กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการลูกประคบใส่ใจ ห่วงใยสุขภาพในบ้าน ปี 2564
รหัสโครงการ 64-L4120-01-18
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขเสริมสุขภาพตำบลบ้านแหร
วันที่อนุมัติ 17 มีนาคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2564
งบประมาณ 10,260.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายยูสนิง หะมะ
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาวฟาตีมะห์ ปูเต๊ะ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบ้านแหร อำเภอธารโต จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 17 มี.ค. 2564 26 มี.ค. 2564 10,260.00
รวมงบประมาณ 10,260.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 33 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การใช้สมุนไพรในการดูแลสุขภาพ เป็นหนึ่งในภูมิปัญญาไทยที่สืบทอดกันมา ซึ่งมีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ที่ระบุถึงการใช้พืชพรรณสมุนไพรตั้งแต่สมัยพุทธกาล การนำสมุนไพรมาใช้ได้ทั้งในแง่การนำมารับประทานเป็นอาหาร เช่น การรับประทานพืชผัก หรือนำมาประกอบเป็นอาหาร นอกจากนั้นยังนำมาใช้เป็นยารักษาโรคเวลาเกิดอาการเจ็บป่วย  การใช้ลูกประคบสมุนไพรก็เป็นหนึ่งในภูมิปัญญาไทยที่คนไทยเรานำมาใช้กันตั้งแต่รุ่นปู่ย่า หลายคนอาจเคยมีประสบการณ์การใช้ลูกประคบสมุนไพรอยู่บ้าง แต่บางคนอาจจะไม่ทราบถึงรายละเอียดในเรื่องผลการรักษา วิธีการใช้ และอาการที่เหมาะกับการใช้ ซึ่งลูกประคบสมุนไพรเป็นการนำสมุนไพรพื้นบ้านชนิดต่างๆมาใช้ในการบรรเทาอาการปวดเมื่อย คลายกล้ามเนื้อ ลดการตึงของกล้ามเนื้อ โดยมีพืชสมุนไพรเป็นส่วนประกอบหลัก อย่างน้อย 3 ชนิด ได้แก่ ไพล ขมิ้นชันและตะไคร้ อาจผสมสมุนไพรชนิดอื่นๆ เช่น ผิวมะกรูด ใบมะขาม การบูร พิมเสน เป็นต้น ลูกประคบสมุนไพรมีอยู่ด้วยกันหลายสูตรทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแต่ละพื้นที่ ซึ่งจะใช้สมุนไพรที่มีอยู่ในท้องถิ่นนั้นๆเป็นส่วนประกอบ การทำลูกประคบสมุนไพรแบบง่ายๆ โดยนำสมุนไพรมาทำความสะอาดแล้วหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ ทำให้แห้งโดยการอบหรือตากแดด และห่อสมุนไพรแห้งด้วยผ้าดิบหรือผ้าฝ้าย แล้วมัดให้แน่นเป็นลูกกลมๆ สามารถเก็บได้นาน ดิฉันนางสาวนูรุลนีซะ ยูโซะ เป็นเจ้าหน้าที่แพทย์แผนไทยในปฏิบัติงานในพื้นที่ตำบลบ้านแหร ได้เล็งเห็นประโยชน์ของการใช้ยาสมุนไพรในรูปแบบลูกประคบ เนื่องจากผู้ป่วยในชุมชนที่มารักษาโรคหรืออาการเจ็บป่วย มักมีปัญหาเกี่ยวกับระบบของกล้ามเนื้อและเส้นเอ็นเป็นส่วนใหญ่ ความรู้ในการดูแลสุขภาพยังน้อย นำมาซึ่งอาการเจ็บป่วยได้ง่าย เช่นอาการปวดหลัง ปวดเอว ปวดบ่า สะบัก ปวดศีรษะ เป็นต้น อีกทั้งที่ผ่านมาคนไข้หลายคนให้ความสนใจเรื่องลูกประคบมาก มีการตั้งคำถามวิธีการทำ มีสมุนไพรชนิดไหนบ้าง วิธีใช้ลูกประคบ จึงอยากแนะนำและสอนวิธีการทำลูกประคบไว้ใช้ยามจำเป็นหรือไว้ใช้รักษาที่บ้านก่อนมารักษาที่สถานบริการ และอาจจะเป็นการต่อยอดสร้างรายได้อีกทางให้ชุมชน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้เรื่องสมุนไพรและสามารถทำลูกประคบได้เอง

ผลิตภัณฑ์ลูกประคบที่ถูกต้อง ใช้งานได้เหมาะสม แบบสอบถามความเข้าใจก่อน-หลังจัดโครงการ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80

0.00
2 เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการมีความพึงพอใจในการรักษาด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทยไม่

ร้อยละ 80 ของผู้เข้าร่วมพึงพอใจ ตอบแบบสอบถามหลังจัดกิจกรรม

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 10,260.00 0 0.00
1 - 31 พ.ค. 64 ค่าอาหารกลางวัน/อาหารว่างและเครื่องดื่มผู้เข้าทำกิจกรรมการอบรม 0 10,260.00 -
  1. เขียนโครงการและขออนุมัติโครงการ
  2. แต่งตั้งคณะทำงานและประชุมชี้แจงคณะทำงานในการจัดเตรียมการดำเนินงาน
  3. รณรงค์/ปิดประกาศโครงการโดย อสม./แกนนำสุขภาพ ตามเขตความรับผิดชอบของ อสม.แต่ละคน
  4. จัดอบรมแกนนำอสม.3ท่านที่รับผิดชอบให้ชำนาญ
  5. จัดกิจกรรมโครางการ “ลูกประคบใส่ใจ ห่วงใยสุขภาพในบ้าน” บรรยายและปฎิบัติจริง โดยแพทผย์แผนไทย และอสม.อีก 3 ท่าน
  6. ประเมินผลโครงการ
  7. สรุปผลการดำเนินงานตามโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้เรื่องสมุนไพรและสามารถทำลูกประคบได้เอง ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80
  2. เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการมีความพึงพอใจในการรักษาด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทยไม่น้อยกว่าร้อยละ 80
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 8 มี.ค. 2564 00:00 น.