กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการประชาสัมพันธ์ความรู้เรื่องโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ประจำปีงบประมาณ 2564
รหัสโครงการ 64-L2481-5-17
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 5 สนับสนุนกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะสะท้อน อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส
วันที่อนุมัติ 25 กุมภาพันธ์ 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 30 ธันวาคม 2564
งบประมาณ 70,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวนูรีซัน มะเก
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเกาะสะท้อน อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.22,102.059place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโควิดระลอกใหม่หลังพบผู้ติดเชื้อโควิด-19 รายแรกของการระบาดรอบใหม่ในไทยเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม การแพร่ระบาดรอบนี้เป็นไปอย่างรวดเร็ว หากเปรียบเทียบกับการระบาดรอบแรก มีการคาดการณ์ว่าสถานการณ์ระบาดโควิด-19 รอบนี้จะขยายวงกว้างมากกว่าเดิม โดยมีปัจจัยทั้งจากการพัฒนาของสายพันธุ์ของเชื้อไวรัส และสภาพอากาศเวลานี้ของไทย ที่เอื้อต่อการแพร่กระจายการแพร่ระบาดระลอกใหม่ในไทยครั้งนี้ อาจจะรุนแรงมากกว่าเดิม เพราะหากดูจากสถิติการแพร่ระบาดรอบ2 จาก 75 ประเทศ พบว่า ร้อยละ90 เป็นเช่นนั้น ดูจากจำนวนผู้ติดเชื้อสูงสุดต่อวันจะเพิ่มขึ้นถึง 5 เท่าตัว และต้องใช้ระยะเวลาในการควบคุมการระบาดนานขึ้นถึง 2 เท่า หากไทยเข้าสู่การแพร่ระบาดระลอก 2 อย่างเต็มตัว ก็อาจจะมีผู้ติดเชื้อต่อวันสูงถึงกว่า 900 คน และต้องใช้เวลาควบคุมสถานการณ์นานถึง 3 เดือนสาเหตุที่ทำให้การแพร่เชื้อโควิด-19 ระลอก 2 รุนแรงขึ้น มีอยู่หลายปัจจัย ตั้งแต่การตัดสินใจแก้ปัญหาช้า เช่น ล็อกดาวน์ช้า รวมถึงระบบตรวจคัดกรองเชิงรุกที่ไม่ทั่วถึง เพราะมีคนจำนวนมากที่ไม่แสดงอาการ ซึ่งการตรวจเฉพาะผู้ที่แสดงอาการ จะไม่ทันต่อการแพร่ระบาดอย่างรวดเร็วปัจจัยต่อมาคือสภาพอากาศที่ไม่ถ่ายเท เช่น การแพร่เชื้อจากตลาด และอีกปัจจัยสำคัญคือ การกลายพันธุ์ของเชื้อไวรัส ซึ่งปัจจุบันที่กระจายอยู่ทั่วโลกแทบจะไม่ใช่สายพันธุ์อู่ฮั่นแล้ว แต่เป็นสายพันธุ์ G ที่ระบาดจาก จ.สมุทรสาคร ในบ้านเราเช่นกันซึ่งปัจจุบันตามข้อมูลพบว่าไวรัสโควิด-19 กลายพันธุ์ไปแล้ว 8 สายพันธุ์ทั่วโลก แต่สายพันธุ์ G มีสัดส่วนมากที่สุดในการระบาดระลอกนี้ ลักษณะของมัน แม้ความรุนแรงของอาการจะไม่มากไปกว่าเดิม แต่ในแง่ของการแพร่กระจาย จะรวดเร็วกว่าสายพันธุ์ดั้งเดิม 8-9 เท่าตัว โดยเชื้อโควิดได้แพร่ระบาดเป็นดาวกระจายไปยังกรุงเทพฯ อยุธยา และพื้นที่จังหวัดอื่น ไม่ใช่เฉพาะ จ.สมุทรสาคร เท่านั้น และจะเกิดการลักลอบออกนอกจังหวัดอย่างแน่นอน นำไปสู่ความเสี่ยงติดเชื้อแบบดาวกระจาย ต่อจากนี้สำหรับสิ่งที่ทำได้ คือ ประชาชนต้องใส่หน้ากากอนามัย 100% เพื่อป้องกันตัวเอง เนื่องจากการระบาดรอบ 2 จะมีการแพร่ระบาดรวดเร็วและรุนแรง จะทำให้เสียชีวิตเพิ่มขึ้น ดังนั้นต้องป้องกันตัวเองและคนในครอบครัว หากป่วยแล้วแม้มียา ก็ไม่ได้รับการพิสูจน์ว่ารักษาหาย เพราะช่วยได้เพียง 70% ซึ่งในอีก 4-6 สัปดาห์ข้างหน้า ไทยจะมีปัญหา "ใบไม้ร่วง" เหมือนต่างประเทศ ต้องอย่าการ์ดตก และรัฐต้องทำการตรวจคัดกรองให้มากที่สุด เพราะขณะนี้โควิดกระจายไปทั่ว ไม่รู้ใครติดเชื้อ เพราะทั่วโลกยังมีการระบาดหนัก และวัคซีนเพิ่งเข้ามาอย่างไรก็ตาม เชื้อโควิดที่กำลังแพร่ระบาดในไทย เป็นสายพันธุ์ Gที่มาจากอินเดียเข้ามาเมียนมาร์ คงฟันธงไม่ได้ว่าเชื้อรุนแรงกว่าสายพันธุ์ที่พบในประเทศจีนหรือไม่ แต่คงไม่ต่างจากสายพันธุ์เดิม โดยการแพร่เชื้อจะรวดเร็วกว่าเดิม ติดง่ายขึ้น ยังมีความรุนแรงและมีโอกาสเสียชีวิตเช่นเดิม

    ขณะที่นราธิวาสยังคงมีการพบผู้ป่วยที่ติดเชื้อจากประเทศเพื่อนบ้านมาเลเซียและในประเทศกรุงเทพมหานครฯ ถือเป็นการแพร่ระบาดในพื้นที่อย่างเร็วเช่นกัน ประกอบกับอำเภอตากใบ ตำบลเกาะสะท้อนเป็นชายแดนติดฝั่งแม่น้ำประเทศมาเลเซียจึงมีปัญหาการลักลอบเข้าพื้นที่อยู่ โอการเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ได้ง่าย เพราะฝั่งประเทศมาเลเซียก็มีปัญหาการระบาดในหลายพื้นที่เช่นกัน ดังนั้นกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลเกาะสะท้อนจึงต้องเป็นด่านหน้าในการให้ความรู้ ประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับโรคฯ การควบคุมป้องกันการแพร่ระบาดของโรคฯ จึงได้จัดทำโครงการประชาสัมพันธ์ความรู้เรื่องโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเป็นการให้ความรู้ การเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคติดต่อเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในเชิงรุกทุกหลังคาเรือน

ครัวเรือนมีความรู้ และมีการเฝ้าระวัง ควบคุมโรคติดต่อเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) เพิ่มขึ้นร้อยละ 90

0.00
2 เพื่อให้ประชาชนตระหนักแก่ประชาชนเกี่ยวกับการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19)

ประชาชนร้อยละ 90 มีความตระหนักเกี่ยวกับการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา  (COVID-19)

0.00
3 เพื่อสร้างความเข้าใจ คำแนะนำการดูแลป้องกันการปฏิบัติตัวของประชาชนเกี่ยวกับโรคติดต่อเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

ประชาชนร้อยละ 90 มีความเข้าใจ และสามารถปฏิบัติตัวได้อย่างถูกต้องเกี่ยวกับการป้องกันโรคติดต่อเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

0.00
4 เพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารอย่างทั่วถึงจากการประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ สร้างความเข้าใจ คำแนะนำการดูแลป้องกันการปฏิบัติตัวของประชาชนเกี่ยวกับโรคติดต่อเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

ประชาชนมีความเข้าใจ และสามารถปฏิบัติตัวตามคำแนะนำการดูแลป้องกันโรคติดต่อเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) เพิ่มขึ้นร้อยละ 90

0.00
5 ให้ความรู้แก่ครัวเรือนในพื้นที่ จำนวน 2,000 ครัวเรือนให้ตระหนักถึงโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า (COVID-19)

ประชาชนร้อยละ 90 เข้าใจและตระหนักถึงการควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า (COVID-19)

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 70,000.00 0 0.00
1 มี.ค. 64 - 30 ก.ย. 64 ออกพื้นที่ให้ความรู้และตระหนักถึงพิษภัยการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) 0 70,000.00 -
  1. เขียนโครงการเพื่อขออนุมัติโครงการ
  2. จัดทำโปสเตอร์ความรู้เรื่องโรคของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) เพื่อให้ความรู้ครัวเรือนในพื้นที่
  3. ออกพื้นที่ให้ความรู้และตระหนักถึงพิษภัยการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19)
  4. สรุปผลการดำเนินงาน
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. สามารถให้ความรู้ การเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคติดต่อเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในเชิงรุกทุกหลังคาเรือน
  2. ประชาชนตระหนักแก่ประชาชนเกี่ยวกับการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19)
  3. สามารถสร้างความเข้าใจ คำแนะนำการดูแลป้องกันการปฏิบัติตัวของประชาชนเกี่ยวกับโรคติดต่อเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
  4. ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารอย่างทั่วถึงจากการประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ สร้างความเข้าใจ คำแนะนำการดูแลป้องกันการปฏิบัติตัวของประชาชนเกี่ยวกับโรคติดต่อเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 19 มี.ค. 2564 10:47 น.