กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ ชุมชนร่วมใจทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลาย
รหัสโครงการ 60 - L5247 - 02 -04
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ อาสาสมัครสาธารณสุขตำบลทุ่งหมอ
วันที่อนุมัติ 21 กรกฎาคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 สิงหาคม 2560 - 25 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 16,800.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางกนกวรรณแก้วนพรัตน์
พี่เลี้ยงโครงการ นางดวงใจอ่อนแก้วและ นส.ดวงดาวอุปสิทธิ์
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลทุ่งหมอ อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.745,100.378place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 80 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออกนับเป็นปัญหาสาธารณสุขตลอดมา เพราะไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่สร้างความสูญเสียให้แก่ ชีวิตและค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล ทั้งที่ทุกฝ่ายได้ช่วยกันรณรงค์ป้องกัน และควบคุมมาโดยตลอด ถึงแม้ว่าจะได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานต่าง ๆทั้งภาครัฐและเอกชน แต่ยังพบว่าปัญหาโรคไข้เลือดออกไม่ได้ลดน้อยลงเลย
ตำบลทุ่งหมอ เป็นพื้นที่หนึ่งที่มีปัญหาการระบาดของโรคไข้เลือดออกอย่างต่อเนื่อง โดยมีสถิติในปี 2559 มีผู้ป่วย 87 ราย ปี 2560 (สิ้นสุดเมษายน60) มีผู้ป่วย 12 ราย โดยจะพบผู้ป่วยในช่วงเดือน มีนาคม – ตุลาคม ของทุกปี ซึ่งจะตรงกับช่วงปิดภาคเรียน โดยยุงลายจะวางไข่ตามภาชนะขังน้ำที่มีน้ำนิ่งและใส น้ำจะต้องสะอาดไม่มีสารเคมีหรือแร่ธาตุเจือปน ดังนั้นจึงพบว่ายุงลายจะไม่วางไข่ในน้ำที่อยู่บนผิวดินโดยตรง เนื่องจากจะมีแร่ธาตุเจือปนมาก น้ำฝนมักเป็นน้ำที่ยุงลายชอบวางไข่มากที่สุด ดังนั้น แหล่งเพาะพันธุ์ของยุงลายบ้านจึงมักอยู่ตามโอ่งน้ำดื่มและน้ำใช้ที่ไม่ปิดฝา ทั้งภายในและภายนอกบ้าน จากการสำรวจแหล่งเพาะพันธุ์ของยุงลายบ้านพบว่าร้อยละ 64.52 เป็นภาชนะเก็บขังน้ำที่อยู่ภายในบ้านและร้อยละ 35.53 เป็นภาชนะเก็บขังน้ำที่อยู่นอกบ้าน นอกจากโอ่งน้ำแล้วยังมีภาชนะอื่นๆ เช่น บ่อซีเมนต์ในห้องน้ำ จานรองขาตู้กันมด จานรองกระถางต้นไม้ แจกัน อ่างล้างเท้า ยางรถยนต์ ไห ภาชนะใส่น้ำเลี้ยงสัตว์ เศษภาชนะ เช่น โอ่งแตก เศษกระป๋อง กะลา เป็นต้น ในขณะที่ยุงลายสวนชอบวางไข่นอกบ้านตามกาบใบของพืชจำพวก มะพร้าว กล้วย พลับพลึง ต้นบอน ถ้วยรองน้ำยางพาราที่มีน้ำขัง โพรงไม้ กะลา กระบอกไม้ไผ่ที่มีน้ำขัง ฯลฯ สำหรับแหล่งเพาะพันธุ์ส่วนใหญ่ในโรงเรียนพบว่าเป็นอ่างน้ำซีเมนต์ในห้องน้ำและแจกันปลูกต้นพลูด่าง ซึ่งเกือบทั้งหมดเป็นลูกน้ำยุงลายบ้าน
ดังนั้นกลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลทุ่งหมอ จึงเห็นความสำคัญของการทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงที่เป็นต้นทาง หากควบคุมแหล่งเพาะพันธ์ได้ ก็เท่ากับตัดวงจรยุงลายก็จะเป็นการป้องกันโรคไข้เลือดออกไม่ให้เกิดขึ้นได้

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อป้องกันไม่ให้มีการเจ็บป่วยด้วยโรคที่มียุงเป็นพาหะ

1.อัตราการเป็นโรคไข้เลือดออกลดลงร้อยละ 80

2 2.เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนทำลายแหล่งเพาะพันธ์เดิมและไม่สร้างแหล่งเพาะพันธ์ขึ้นใหม่

1.แหล่งเพาะพันธ์ยุงลายถูกทำลายและไม่มีแหล่งใหม่อีกร้อยละ90

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 0.00 2 16,800.00
9 ส.ค. 60 อบรมให้ความรู้ 0 0.00 10,200.00
9 ส.ค. 60 เดินรณรงค์เคาะประตูบ้าน 0 0.00 6,600.00

ขั้นตอนการวางแผน -ร่วมกันประชุมวางแผนกำหนดการต่าง ๆ
2.ขั้นตอนการดำเนินงาน - จัดทำแผ่นผับ เอกสาร
-จัดกิจกรรมรณรงค์ และทำลายแหล่งเพาะพันธ์ โดยการเดินเคาะประตูบ้านในชุมชน เพิ่มดัชนีสำรวจลูกน้ำยุงลายก่อนหลังทำโครงการ 3.ดำเนินการบริหารจัดการตามแผนงานที่กำหนด - รายงานผลการดำเนินโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

อัตราการเกิดโรคไข้เลือดออกลดลง 2.ประชาชนรู้และเข้าใจถึงภัยของโรคไข้เลือดออก

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 27 ก.ค. 2560 11:06 น.