กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมสุขภาพเด็กดี (สมาร์ทคิด) หมู่ที่ 4 เทศบาลตำบลโคกโพธิ์
รหัสโครงการ L8282-01-05
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโคกโพธิ์
วันที่อนุมัติ 9 มิถุนายน 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2564
งบประมาณ 47,325.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวนัยรัตน์ อาลีดีมัน
พี่เลี้ยงโครงการ -
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลโคกโพธิ์ อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ในช่วงปีงบประมาณ ๒๕๖๒ ที่ผ่านมาจะพบว่าพื้นที่เขตรับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโคกโพธิ์ มีเด็กน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ ๑๗ คนจากเด็กทั้งหมด๒๒๐คนคิดเป็นร้อยละ ๗.๗๐ เตี้ย จำนวน ๙คนคิดเป็นร้อยละ๔.๐๙ พัฒนาการไม่สมตามวัยและฟันผุ ซึ่งตามเป้าหมายของกระทรวงสาธารณสุขกำหนดให้มีไม่เกินร้อยละ๗และในอนาคตมีแนวโน้มว่าจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งพัฒนาการทางด้านร่างกายนี้อาจส่งผลต่อพัฒนาการทางด้านสติปัญญาอารมณ์จิตใจและสังคมเด็กตามมา จำเป็นต้องมีการส่งเสริมและพัฒนาเด็กให้มีพัฒนาการที่สมวัยในทุกด้านของชีวิตการแก้ไขปัญหาโดยการมีมุมส่งเสริมโภชนาการ พัฒนาการเด็ก ในสถานพยาบาลและการดำเนินงานแก้ไขปัญหาและส่งเสริมพัฒนาการเด็กเจ้าหน้าที่เพียงฝ่ายเดียวไม่สามารถแก้ปัญหาให้หมดไปได้ สิ่งสำคัญจะต้องมีการให้ความรู้แก่พ่อแม่ผู้ดูแลเด็กและส่งเสริมให้ครอบครัวชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการส่งเสริมพัฒนาการเด็ก จากสภาพปัญหาดังกล่าวจึงโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโคกโพธิ์ จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพเด็กดี(สมารท์คิด)เพื่อส่งเสริมให้เด็กไทยมีสุขภาพสมบูรณ์ปลอดภัยจากโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน สูงดีสมส่วน พัฒนาการดีและฟันไม่ผุ และเป็นบันไดสู่ความสำเร็จของการมีสุขภาพดีตามแนวทางโครงการเมืองไทย เพื่อสร้างความตระหนักให้ครอบครัวและชุมชนได้มีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาและพัฒนางานด้านสาธารณสุขต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ผู้ปกครองมีความรู้ ความเข้าใจและตระหนักถึงความสำคัญของการได้รับวัคซีน ชั่งน้ำหนัก ตรวจพัฒนาการและตรวจฟันมากขึ้น

ผู้ปกครองมีความรู้ ความเข้าใจและตระหนักถึงความสำคัญของการได้รับวัคซีน ชั่งน้ำหนักตรวจพัฒนาการและตรวจฟันมากกว่าร้อยละ 50

0.00
2 ผู้ปกครองพาบุตรหลานมารับวัคซีนตามเกณฑ์ ชั่งน้ำหนัก ตรวจพัฒนาการและตรวจฟันมากขึ้น เพิ่มขึ้น

ผู้ปกครองพาบุตรหลานมารับวัคซีนตามเกณฑ์ ชั่งน้ำหนักตรวจพัฒนาการและตรวจฟันมากขึ้น เพิ่มมากว่าร้อยละ 50

0.00
3 ไม่เกิดโรคติดต่อที่สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีน เด็กขาดสารอาหารน้อยลง เด็กที่มีพัฒนาการล่าช้าน้อยลง และฟันผุน้อยลง

ไม่เกิดโรคติดต่อที่สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีน เด็กขาดสารอาหารน้อยลง เด็กที่มีพัฒนาการล่าช้าน้อยลง และฟันผุน้อยลงมากกว่าร้อยละ 50

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 47,325.00 0 0.00
1 เม.ย. 64 - 30 ก.ย. 64 ประชุมชี้แจงโครงการฯ 0 1,125.00 -
1 เม.ย. 64 - 30 ก.ย. 64 อบรมให้ความรู้เชิงปฏิบัติการพร้อมสาธิต ให้แก่ผู้ปกครอง(2วัน) 0 38,600.00 -
1 เม.ย. 64 - 30 ก.ย. 64 ประชาสัมพันธ์และรณรงค์ 0 7,600.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้ปกครองมีความรู้ ความเข้าใจและตระหนักถึงความสำคัญของการได้รับวัคซีน ชั่งน้ำหนักตรวจพัฒนาการและตรวจฟันมากขึ้น
  2. ผู้ปกครองพาบุตรหลานมารับวัคซีนตามเกณฑ์ ชั่งน้ำหนักตรวจพัฒนาการและตรวจฟันมากขึ้น เพิ่มขึ้น
    3.ไม่เกิดโรคติดต่อที่สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 19 มี.ค. 2564 00:00 น.