กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมทันตสุขภาพในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ปี 2564
รหัสโครงการ 64-L4120-01-16
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาบลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านแหร
วันที่อนุมัติ 17 มีนาคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2564
งบประมาณ 32,400.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายยูสนิง หะมะ
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาวฟาตีมะห์ ปูเต๊ะ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบ้านแหร อำเภอธารโต จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.101587,101.184217place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 17 มี.ค. 2564 26 มี.ค. 2564 32,400.00
รวมงบประมาณ 32,400.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 150 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากการสำรวจสภาวะช่องปากของเด็กก่อนวัยเรียนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านแหร จำนวน 100 คน พบว่ามีปัญหาฟันน้ำนมผุ เฉลี่ยร้อยละ 80  ซึ่งสาเหตุของการเกิดฟันผุเนื่องจากเด็กชอบรับประทานอาหารรสหวานอยู่เสมอ รวมทั้งผู้ปกครองและผู้ดูแลเด็กขาดการเอาใจใส่ดูแลช่องปากและฟันของเด็กจึงทำให้เกิดปัญหาฟันน้ำนมผุตามมา การเกิดฟันผุในฟันน้ำนม นอกจากจะมีผลเสียโดยตรงต่อสุขภาพของเด็กในขณะนั้นแล้ว ยังมีผลเสียต่อฟันแท้ของเด็กในอนาคตด้วย กล่าวคือ ฟันน้ำนมที่เสีย ถูกถอน หรือหลุดไปก่อนที่ฟันแท้จะขึ้นแทนที่ จะทำให้ฟันที่อยู่ติดกันรวน เก ล้ม เอียง เข้าหาช่องว่าง ทำให้ฟันแท้ที่จะขึ้นแทนตำแหน่งนั้นไม่สามารถขึ้นได้อย่างปกติ อาจจะขึ้นมาในลักษณะบิด ซ้อนกันหรือมีขนาดใหญ่ ไม่เหมาะสมกับใบหน้าของเด็ก
การแก้ไขปัญหาดังกล่าวทำได้โดยการใช้รูปแบบการให้บริการทันตกรรมครบวงจร การตรวจสุขภาพช่องปาก , การให้สุขศึกษา , บริการทันตกรรม , การแปรงฟันที่ถูกวิธี , การบำบัดรักษา และการติดตามประเมินผล  ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านแหร ได้ให้ความสำคัญในการเฝ้าระวังทันตสุขภาพและตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาดังกล่าวจึงได้จัดทำโครงการนี้เฝ้าระวังและส่งเสริมทันตสุขภาพในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กนี้ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้ปกครองและผู้ดูแลเด็กมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องในการดูแลสุขภาพช่องปากของเด็ก

ทำแบบทดสอบหลังให้ความรู้ผ่านร้อยละ 80

0.00
2 เพื่อให้ผู้ปกครอง และ ผดด.มีทักษะในการแปรงฟันและสามารถตรวจความสะอาดของการแปรงฟันได้

แบบบันทึกความสะอาดหลังการแปรงฟัน โดยเจ้าหน้าที่ ผ่านร้อยละ 80

0.00
3 เพื่อลดอัตราการเกิดฟันผุในฟันน้ำนมเด็ก

การติดตามและการนัดให้บริการในเด็กที่มีฟันผุ
ร้อยละ 50

0.00
4 เพื่อให้ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก มีกิจกรรมส่งเสริมทันตสุขภาพที่เป็นรูปธรรม และดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง

ผดด. ผู้ปกครอง และ อบต.บ้านแหร  ให้ความสำคัญและตระหนักเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพช่องปาก ยังคงดำรงไว้ซึ่งกิจกรรมต่างๆ

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
1 - 30 มิ.ย. 64 อบรมให้ความรู้เกี่ยวทันตสุขภาพ 0 32,400.00 -
รวม 0 32,400.00 0 0.00
  1. เสนอโครงการเพื่อขออนุมัติ   1.1 ประชุมร่วมกันระหว่าง อบต. บ้านแหร และคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ
  2. ดำเนินงานตามโครงการ
      2.1 ประชุมชี้แจงโครงการแก่ผู้ดูแลศูนย์เด็กเล็ก   2.2 ตรวจสุขภาพช่องปากเด็ก และสรุปข้อมูลเสนอต่อครู ศพด. และ อบต.บ้านแหร   2.3 จัดอบรมผู้ปกครองเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำนวน 150 คน
      2.4 จัดกิจกรรมแปรงฟันหลังอาหารกลางวัน   2.5 จัดมุมแปรงฟัน และมุมทันตสุขภาพในโรงเรียน   2.6 เจ้าหน้าที่สาธารณสุขติดตามประเมินสภาวะทันตสุขภาพทุก 6 เดือน


  2.7 จัดกิจกรรมให้บริการทางทันตกรรม สำหรับเด็กที่มีปัญหาสุขภาพช่องปาก   2.8 คัดเลือกเด็กที่มีฟันดี พร้อมมอบรางวัลและเกียรติบัตร
3.4. ขั้นสรุปและประเมินโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้ปกครองและผู้ดูแลเด็กมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องในการดูแลสุขภาพช่องปากของเด็ก
    1. ผู้ปกครองและผู้ดูแลเด็กสามารถทำความสะอาดช่องปากให้ลูกได้อย่างถูกวิธีและให้ความสำคัญ
    2. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมีกิจกรรมด้านการส่งเสริมสุขภาพช่องปากที่ชัดเจน เป็นรูปแบบ และสามารถดำเนินการได้อย่างต่อเนื่อง มีระบบการตรวจสอบที่มีประสิทธิภาพ
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 8 มี.ค. 2564 00:00 น.