กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการชุมชนต้นแบบด้านการบริหารจัดการขยะ ตำบลฝาละมี อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง ประจำปี 2560
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านฝาละมี
วันที่อนุมัติ 24 กรกฎาคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 สิงหาคม 2560 - 31 มีนาคม 2561
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 265,100.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านฝาละมี
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลฝาละมี อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.371,100.261place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ตำบลฝาละมี ได้ประสบปัญหาเกี่ยวกับการบริหารการจัดการขยะ เช่นเดียวกับหลายๆท้องถิ่น ที่ไม่สามารถบริหารจัดการขยะได้ ทั้งนี้เกิดจากควา่มเติบโตทางเศรษฐกิจและค่านิยมของประชาชนในการซื้ออาหารจากตลาดหรือร้านค้าเพื่อบริโภคมากกว่าการผลิตใช้เอง อีกทั้งประชาชนยังขาดจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะในด้านการจัดการขยะมูลฝอย ประชาชนยังมีแนวคิดว่าเป็นหน้าที่องค์กรปกครองส่วนตำบลในการกำจัด คัดแยกขยยะ โดยข้อมูลจากองค์กรปกครองส่วนตำบลฝาละมี ได้มีการจัดเก็บขยะในพื้นที่ตำบลฝาละมี เฉลี่ยวันละ ๒๔,๐๐๐ กิโลกรัม ปีละ ๘๔,๐๐๐ ตัน(ข้อมูลจาก อบต.ฝาละมี)และพบว่าขยะในพื้นที่มีจำนวนมากมายโดยไม่มีการคัดแยกขยะเลยเนื่องมา ประชากรส่วนใหญ่ไม่ได้เห็นความสำคัญในการพึ่งตนเองในการแยกและกำจัดขยะ ประกอบกับเป็นชุมชนการเกษตร จึงมีขยะจากผลผลิตทางการเกษตรที่เหลือทิ้งจำนวนมาก รวมทั้งเศษอาหารจากครัวเรือนซึ่งไม่ได้มีการจัดการขยะอย่างเหมาะสม โดยในพื้นที่มีเฉพาะถังขยะของ อบต. ที่จัดรองรับไว้เป็นจุดๆ และทิ้งขยะปะปนกันทุกประเภทประกอบยกับพฤติกรรมการทิ้งขยะส่วนใหญ่ของผู้คนในชุมชน คือ การทิ้งขยะหลากหลายประเภทในถังเดี่ยวกันนำไปไว้หน้าบ้านและรอรถขยะมารับ ซึ่งในถังขยะใบนั้นประกอบด้วยขยะทั่วไป ขยะอันตราย และขยะรีไซเคิล ซึ่งเมื่อดูจากปริมาณขยะมูลฝอยแต่ละวันแล้ว ถึงแม้จะมีการคัดแยกขยะที่ปลายทาง ก็ยังมีคงเหลืออยู่มากและคาดหมายว่าจะมีผลทำให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะกับคลองฝาละมี จึงจำเป็นต้องมีการคัดแยกตั้งแต่ต้นตอของขยะและนำไปบริหารจัดการให้เกิดประสิทธิภาพต่อ ไป และจากผลการศึกษาองค์ประกอบของขยะมูลฝอย พบว่า องค์ประกอบของขยะมูลฝอยองค์การบริหารส่วนตำบลฝาละมี ส่วนใหญ่เป็นขยะรีไซเคิล ร้อยละ ๕๑.๙๒ รองลงมาเป็นขยะอินทรีย์ ร้อยละ ๔๔.๒๓ และขยะทั่วไปหรือขยะที่ไม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ ร้อยละ ๓.๘๕ และไม่พบขยะอันตราย จากข้อมูลดังกล่าวหากไม่มีการสร้างความรู้ความเข้าใจ มีการรณรงค์ สร้างความตระหนักให้กับประชาชนมีการคัดแยกขยะต้นทางก่อนทิ้งหรือการลด คัดแยกขยะโดยใช้หลักการ 3Rs ก็จะทำให้ปริมาณขยะที่นำไปกำจัดลดลง ทำให้ช่วยลดรายจ่ายในการเก็บขนการทำความสะอาด นอกจากนี้ยังมีรายได้จากการขายขยะรีไซเคิล การทำปุ๋ยหรือน้ำหมักชีวภาพจากขยะอินทรีย์ หากมีการคัดแยกขยะที่ต้นทางมีประสิทธิภาพ จะเหลือขยะทั่วไปหรือขยะที่ไม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้น้อยมาก จึงจำเป็นต้องมีการคัดแยกตั้งแต่ต้นตอของขยะ และนำไปบริหารจัดการให้เกิดประสิทธิภาพต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่มีการรับรู้และเกิดจิตสำนึกที่ดีในการรักษาสิ่งแวดล้อม

 

2 2.เพื่อให้ประชาชนในชุมชนเกิดความรู้ความเข้าใจในการคัดแยกมูลฝอยในครัวเรือนได้อย่างถูกวิธี

 

3 3.เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนให้สามารถลดปริมาณขยะ คัดแยกขยะ นำขยะมาใช้ประโยชน์อย่างรูปธรรมและเป็นระบบ โดยใช้หลักการ๓Rs

 

4 4.เพื่อจัดตั้งธนาคารขยะของหมู่บ้านและสถานศึกษา

 

5 5.เพื่อสร้างรายได้เสริมแก่ชุมชนในการแปลงขยะให้เป็นทุน

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

1.การประชาสัมพันธ์และสร้างจิตสำนึก
1.1สร้างจิตสำนึกให้ประชาชน โดยการประชาสัมพันธ์เสียงตามสาย รถประชาสัมพันธ์เคลื่อนที่ป้ายประชาสัมพันธ์ การดำเนินงานโครงการ ชาวฝาละมีร่วมใจ คัดแยกขยะ ลดมลพิษ เพื่อคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อม 1.2ประชุมชี้แจงแก่ แกนนำครอบครัว และสมาชิกในครอบครัวที่เข้าร่วมโครงการเพื่อให้รับทราบความสำคัญและความจำเป็น ตลอดจนกิจกรรมที่ต้องเข้าร่วมในโครงการ 2.การสร้างการมีส่วนร่วมจากประชาชนจัดตั้งกลุ่มหรือองค์กรในชุมชนและดำเนินงานตามกิจกรรมดังต่อไปนี้ 2.1 รับสมัครและลงทะเบียนครอบครัวที่เข้าร่วมโครงการ "ชาวฝาละมีร่วมใจ คัดแยกขยะ ลดมลพิษ เพื่อคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อม" 2.2 การแลกเปลี่ยนเรียนรู้/ศึกษาดูงานในพื้นที่ที่เป็นต้นแบบด้านการจัดการขยะมูลฝอยชุมชน 2.3สร้างโรงเก็บและคัดแยกขยะ รวมทั้งนำตะแกรงแยกขยะไปติดตามจุดต่างๆ ในหมู่บ้านรวมทั้งแจกถุงกระสอบแยกขยะให้ครอบครัวที่ร่วมโครงการ 2.4 จัดตั้งกลุ่มหรือองค์กรในชุมชน และดำเนินงานตามกิจกรรม ดังต่อไปนี้ - การคัดแยกขยะจากต้นทาง หรือในครัวเรือน - จัดกิจกรรมการทำปุ๋ยหมักชีวภาพ การทำปุ๋ยหมักอินทรีย์ 2.5 กิจกรรมBig Cleaning Day ชุมชนร่วมกันรณรงค์จัดการสิ่งแวดล้อมบริเวณบ้านและชุมชนให้น่าอยู่ 2.6 จัดประกวด "บ้านเรือนน่าอยู่" 2.7 จัดตั้งธนาคารขยะของหมู่บ้านและโรงเรียน 2.8จัดเวทีสรุปบทเรียนและเผยแพร่ประชาสัมพันธ์สู่สาธารณะ 3 การติดตามประเมินและสรุปผล

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ประชากรในตำบลฝาละมีมีความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับการจัดการขยะมูลฝอยตามแนวทางการลดปริมาณของเสียงให้น้อยลง (Less Waste) จนมีการจัดการขยะเหลือศูนย์ (Zero Waste) 2. ชุมชนและทุกครังเรือนที่เข้าร่วมฝึกอบรมได้รับการฝึกอบรมได้รับความรู้ เกิดกระบวนการเรียนรู้ และสามารถในด้านการจัดการขยะมูลฝอยและสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่นมีการคัดแยกขยะจากแหล่งที่เกิด มีการทำปุ๋ยหมัก น้ำหมักชีวภาพ ไว้ใช้เองในชุมชนและครัวเรือน และมีรายได้จากการขายขยะรีไซเคิล 3.มีเครือข่ายในการจัดการปัญหาขยะมูลฝอยในครัวเรือนและชุมชน 4.ลดปริมาณขยะที่ต้องฝั่งกลบ ลดขยะตกค้าง ทำให้ลดมลภาวะจากขยะชุมชนได้ 5.มีการนำผลิตภัณฑ์ที่ได้จากขยะอินทรีย์ ได้แก่ ปุ๋ยหมัก น้ำหมักชีวภาพ ซึ่งเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมไปใช้ทางการเกษตร คืนธรรมชาติสู่ธรรมชาติ ลดการใช้ปุ๋ยเคมีได้

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 27 ก.ค. 2560 13:23 น.