำให้เกิดความสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สินการดูแลโรคไม่ติดต่อเรื้อรังนั้น ไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะโดยแพทย์เท่านั้นแต่ขึ้นอยู่กับการดูแลตนเองของผู้ป่วยและการตรวจป้องกันภาวะแทรกซ้อนนอกจากยังควรมีการติดตามเยี่ยมผู้ป่วยที่บ้านเพื่อจะได้ทราบถึงปัญหาของการดูแลตนเองและร่วมหารือและแนะนำการแก้ไขปัญหาสุขภาพกับผู้ป่วยแต่ละรายปัจจุบันผู้ป่วยที่มารับบริการดูแลรักษาโรคเรื้อรังดังกล่าวมีเป็นจำนวนเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ แต่ผู้ป่วยส่วนใหญ่ก็ยังไม่ได้รับบริการดูแลภาวะแทรกซ้อนได้อย่างถูกต้อง ทำให้ไม่เกิดความยั่งยืนในระบบการดูแลสุขภาพผู้ป่วยและครอบครัวมีศักยภาพในการดูแลตนเองน้อยทำให้ผู้ป่วยส่วนใหญ่ยังต้องพึ่งแพทย์ พยาบาลและเจ้าหน้าที่สาธารณสุขเป็นหลักแต่ในความเป็นจริงการที่สามารถให้ประชาชน กลุ่มเสี่ยง ผู้ป่วย ได้ตระหนักในการดูแลตนเอง มีความรู้ สร้างทัศนคติ จะสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และปฏิบัติตัวให้ห่างจากการเกิดโรคและภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วย เพื่อลดงบประมาณในการรักษาผู้ป่วยได้เป็นจำนวนมาก จากการสำรวจข้อมูลพบว่า ประชาชนในเขตรับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านสะทัง รับผิดชอบ ๕ หมู่บ้าน มีประชาชนกลุ่มเป้าหมายในการคัดกรองโรคเบาหวาน จำนวนเป้าหมาย ๑,๕๑๑ คน คัดกรองได้ ๑,๓๘๓ คน คิดเป็นร้อยละ ๙๑.๕๓ โรคความดันโลหิตสูง จำนวน ๑,๓๒๖ คน คัดกรองได้ ๑,๒๒๒ คน คิดเป็นร้อยละ ๙๒.๑๖ ผู้ป่วยโรคเบาหวานจำนวน ๔๖คน ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ๒๔๓ คนผู้ป่วยทั้งโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ๑๐๖ คน ดังนั้น เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนของโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง Metabolic ได้แก่โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านสะทัง จึงได้จัดทำโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ป้องกันภาวะแทรกซ้อนขึ้น เพื่อดูแล ส่งเสริมสุขภาพ และป้องกันกลุ่มเสี่ยงไม่ให้เป็นโรค ป้องกันกลุ่มป่วยไม่ให้เกิดโรคแทรกซ้อนซึ่งจะทำให้สูญเสียชีวิตต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อป้องกัน ควบคุมปัจจัยเสี่ยงและส่งเสริมปัจจัยที่ดีที่มีผลต่อสุขภาพของประชาชนโดยตรง

ผู้ป่วยป้องกัน ควบคุมปัจจัยเสี่ยงและส่งเสริมปัจจัยที่ดีที่มีผลต่อสุขภาพของประชาชนโดยตรงมากกว่าร้อยละ ๘๐

80.00
2 เพื่อลดอุบัติการณ์รายใหม่

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 200 19,600.00 0 0.00
1 เม.ย. 64 - 30 ก.ย. 64 กิจกรรมติดตามค่าน้ำตาลในเลือดและค่าความดันโลหิตสูง จำนวน 2 เดือน ต่อ 1 ครั้ง 100 0.00 -
20 พ.ค. 64 กิจกรรมจัดอบรมให้ความรู้และแนวทางการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้กับกลุ่มเสี่ยง กลุ่มผู้ป่วยและผู้ดูแลผู้ป่วย และทำแบบทดสอบความรู้ก่อนและหลังการอบรมโดยใช้แบบทดสอบ 100 19,600.00 -

1.ประชุมชี้แจง รายละเอียดโครงการ แก่เจ้าหน้าที่สาธารณสุข และอาสาสมัครสาธารณสุข 2.สำรวจข้อมูลผู้ป่วยเรื้อรังในเขตรับผิดชอบ 3.จัดอบรมให้ความรู้และแนวทางการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม สาธิตการประกอบอาหาร ให้กับกลุ่มเสี่ยง กลุ่มผู้ป่วยและผู้ดูแลผู้ป่วย จำนวน ๑๐๐ คน จำนวน ๑ วัน 4.สรุปและประเมินผลการดำเนินงานโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ผู้ป่วยโรคเรื้อรังสามารถปรับเปลี่ยนทัศนคติในการบริโภคอาหารได้ถูกต้อง 2.ผู้ดูแลผู้ป่วยและบุคคลในครอบครัวของผู้ป่วยมีความรู้ในเรื่องอาหารโภชนาการที่ถูกต้อง 3.ชุมชนมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพของประชาชน 4.ลดการป่วยด้วยโรคเรื้อรังและภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากโรคเรื้อรังให้น้อยลง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 18 มี.ค. 2564 15:01 น.