กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

  1. กิจกรรมคัดกรองประเมินสุขภาพเบื้องต้น/ประเมินความเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือดสมองแก่ประชาชนในชุมชน โดยปฏิบัติตามมาตรการ/แนวทางการควบคุมป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด ภายใต้สถานการณ์การควบคุมป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด-19 มีประชาชนในชุมชนได้รับการคัดกรอง จำนวน 172 คน (เป้าหมายจำนวน 180 คน)
  2. จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้แก่ประชาชนที่มีภาวะเสี่ยงในชุมชน โดยปฏิบัติตามมาตรการ/แนวทางการควบคุมป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด ภายใต้สถานการณ์การควบคุมป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด-19 โดยให้ความรู้เรื่องโรคหัวใจและหลอดเลือดสมอง/ การดูแลตนเองเพื่อป้องกันโรคโรคหัวใจและหลอดเลือดสมอง สมาธิบำบัด...ลดโรค…(SKT) โรคโควิด-19 และวิธีการป้องกันโรคโควิด-19 วิทยากรจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำลบ้านเกาะมุกด์ และโรงพยาบาลกันตังมาให้ความรู้ดังกล่าว เมื่อวันที่ 6 กันยายน 2564 ณ อาคารคอซิมบี๊ เทศบาลเมืองกันตัง มีผู้เข้ารับการอบรมจำนวน 49 คน
  3. ประเมินความพึงพอใจผู้เข้ารับการอบรม เมื่อวันที่ 6 กันยายน 2564 เป้าหมายจำนวน 40 คน ซึ่งได้รับแบบประเมินคืน 38 ชุด ผู้เข้ารับการอบรมส่วนใหญ่ร้อยละ 93.8 มีความพึงพอใจในการดำเนินโครงการอยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ย 4.69 โดยมีผลการประเมินแต่ละด้านดังนี้

- ด้านวิทยากร และสื่อที่ใช้ มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ย 4.68 คิดเป็นร้อยละ 93.6
- ด้านความรู้ ความเข้าใจ และการนำไปใช้ มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ย 4.73 คิดเป็นร้อยละ 94.6
- ด้านสถานที่/ระยะเวลา มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ย 4.55 คิดเป็นร้อยละ 91
- ภาพรวมของโครงการ มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ย 4.79 คิดเป็นร้อยละ 95.8
3. สรุปผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัด 1). ประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไปที่อาศัยอยู่จริงในชุมชน ได้รับการคัดกรองความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดสมอง คิดเป็นร้อยละ 95.56 (ตัวชี้วัดที่กำหนดไว้ร้อยละ 80) 2). ร้อยละ 93.8 ของประชาชนที่เข้ารับการอบรม มีความพึงพอใจต่อการดำเนินโครงการอยู่ในระดับมากที่สุด (ตัวชี้วัดที่กำหนดไว้ร้อยละ 80 มีความพึงพอใจอยู่ในระดีบมาก) 4. จัดกิจกรรมรณรงค์การป้องกันโรคโควิด-19 ในชุมชน โดยได้ดำเนินการคือ
4.1 จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ต่างๆ เช่น ป้ายไวนิลความรู้เกี่ยวกับโรคโควิด-19 ป้ายโฟมบอร์ดประชาสัมพันธ์ เป็นต้น 4.2 อสม. /แกนนำสุขภาพชุมชน ลงพื้นที่รณรงค์เคาะประตูบ้าน โดยการวัดอุณหภูมิให้กับประชาชนในชุมชน และเน้นย้ำมาตรการป้องกันโรคโควิด-19 5. กิจกรรมติดตาม ค้นหากลุ่มเสี่ยง/ผู้ที่เดินทางมาจากพื้นที่เสี่ยงหรือพื้นที่ที่มีการระบาดของโรคโควิด-19 ระลอกใหม่ โดย อสม./แกนนำสุขภาพชุมชน
5.1 สำรวจ ค้นหา และขึ้นทะเบียนผู้ที่เดินทางกลับมาจากพื้นที่เสี่ยงหรือพื้นที่ที่มีการระบาดของโรคโควิด-19 ในชุมชน ตั้งแต่เดือนเมษายน - กันยายน 2564 จำนวน 92 ราย
5.2 ติดตามวัดอุณหภูมิ/เฝ้าระวังสังเกตอาการ ตามแนวทางของกระทรวงสาธารณสุข พร้อมรายงานผลการเฝ้าระวังให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุขทราบ ตั้งแต่เดือนเมษายน - กันยายน 2564 ดังนี้ - ผู้ที่เดินทางมาจากพื้นที่เสี่ยง จำนวน 92 ราย - กลุ่มเสี่ยงที่สัมผัสผู้ติดเชื้อโควิด-19 จำนวน 17 ราย
จากการดำเนินงานพบว่าประชาชนในชุมชนที่เดินทางมาจากพื้นที่เสี่ยงหรือพื้นที่ที่มีการระบาดของโรคโควิด-19 ระลอกใหม่ ได้รับการคัดกรอง/เฝ้าระวังโรคโควิด-19 ร้อยละ 100 5.3 จากการดำเนินงานเฝ้าระวังป้องกันโรคโควิด-19 ในชุมชน ตั้งแต่เดือนเมษายน - กันยายน 2564 พบผู้ติดเชื้อโควิด-19 จำนวน 4 ราย
3. สรุปค่าใช้จ่ายการดำเนินกิจกรรม/โครงการฯ ทั้งสิ้นจำนวน  18,454.- บาท ดังนี้ 1. กิจกรรมอบรมให้ความรู้ - ค่าสมนาคุณวิทยากร เป็นเงิน 3,600 บาท - ค่าอาหารว่าง/เครื่องดื่ม เป็นเงิน 2,400 บาท - ค่าอาหารกลางวัน เป็นเงิน 2,800 บาท - ค่าป้ายโครงการ 1 ผืน เป็นเงิน  300 บาท - ค่าป้ายประชาสัมพันธ์ 2 ผืน เป็นเงิน  600 บาท - ค่าเอกสารประกอบการอบรม/แบบประเมิน เป็นเงิน  300 บาท - ค่าวัสดุ/อุปกรณ์ และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เป็นเงิน  850 บาท 2. กิจกรรมติดตามกลุ่มเสี่ยง - ค่าเครื่องเจาะน้ำตาลปลายนิ้ว พร้อมแถบตรวจ เป็นเงิน 2,500 บาท - ค่าเครื่องวัดอุณหภูมิแบบอินฟราเรด 1 เครื่อง เป็นเงิน 2,500 บาท - ค่าเจลล้างมือแอลกอฮอล์ 2 ขวด เป็นเงิน  300 บาท - ค่าหน้ากากอนามัยทางการแพทย์ 2 กล่อง เป็นเงิน  250 บาท - ค่าวัสดุอุปกรณ์/อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เป็นเงิน 2,054 บาท โดยทางชุมชนป่ามะพร้าวไม่ขอเบิกจ่ายส่วนเกินจำนวน 4 บาท

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 เพื่อให้ประชาชนกลุ่มอายุ 35 ปีขึ้นไป ได้รับการตรวจคัดกรองความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดสมอง
ตัวชี้วัด : ร้อยละ 80 ของประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไปที่อาศัยอยู่จริงในชุมชน ได้รับการคัดกรองความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดสมอง
0.00

 

2 เพื่อให้ประชาชนที่มีภาวะเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดสมองในชุมชน มีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง เห็นความสำคัญในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ตลอดจนการป้องกันโรคโควิด-19 สามารถดูแลสุขภาพตนเองได้
ตัวชี้วัด : ร้อยละ 80 ของประชาชนที่เข้ารับการอบรม มีความพึงพอใจต่อการดำเนินโครงการอยู่ในระดับมาก
0.00

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 40 49
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
กลุ่มวัยทำงาน -
กลุ่มผู้สูงอายุ -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 40 49
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อให้ประชาชนกลุ่มอายุ 35 ปีขึ้นไป ได้รับการตรวจคัดกรองความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดสมอง (2) เพื่อให้ประชาชนที่มีภาวะเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดสมองในชุมชน  มีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง  เห็นความสำคัญในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ  ตลอดจนการป้องกันโรคโควิด-19 สามารถดูแลสุขภาพตนเองได้

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) อบรมเชิงปฏิบัติการ

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh