กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการลูกน้อยสุขภาพดี โภชนาการ พัฒนาการตามวัยและรับวัคซีนตามเกณฑ์ ปีงบประมาณ 2564
รหัสโครงการ 64-L2535-01-28
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปาเสมัส
วันที่อนุมัติ 16 มีนาคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2564 - 30 กันยายน 2565
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 89,500.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวอารีนา เจ๊ะแม
พี่เลี้ยงโครงการ นายอายิ หะมาดุลลาห์
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลปาเสมัส อำเภอสุไหง-โกลก จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

ระบุ

กลุ่มวัยทำงาน 160 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 160 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

งานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคและภาวะโภชนาการในเด็กอายุ 0-5 ปี เป็นงานบริการขั้นพื้นฐานที่เด็กไทยทุกคนพึงได้รับบริการตามเกณฑ์มาตรฐาน และที่สำคัญผู้ปกครองของเด็กที่มีอายุ 0-5 ปี จะต้องมีความรู้ความเข้าใจ และตระหนักถึงความสำคัญของการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคและภาวะโภชนาการในเด็ก และพัฒนาการของเด็ก จากการดำเนินงานที่ผ่านมา พบว่าเด็กอายุ 0-5 ปี จำนวนทั้งหมด 502 คน ได้รับวัคซีนตามเกณฑ์ จำนวน 420 คน คิดเป็นร้อยละ 83.66 (ปีงบประมาณ 2563) และการดำเนินงานโภชนาการเด็กอายุ 0-5 ปี จำนวน 502 คนได้รับการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการโดยการชั่งน้ำหนัก จำนวน 455 คนคิดเป็นร้อยละ 90.63 พบว่าอัตราเด็กน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ จำนวน 32 คน คิดเป็นร้อยละ 7.02 และเด็กน้ำหนักค่อนข้างน้อย จำนวน 18 คน คิดเป็นร้อยละ 3.96 (ปีงบประมาณ 2563) ซึ่งยังไม่บรรลุตามเกณฑ์ชี้วัดของกระทรวงสาธารณสุข คือ ความครอบคลุมการได้รับวัคซีนตามเกณฑ์มาตรฐาน อย่างน้อยร้อยละ 90 และภาวะโภชนาการตามเกณฑ์ต้องมีน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ ไม่เกินร้อยละ 7ซึ่งจะเห็นว่าทั้งการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค และภาวะโภชนาการในเด็กอายุ 0-5 ปี ของพื้นที่ก็ยังเป็นปัญหาซึ่งจะต้องได้รับการแก้ไขต่อไป จากสภาพปัญหาดังกล่าว โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปาเสมัส จึงได้จัดทำโครงการลูกน้อยสุขภาพดี โภชนาการ พัฒนาการตามวัยและรับวัคซีนตามเกณฑ์

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้ปกครองของเด็กแรกเกิด–5 ปี ได้มีความรู้ ความเข้าใจ และตระหนักเห็นความสำคัญของการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการการตรวจพัฒนาในเด็กและการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคด้วยวัคซีนในเด็กแรกเกิด – 5 ปี

 

0.00
2 เพื่อให้เด็กแรกเกิด -5 ปีได้มีภาวะโภชนาการดี

เด็กแรกเกิด-5 ปีได้มีภาวะโภชนาการดี มีน้ำหนักน้อยไม่เกินร้อยละ 7

0.00
3 เพื่อให้เด็กแรกเกิด -5 ปีได้มีพัฒนาการสมวัย

เด็กแรกเกิด-5 ปี ได้มีพัฒนาการสมวัยร้อยละ 80 และได้รับการส่งต่อ ร้อยละ 100

0.00
4 เพื่อให้เด็กแรกเกิด-5 ปี ได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์มาตรฐาน

เด็กแรกเกิด-5 ปี ได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์มาตรฐาน ร้อยละ90

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
1 มี.ค. 64 - 30 ก.ย. 64 อบรมเชิงปฏิบัติการแก่ผู้ปกครองเด็กแรกเกิด – 5 ปี 0 44,500.00 44,500.00
1 มี.ค. 64 - 30 ก.ย. 64 การเฝ้าระวังติดตามภาวะโภชนาการ และตรวจคัดกรองพัฒนาการ และรับวัคซีนตามเกณฑ์อายุ ในเด็กแรกเกิด- 5 ปีจำนวน4ครั้ง ( 1 เดือน, 2 เดือน, 3เดือน, 6เดือน)ดังนี้ 0 45,000.00 45,000.00
รวม 0 89,500.00 2 89,500.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้ปกครองเด็กอายุ 0–5 ปีมีความรู้ความเข้าใจ และเห็นความสำคัญของเฝ้าระวังภาวะโภชนาการและการตรวจคัดกรองพัฒนาการในเด็กอายุ 0-5 ปี และการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค

  2. เด็กอายุ 0-5 ปี ได้รับวัคซีนตามเกณฑ์มาตรฐาน มีภาวะโภชนาการที่ดี และมีพัฒนาการที่สมวัยทั้งด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ จิตใจ และสังคม

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 23 มี.ค. 2564 00:00 น.