กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการนวัตกรรมป้องกันโรคไข้เลือดออกในชุมชน
รหัสโครงการ 64-L3314-2-4
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านสะทัง
วันที่อนุมัติ 17 มีนาคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2564 - 30 กันยายน 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2564
งบประมาณ 35,600.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางอนุสตรา ทิพย์เกษร
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลหานโพธิ์ อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.525,100.145place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออกนับเป็นปัญหาสาธารณสุขไทยตลอดมาเพราะไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่สร้างความสูญเสียชีวิตและค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลและความสูญเสียทางเศรษฐกิจ ทั้งที่ทุกฝ่ายได้ช่วยกันรณรงค์ป้องกันและควบคุมมาโดยตลอดและได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน โรคไข้เลือดออกก็ไม่ลดลดลงมากนักและยังคงเป็นปัญหาสำคัญในระดับประเทศเรื่อยมา สาเหตุหนึ่งที่ทำให้ปัญหาโรคไข้เลือดออกยังคงคุกคามชีวิตประชาชนคือการที่ประชาชนขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพิษภัยของโรคไข้เลือดออก ทำให้มี่การตื่นตัวในการควบคุมและป้องกันโรคอันเนื่องจากการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ของหน่วยงานราชการหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้านสาธารณสุขยังไม่ครอบคลุมถึงทุกครัวเรือนเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจแก่ประชาชนในการรณรงค์ ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกให้มีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น สำหรับองค์การอนามัยโลกแนะนำให้ใช้ทรายอะเบทกำจัดลูกน้ำ แต่จะต้องใช้ในอัตราส่วนที่ถูกต้องจึงจะกำจัดลูกน้ำยุงลายได้
ปัจจุบันการดำเนินงานป้องกันโรคไข้เลือดออกของหมู่บ้านในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านสะทัง ได้จัดกิจกรรมการใส่ทรายอะเบท พ่นสเปรย์และพ่นหมอกควันในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก ซึ่งการพ่นสเปรย์นั้นสเปรย์มีจำนวนจำกัดและมีราคาค่อนข้างแพง ดังนั้นชมรม อสม.โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านสะทัง ได้แนวคิดในเรืองของการใช้ภูมิปัญญาของชาวบ้านโดยใช้ทรัพยากรในท้องถิ่นที่สามารถหาได้ง่าย เช่นตะไคร้หอม มะกรูด มาทำสเปรย์สมุนไพรกันยุงซึ่งเป็นทางเลือกในการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้เกิดการจัดการสิ่งแวดล้อมที่ปลอดภัยต่อสุขภาพ ควบคุมโรคและภัยสุขภาพในชุมชน

แกนนำสุขภานำความรู้ที่ได้จากการอบรมไปเผยแพร่ให้ชาวบ้านในเขตรับผิดชอบ

0.00
2 เพื่อใช้วัสดุที่มีในท้องถิ่นอย่างคุ้มค่าและเกิดประโยชน์

ผู้เข้าร่วมอบรมสามารถทำสเปรย์ไล่ยุงจากสมุนไพรใช้ในการควบคุมป้องกันไข้เลือดออกได้

0.00
3 แกนนำสุขภาพและประชาชนทั่วไปสามารถจัดทำสมุนไพรไล่ยุงและเผยแพร่ไปยังชุมชนได้

จำนวนผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกลดลง

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 100 35,600.00 0 0.00
1 เม.ย. 64 - 30 ก.ย. 64 กิจกรรมประชุมเชิงปฏิบัติการแก่แกนนำสุขภาพตามโครงการนวัตกรรมป้องกันโรคไข้เลือดออกในชุมชน 100 35,600.00 -

1.อบรมให้ความรู้แก่แกนนำ อสม. จำนวน 100 คน จำนวน 1 วัน 2.จัดทำสมุนไพรไล่ยุง 3.นำนวัตกรรมไปใช้ประประชาชนในพื้นที่ 4.สำรวจความพึงพอใจต่อนวัตกรรม

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ป้องกันโรคไข้เลือดออกและโรคติดต่อนำโดยแมลงโดยไม่ใช้สารเคมี 2.ประหยัดค่าใช้จ่ายใช้ทรัพยากรในท้องถิ่นอย่างคุ้มค่า 3.แกนนำสุขภาพใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 19 มี.ค. 2564 09:12 น.