กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการพัฒนาเครือข่ายตำบลส่งเสริมสุขภาพสตรีและเด็กปฐมวัย ปี 2564
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลพนมวังก์
วันที่อนุมัติ 26 เมษายน 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 26 เมษายน 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 30,630.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางศริณยา อินแก้ว
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลพนมวังก์ อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 110 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 30 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

กระทรวงสาธารณสุขมีนโยบาย ขับเคลื่อนตำบลมหัศจรรย์ 1000 วันแรกของชีวิต ซึ่งเป็นช่วงสำคัญของทารกในครรภ์ตั้งแต่เริมปฏิสนธิจนถึงอายุ 2 ปี ยกระดับกิจกรรม กิน กอด เล่นเล่า เฝ้าดูฟัน การมีส่วนร่วมสถาบันครอบครัวให้อบอุ่น พ่อ แม่ ลูก ได้อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข เด็กได้รับการเลี้ยงดูที่ถูกต้อง ทำให้เด็กอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ดี ซึ่งการดูแลเลี้ยงดูบุตรแรกเกิดถึง 6 ปี ให้เจริญเติบโตและพัฒนาการสมวัยมีระดับเชาว์ปัญญาที่ดี ต้องอาศัยการสร้างการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย ครอบครัว ชุมชน จากปัญหาข้อมูลงานอนามัยและเด็กของตำบลพนมวังก์อุปสรรคต่อสุขภาพของมารดาและเด็กแรกเกิด – 6 ปี ได้แก่ หญิงมีครรภ์มีภาวะเสี่ยงโลหิตจาง ร้อยละ 11.53 อัตราการตั้งครรภ์ของแม่อายุยังน้อยกว่า 20 ปี ร้อยละ 11.53 อัตราทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม ร้อยละ 7.69 อัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว 6 เดือน ร้อยละ 65.38 เด็กต่ำกว่า 6 ปี มีอัตราฟันผุ ร้อยละ 36.69 มีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ ร้อยละ 26.13 ส่วนสูงต่ำกว่าเกณฑ์ ร้อยละ 36.18 จากปัญหาดังกล่าว ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลพนมวังก์ จึงได้จัดทำโครงการพัฒนาเครือข่ายตำบลส่งเสริมสุขภาพสตรีและเด็กปฐมวัยปี 2564 ส่งเสริมกิจกรรม๓ ดีกิน กอด เล่น เล่า เข้านอนเฝ้าดูฟัน นำนโยบายในดูแลการส่งเสริมสุขภาพสตรีและเด็กปฐมวัย การสร้างการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย ครอบครัว ชุมชนในการสนับสนุนดูแลกลุ่มหญิงวัยเจริญพันธุ์ หญิงตั้งครรภ์ มารดาและทารกหลังคลอดเพื่อให้เด็กได้รับการเลี้ยงดูให้เจริญเติบโตและพัฒนาการสมวัยมีระดับเชาว์ปัญญาที่ดีต่อไปในอนาคต

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อติดตามประเมินผล 3 ดี (ภาวะโภชนาการ พัฒนาการ ฟัน) ตามเกณฑ์อายุ ให้ครอบคลุม

เด็กได้รับการติดตามประเมินผล 3 ดี (ภาวะโภชนการ พัฒนาการ ฟัน) ตามเกณฑ์อายุ ครอบคลุม ร้อยละ 100

95.00 100.00
2 เพื่อให้เด็กที่มีภาวะพร่อง 3 ดี ได้รับการแก้ไข ติดตาม กระตุ้น ประเมินเด็กอย่างต่อเนื่องตามเกณฑ์ จากผู้ปกครอง แกนนำ อสม. บุคลากรสาธารณสุข

เด็กที่มีภาวะพร่อง 3 ดี ได้รับการแก้ไข ติดตาม กระตุ้น ประเมินอย่างต่อเนื่องตามเกณฑ์ครอบคลุมร้อยละ 100

95.00 100.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 30,630.00 0 0.00
26 - 30 เม.ย. 64 ประชุมแกนนำ อสม . อปท. รพสต. ศพด.ให้ความรู้ชี้แจงโครงการ 0 1,750.00 -
26 - 30 เม.ย. 64 ประชุมให้ความรู้ อสม ผู้ปกครองผู้เลี้ยงดูในการเลี้ยงดูเด็ก ในการ กินกอด เล่นเล่า การเข้านอน เฝ้าดูฟัน 0 15,130.00 -
1 - 31 พ.ค. 64 ประชุมกลุ่มวัยรุ่น อนามัยวัยเจริญพันธุ์ ในโรงเรียนกศน. 0 1,750.00 -
1 - 31 พ.ค. 64 หญิงมีครรภ์และ เด็กที่มีภาวะพร่อง 3 ดีได้รับการแก้ไขติดตาม กระตุ้นประเมินเด็กอย่างต่อเนื่องตามเกณฑ์ จากผู้ปกครองแกนนำอสม. บุคลากรสาธารณสุข 0 12,000.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. สตรีและเด็กปฐมวัยกลุ่มเป้าหมายได้รับการส่งเสริมสุขภาพ
  2. เครือข่ายมีส่วนร่วม เฝ้าระวัง ส่งเสริมการดูแลสตรีและเด็กปฐมวัย
  3. หญิงมีครรภ์ หญิงหลังคลอดมีสุขภาพดี ได้รับการดูแลตามเกณฑ์ ร้อยละ 95
  4. เด็กปฐมวัยมีน้ำหนัก ส่วนสูง ตามเกณฑ์ พัฒนาการตามวัย ฟันไม่ผุ เพิ่มขึ้น
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 18 มี.ค. 2564 00:00 น.