กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

directions_run

โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยง/กลุ่มสงสัยป่วยความดันโลหิตสูง ด้วยการวัดความดันโลหิตที่บ้าน(Home BP) หมู่ที่8 บ้านหน้าวัง

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยง/กลุ่มสงสัยป่วยความดันโลหิตสูง ด้วยการวัดความดันโลหิตที่บ้าน(Home BP) หมู่ที่8 บ้านหน้าวัง
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุข หมู่ที่8 บ้านหน้าวัง
วันที่อนุมัติ 18 มีนาคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2564 - 31 สิงหาคม 2564
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 10,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางปราณี ชูศรีอ่อน
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ม. 8 บ้านหน้าวัง ตำบลคลองทรายขาว อำเภอกงหรา จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.423,99.921place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 78 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การวัดความดันโลหิต เป็นการตรวจร่างกายที่สามารถให้ข้อมูลอันเป็นประโยชน์เกี่ยวกับสุขภาพหัวใจและหลอดเลือดเบื้องต้น ซึ่งทำได้ภายในเวลารวดเร็วโดยไม่ก่อให้เกิดความเจ็บปวดใดๆ การวัดอาจทำโดยสอดแขนจนสุดต้นแขนเข้าไปในเครื่องอัตโนมัติ หรือใช้ผ้าพันรอบแขนแล้วสูบลมให้ผ้าพองขึ้นจนเกิดแรงบีบที่แขน จากนั้นจึงค่อยๆปล่อยลมออกและรอดูค่าความดันที่จะปรากฏคงที่ในเวลาต่อมา ภาวะความดันโลหิตสูงมักไม่มีอาการบ่งบอกผู้ป่วยอาจไม่เคยรู้ตัวจนกระทั่งได้รับการตรวจความดันโลหิตเบื้องต้นเมื่อเข้ารับการรักษาหรือตรวจคัดกรองสุขภาพ การตรวจพบภาวะความดันโลหิตสูงและรับการรักษาตั้งแต่เนิ่นๆ นั้นสามารถป้องกันการเกิดโรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคไตเรื้อรัง รวมถึงโรคต่างๆ ที่เกี่ยวกับตาได้ การวัดความดันโลหิตด้วยตนเองที่บ้านได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น  สามารถทำได้ง่าย ค่าความดันโลหิตที่วัดที่บ้านจะต่ำกว่าค่าที่วัดจากโรงพยาบาล จากการศึกษาพบว่าค่าความดันโลหิตที่วัดจากบ้าน  มีความสัมพันธ์กับโรคแทรกซ้อนซึ่งประโยชน์ของการวัดความดันโลหิตที่บ้าน คือการวัดความดันชนิดนี้เหมาะสำหรับบุคคลที่ความดันสูงที่โรงพยาบาล แต่วัดที่บ้านพบว่า ปกติ เพื่อตรวจว่าความดันโลหิตสูงหรือไม่ผู้ป่วยที่มีความดันโลหิตแตกต่างกันระหว่างที่บ้านและที่โรงพยาบาล       จากการตรวจคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงในประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป ในเขตรับผิดชอบศูนย์สุขภาพชุมชน โรงพยาบาล กงหรา ในปี 2563 ประชาชนได้รับการคัดกรอง 1,346 คน พบกลุ่มเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูง (ความดันโลหิต มากกว่าหรือเท่ากับ 120/80 มิลลิเมตรปรอท) จำนวน 327 คน คิดเป็นร้อยละ 24.29 กลุ่มสงสัยป่วย (ความดันโลหิต มากกว่าหรือเท่ากับ 140/90 มิลลิเมตรปรอท) จำนวน 78 คน คิดเป็นร้อยละ 5.79 กลุ่มนี้จึงจำเป็นต้องได้รับการติดตามวัดความดันโลหิตที่บ้านต่อเนื่องเป็นเวลา 7 วัน โดยวัดตอนตื่นนอนตอนเช้า 2 ครั้ง และก่อนเข้านอน 2 ครั้ง เพื่อเป็นการยืนยันผลการคัดกรอง และได้รับการวินิจฉัยผู้ป่วยความดันโลหิตสูงรายใหม่จากกลุ่มสงสัยป่วยและได้รับการดูแลรักษาตั้งแต่ระยะเริ่มของโรคต่อไป       ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน หมู่ที่8 บ้านหน้าวัง ได้เล็งเห็นความสำคัญในการแก้ไขปัญหาสุขภาพที่จะเกิดขึ้นกับประชาชนกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มสงสัยป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูง ซึ่งจะกลายเป็นกลุ่มเป็นโรคและอาจกลายเป็นกลุ่มที่เป็นโรคที่ควบคุมโรคไม่ได้ก็จะกลายเป็นกลุ่มที่มีโรคแทรกซ้อน ส่งผลให้เสียค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาเป็นจำนวนมากทั้งในระดับบุคคล ครอบครัว และประเทศชาติ ดังนั้น จึงได้จัดทำโครงการ "ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยง/กลุ่มสงสัยป่วยความดันโลหิตสูง ด้วยการวัดความดันโลหิตที่บ้าน(Home BP))" ขึ้น เพื่อเป็นการติดตามภาวะสุขภาพของประชาชนต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ถูกต้องเหมาะสม และมีการติดตามต่อเนื่อง

ร้อยละ 80 กลุ่มเสี่ยงได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ถูกต้องเหมาะสม และมีการติดตามต่อเนื่อง

1.00
2 เพื่อให้กลุ่มสงสัยเป็นโรค ได้รับการวินิจฉัยและรักษาตามมาตรฐาน

ร้อยละ 100 กลุ่มสงสัยเป็นโรค ได้รับการวินิจฉัยและรักษาตามมาตรฐาน

1.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)

วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 : เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ถูกต้องเหมาะสม และมีการติดตามต่อเนื่อง

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 2 : เพื่อให้กลุ่มสงสัยเป็นโรค ได้รับการวินิจฉัยและรักษาตามมาตรฐาน

รวม 0 0.00 0 0.00

ไม่ระบุวัตถุประสงค์

1 มี.ค. 64 - 31 ส.ค. 64 จัดซื้อเครื่องวัดความดันโลหิต 78.00 10,000.00 -

หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้

  1. ประชุมชี้แจงการดำเนินงานโครงการและมอบหมายภารกิจแก่ อสม. แกนนำชุมชน
      2. จัดทำทะเบียนกลุ่มเป้าหมาย   3. จัดทำแนวทางการวัดความดันโลหิตที่บ้าน และแบบบันทึก   4. ฝึกทักษะญาติ/กลุ่มเสี่ยงให้สามารถวัดความดันโลหิตได้ และวัดความดันโลหิต อย่างต่อเนื่องจนครบ 7 วัน พร้อมบันทึกในแบบบันทึก   5. หาค่าเฉลี่ยความดันโลหิตในรอบ 7 วัน หากยังสูงกว่า 140/90 มิลลิเมตรปรอท ส่งพบแพทย์   6. ติดตามเยี่ยมกลุ่มเสี่ยงที่บ้านเพื่อติดตามการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตามพื้นที่รับผิดชอบของ อสม. อย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง x 3 ครั้ง   7. ประเมินผล สรุปผลการดำเนินงาน   8. รายงานผล
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. กลุ่มสงสัยป่วยได้รับการติดตามวัดความดันโลหิตตามเกณฑ์ที่กำหนด   2. กลุ่มสงสัยป่วยได้รับการวินิจฉัยและรักษาตามมาตรฐาน   3. มีเครื่องวัดความดันโลหิตในหมู่บ้าน สามารถให้บริการแก่ประชาชนได้ทันที
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 21 มี.ค. 2564 15:39 น.