กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

assignment
บันทึกกิจกรรม
อบรมเชิงปฏิบัติการ6 กันยายน 2564
6
กันยายน 2564รายงานจากพื้นที่ โดย กองทุนสุขภาพเทศบาลเมืองกันตัง
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. อสม./ แกนนำสุขภาพในชุมชน  ดำเนินการคัดกรอง/ประเมินสุขภาพเบื้องต้น (วัดความดันโลหิต/เจาะน้ำตาลปลายนิ้ว/วัดรอบเอว/ประเมินดัชนีมวลกาย)  และประเมินความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดสมอง  แก่ประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไปในชุมชน
  2. ประสานกลุ่มเป้าหมายที่มีความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดสมอง  ให้เข้ารับการอบรมพร้อมลงทะเบียนกลุ่มเสี่ยงและติดตามต่อไป
  3. จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้แก่ประชาชนที่มีภาวะเสี่ยงในชุมชน  โดยปฏิบัติตามมาตรการ/แนวทางการควบคุมป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด ภายใต้สถานการณ์การควบคุมป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด-19

- ให้ความรู้เกี่ยวกับโรคหัวใจและหลอดเลือดสมอง/ การป้องกันโรคโรคหัวใจและหลอดเลือด-   สมอง  การดูแลตนเองด้วย 3อ 2ส  โรคโควิด-19 เป็นต้น - ประเมินความพึงพอใจผู้เข้ารับการอบรม 4. กิจกรรมติดตามกลุ่มเสี่ยง  โดย อสม./แกนนำสุขภาพชุมชน  ประเมินสุขภาพเบื้องต้นซ้ำ  (วัดความดันโลหิต/เจาะน้ำตาลปลายนิ้ว/วัดรอบเอว/ประเมินดัชนีมวลกาย)  และประเมินความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดสมองซ้ำแก่กลุ่มเสี่ยง  ประเมินความเสี่ยโควิด-19  โดยปฏิบัติตามมาตรการ/แนวทางการควบคุมป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด  ภายใต้สถานการณ์การควบคุมป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด-19
5. ส่งต่อข้อมูลกลุ่มเสี่ยงให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุขทราบ

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. กิจกรรมคัดกรองประเมินสุขภาพเบื้องต้น/ประเมินความเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือดสมองแก่ประชาชนในชุมชน  โดยปฏิบัติตามมาตรการ/แนวทางการควบคุมป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด  ภายใต้สถานการณ์การควบคุมป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด-19  มีประชาชนในชุมชนได้รับการคัดกรอง  จำนวน  172  คน  (เป้าหมายจำนวน 180  คน)
  2. จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้แก่ประชาชนที่มีภาวะเสี่ยงในชุมชน  โดยปฏิบัติตามมาตรการ/แนวทางการควบคุมป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด ภายใต้สถานการณ์การควบคุมป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด-19  โดยให้ความรู้เรื่องโรคหัวใจและหลอดเลือดสมอง/ การดูแลตนเองเพื่อป้องกันโรคโรคหัวใจและหลอดเลือดสมอง  สมาธิบำบัด...ลดโรค…(SKT)  โรคโควิด-19  และวิธีการป้องกันโรคโควิด-19  วิทยากรจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำลบ้านเกาะมุกด์  และโรงพยาบาลกันตังมาให้ความรู้ดังกล่าว  เมื่อวันที่  6  กันยายน  2564  ณ  อาคารคอซิมบี๊ เทศบาลเมืองกันตัง  มีผู้เข้ารับการอบรมจำนวน  49  คน
  3. ประเมินความพึงพอใจผู้เข้ารับการอบรม  เมื่อวันที่  6  กันยายน  2564  เป้าหมายจำนวน  40  คน  ซึ่งได้รับแบบประเมินคืน  38  ชุด  ผู้เข้ารับการอบรมส่วนใหญ่ร้อยละ  93.8  มีความพึงพอใจในการดำเนินโครงการอยู่ในระดับมากที่สุด  ค่าเฉลี่ย  4.69  โดยมีผลการประเมินแต่ละด้านดังนี้

- ด้านวิทยากร  และสื่อที่ใช้  มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด  ค่าเฉลี่ย  4.68  คิดเป็นร้อยละ  93.6
- ด้านความรู้ ความเข้าใจ  และการนำไปใช้  มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด  ค่าเฉลี่ย  4.73  คิดเป็นร้อยละ  94.6
- ด้านสถานที่/ระยะเวลา  มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด  ค่าเฉลี่ย  4.55  คิดเป็นร้อยละ  91
- ภาพรวมของโครงการ  มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด  ค่าเฉลี่ย  4.79  คิดเป็นร้อยละ  95.8
3. สรุปผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัด 1). ประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไปที่อาศัยอยู่จริงในชุมชน  ได้รับการคัดกรองความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดสมอง  คิดเป็นร้อยละ  95.56  (ตัวชี้วัดที่กำหนดไว้ร้อยละ 80) 2). ร้อยละ  93.8 ของประชาชนที่เข้ารับการอบรม มีความพึงพอใจต่อการดำเนินโครงการอยู่ในระดับมากที่สุด  (ตัวชี้วัดที่กำหนดไว้ร้อยละ 80  มีความพึงพอใจอยู่ในระดีบมาก) 4. จัดกิจกรรมรณรงค์การป้องกันโรคโควิด-19  ในชุมชน  โดยได้ดำเนินการคือ
4.1 จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ต่างๆ เช่น  ป้ายไวนิลความรู้เกี่ยวกับโรคโควิด-19  ป้ายโฟมบอร์ดประชาสัมพันธ์  เป็นต้น 4.2 อสม. /แกนนำสุขภาพชุมชน  ลงพื้นที่รณรงค์เคาะประตูบ้าน  โดยการวัดอุณหภูมิให้กับประชาชนในชุมชน  และเน้นย้ำมาตรการป้องกันโรคโควิด-19 5. กิจกรรมติดตาม ค้นหากลุ่มเสี่ยง/ผู้ที่เดินทางมาจากพื้นที่เสี่ยงหรือพื้นที่ที่มีการระบาดของโรคโควิด-19  ระลอกใหม่  โดย อสม./แกนนำสุขภาพชุมชน
5.1 สำรวจ ค้นหา และขึ้นทะเบียนผู้ที่เดินทางกลับมาจากพื้นที่เสี่ยงหรือพื้นที่ที่มีการระบาดของโรคโควิด-19  ในชุมชน  ตั้งแต่เดือนเมษายน - กันยายน  2564  จำนวน  92  ราย
5.2 ติดตามวัดอุณหภูมิ/เฝ้าระวังสังเกตอาการ  ตามแนวทางของกระทรวงสาธารณสุข  พร้อมรายงานผลการเฝ้าระวังให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุขทราบ  ตั้งแต่เดือนเมษายน - กันยายน  2564  ดังนี้ - ผู้ที่เดินทางมาจากพื้นที่เสี่ยง จำนวน  92  ราย - กลุ่มเสี่ยงที่สัมผัสผู้ติดเชื้อโควิด-19  จำนวน  17  ราย
จากการดำเนินงานพบว่าประชาชนในชุมชนที่เดินทางมาจากพื้นที่เสี่ยงหรือพื้นที่ที่มีการระบาดของโรคโควิด-19  ระลอกใหม่  ได้รับการคัดกรอง/เฝ้าระวังโรคโควิด-19  ร้อยละ 100 5.3 จากการดำเนินงานเฝ้าระวังป้องกันโรคโควิด-19  ในชุมชน  ตั้งแต่เดือนเมษายน - กันยายน  2564  พบผู้ติดเชื้อโควิด-19  จำนวน  4  ราย