กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในกลุ่มเสี่ยงเบาหวานและความดันสูง ปี 2564
รหัสโครงการ 64-L4120-01-17
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านแหร
วันที่อนุมัติ 17 มีนาคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2564
งบประมาณ 28,600.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายยูสนิง หะมะ
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาวฟาตีมะห์ ปูเต๊ะ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบ้านแหร อำเภอธารโต จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานผู้สูงอายุ , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 17 มี.ค. 2564 26 มี.ค. 2564 28,600.00
รวมงบประมาณ 28,600.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากการดำเนินงานโรคไม่ติดต่อเรื้อรังของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านแหร จะเห็นได้ว่าจะมีผู้ป่วยรายใหม่เพิ่มขึ้นทุกปี ปีงบประมาณ 2563 มีผลการดำเนินงานดังนี้คือ ประชาชนกลุ่มเป้าหมายอายุ 35 ปีขึ้นไป จำนวน 1,397 คน ได้รับการตรวจคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงจำนวน 1,276 คน คิดเป็นร้อยละ 91.34 และเป้าหมายโรคเบาหวาน จำนวน 1,630 คน ได้รับการคัดกรอง 1,470 คน คิดเป็นร้อยละ 90.18 พบกลุ่มเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูง 228 คน คิดร้อยละ 17.86 กลุ่มสงสัยป่วยโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 79 ราย ซึ่งในรายเสี่ยงสูงหรือกลุ่มสงสัยป่วยโรคความดันโลหิตสูงต้องได้รับการคัดกรองแบบ HOME BP (วัดความดันที่บ้านวันละ 2 เวลา เช้า เย็น เป็นเวลา 7 วันติดต่อกัน)และพบกลุ่มเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน จำนวน 276 คน คิดเป็นร้อยละ 18.77 ผู้ป่วยรายใหม่ได้รับการส่งต่อและรักษาโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 33 คน และโรคเบาหวาน จำนวน 11 คน จากข้อมูลดังกล่าว คณะกรรมการสาธารณสุขโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านแหร มีความตระหนักถึงภาวะสุขภาพของประชาชนกลุ่มดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพกลุ่มเสี่ยงขึ้น เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และลดการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงมีความรู้ความเข้าใจและเกิดความตระหนักในการดูแลสุขภาพตนเอง

ผู้เข้าร่วมอบรมมีความรู้ความเข้าใจในการดูแลตนเองเพิ่มขึ้น  ร้อยละ 80

0.00
2 เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้อง

ร้อยละ 80 ของผู้เข้าร่วมอบรมมีความเข้าใจในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 3อ 2 ส อย่างถูกต้อง

0.00
3 เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงต่อโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและควบคุมระดับความดันโลหิตให้อยู่ในระดับปกติ

ร้อยละกลุ่มเสี่ยงเบาหวานที่เข้ารับการอบรมมีค่าน้ำตาลอยู่ในเกณฑ์ปกติร้อยละ 40 และกลุ่มเสี่ยงความดันโลหิตสูงมีค่าความดันอยู่ในเกณฑ์ปกติร้อยละ 50

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
1 เม.ย. 64 - 30 ก.ย. 64 1.1 กิจกรรมย่อย อบรมให้ความรู้เรื่องการการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 100 28,600.00 28,600.00
รวม 100 28,600.00 1 28,600.00

ขั้นเตรียมการ
1. ประชุมอสมและกำหนดกลุ่มเป้าหมายในเขตรับผิดชอบ 2. วิเคราะห์ปัญหาที่พบและจัดทำแผนการดำเนินงาน 3. เขียนแผน/โครงการ เพื่อเสนออนุมัติ 4. ติดต่อประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 5. ประชาสัมพันธ์โครงการภายในชุมชน 6. ดำเนินงานตามโครงการ กิจกรรมดำเนินการ 1. ประเมินภาวะสุขภาพก่อนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เช่น ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง รอบเอว วัดความดันโลหิต และตรวจหาระดับน้ำตาลในเลือด 2. จัดประชุมชี้แจงเชิงปฏิบัติการแก่กลุ่มเสี่ยง (แบ่งเป็น 2 รุ่นๆละ 50 คน) 2.1 ให้ความรู้เกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน และการปฏิบัติตัว
2.2 ให้ความรู้เกี่ยวกับการประเมินสุขภาพเบื้องต้นพร้อมฝึกปฏิบัติการใช้แบบประเมินสุขภาพและแปลผลภาวะ สุขภาพของตนเอง 2.3 ให้ความรู้เรื่องการใช้แบบประเมินความเครียดด้วยตนเองและการแปรผล พร้อมทั้งฝึกใช้แบบประเมินความเครียด
2.4 ให้ความรู้และสาธิตวิธีการออกกำลังกายที่เหมาะสมสำหรับกลุ่มเสี่ยงแต่ละกลุ่มอายุ
2.5 ให้ความรู้ สาธิตและฝึกปฏิบัติการจัดเมนูอาหารตัวอย่าง 2.6 จัดกิจกรรมกลุ่มแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อหาแนวทางในการเสริมแรงจูงใจให้เกิดการ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
2.7 อสม. ติดตามวัดความดันในกลุ่มสงสัยป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูง 7 วันติดต่อกัน วันละ 2 ครั้งเช้า เย็น   3 เจ้าหน้าที่สาธารณสุขติดตามประเมินภาวะสุขภาพประชาชนกลุ่มเสี่ยง
3.1 ชั่งน้ำหนัก วัดรอบเอว วัดความดันโลหิต และประเมินพฤติกรรมการบริโภค เมื่อครบกำหนด 2
  และ 4 เดือน
3.2 ส่งต่อพบแพทย์ในรายที่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไม่สำเร็จ เพื่อรับการรักษาต่อไป     3.3 คัดเลือกบุคคลต้นแบบที่สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพพร้อมมอบรางวัลและเกียรติบัตร   4.สรุปผลการดำเนินโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้เข้าร่วมมีความรู้ในการดูแลสุขภาพตนเองเพิ่มขึ้น
            2. ผู้เข้าร่วมมีพฤติกรรมการดูแลสุขภาพถูกต้อง
            3. จากการติดตามหลังการ อบรม 4เดือน ระดับความดันโลหิตของผู้ที่เข้ารับการอบรมที่มีภาวะเสี่ยงลดลงปกติอยู่ในเกณฑ์ปกติ ร้อยละ 50
      4.จากการติดตามหลังการอบรม 4 เดือนระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ที่เข้ารับการประชุมชี้แจงที่มีภาวะเสี่ยง ลดลงปกติอยู่ในเกณฑ์ปกติ ร้อยละ 40
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 8 มี.ค. 2564 00:00 น.