กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมความรู้ผู้ประกอบการร้านค้าและแกนนำสุขภาพเรื่องการคุ้มครองผู้บริโภค
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน บ้านห้วยพลู
วันที่อนุมัติ 1 ตุลาคม 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 20 เมษายน 2563 - 24 เมษายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2563
งบประมาณ 30,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางผดุงศรี อินประเสริฐ
พี่เลี้ยงโครงการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านห้วยพลู
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเกาะขนุน อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 17 เม.ย. 2563 17 เม.ย. 2563 30,000.00
รวมงบประมาณ 30,000.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 140 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของครัวเรือนที่มีอาหารครบ 5 หมู่ (ผัก ผลไม้ ไขมัน ข้าว แป้ง เนื้อสัตว์) ครบ 3 มื้อ
74.00
2 ร้อยละครัวเรือนที่ทำการเกษตรแบบปลอดภัย/อินทรีย์
22.96
3 ร้อยละของเกษตรกรที่ตรวจพบสารเคมีตกค้างในเลือด เกินมาตรฐานความปลอดภัย
36.50
4 ร้อยละพื้นที่ผลิตอาหาร (ข้าว ผัก ผลไม้) ต่อพื้นที่เกษตรทั้งหมด
74.00
5 ร้อยละของตัวอย่างอาหารที่ตรวจพบสารปนเปื้อน 6 ชนิด มีสารเคมีตกค้างในอาหาร
70.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

งานคุ้มครองผู้บริโภคด้านสาธารณสุข เป็นงานที่เกี่ยวข้องกับการควบคุม กำกับดูแลและบังคับใช้ กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์สุขภาพและบริการสุขภาพ เช่น อาหาร ยา เครื่องสำอาง ร้านขายของชำใน หมู่บ้าน เป็นต้น ซึ่งในส่วนของผลิตภัณฑ์สุขภาพและบริการสุขภาพเหล่านี้มีผู้เกี่ยวข้องหลายส่วน เช่น ผู้ผลิต ผู้ จำหน่าย ตลอดจนผู้บริโภค โดยเฉพาะผู้บริโภคจะเป็นผู้ได้รับผลกระทบโดยตรงจากการใช้ผลิตภัณฑ์เหล่านั้น หากเป็นผลิตภัณฑ์ที่ไม่มีคุณภาพ ลอกเลียนแบบ เจือปนสารอันตรายลงไป หรือหากบริการสุขภาพนั้นไม่ได้ มาตรฐานจะทำให้ผู้บริโภคได้รับผลกระทบต่อสุขภาพจนอาจทำให้เสียชีวิตได้ ร้านขายของชำในหมู่บ้าน เป็น ร้านที่ผู้บริโภคจับจ่ายใช้สอยและซื้อสินค้ามากที่สุด เนื่องจากเป็นร้านที่อยู่ในหมู่บ้าน สะดวกในการซื้อสินค้า และเป็นร้านที่จำหน่ายสินค้าหลากหลายชนิด เช่น ยา เครื่องสำอาง อาหารสำเร็จรูป เครื่องปรุงรส อาหารแปร รูป บุหรี่และแอลกอฮอล์ แต่จากการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคพบว่า การใช้เครื่องอุปโภค บริโภคที่ไม่ได้ มาตรฐานจากร้านขายของชำในชุมชน ไม่ว่าจะเป็นผลิตภัณฑ์อาหาร เครื่องสำอางที่ไม่ได้คุณภาพ จำหน่าย ซึ่ง ให้กับประชาชนในชุมชน และยังจำหน่ายยาบางชนิดที่ไม่สามารถจำหน่ายได้ในร้านขายของชำ ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ไม่มีความรู้ที่ชัดเจนเกี่ยวกับการเลือกผลิตภัณฑ์อาหาร เครื่องสำอางที่มีคุณภาพ ความรู้ เรื่องประเภทของยาแต่ละชนิดที่สามารถจำหน่ายได้ในร้านขายของชำ และจำหน่ายให้กับร้านค้าในชุมชนได้ สิ่ง เหล่านี้ล้วนเป็นอันตรายต่อผู้บริโภคทั้งสิ้น ดังนั้น เพื่อเป็นการคุ้มครองผู้บริโภค ตรวจสอบและเฝ้าระวังความ ปลอดภัยของผลิตภัณฑ์สุขภาพและบริกรสุขภาพ ตลอดจนเพื่อพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการร้านขายของชำ ในหมู่บ้าน และการเฝ้าระวังความปลอดภัยของอาหารเป็น ๕ ชนิด (บอแรกซ์, สารฟอกขาว, สาร ฟอร์มาลิน, สารกันราและยาฆ่าแมลงในเนื้อสัตว์ตากแห้งและแปรรูป) และน้ำมันทอดช้ำ (เกณฑ์อาหาร ปลอดภัยร้อยละ ๙๕ และ๗๕ ตามลำดับ) รวมทั้งผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่ใช้ในการอุปโภคและบริโภค หาก ประชาชนบริโภคอาหารที่มีสารปนเปื้อนที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ และใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีสารปนเปื้อน อันตรายไม่มีมาตรฐาน ย่อมจะเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้คนไทยเจ็บป่วยด้วยโรคต่างๆ เพิ่มขึ้น อาทิ โรคมะเร็ง โรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง และโรคไตพิการเรื้อรัง เป็นต้น ดังนั้นเพื่อเป็นการเฝ้าระวังสุขภาพของประชาชนในพื้นที่ให้ปลอดภัยจากปัญหาสารปนเปื้อนในอาหาร และผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่วางจำหน่ายอยู่ในชุมชนทุกปีอย่างต่อเนื่อง ทางชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำ หมู่บ้านบ้านห้วยพลูจึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมความรู้ผู้ประกอบการร้านค้าและแกนนำสุขภาพเรื่องการ คุ้มครองผู้บริโภค เพื่อให้ประชาชนและผู้ประกอบการร้นอาหาร แผงลอย ร้านค้า มีความรู้ในการเลือกสินค้ามาใช้ อุปโภคและบริโภคได้อย่างปลอดภัย

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเพิ่มครัวเรือนที่มีอาหารครบ 5 หมู่ (ผัก ผลไม้ ไขมัน ข้าว แป้ง เนื้อสัตว์) ครบ 3 มื้อ

ร้อยละของครัวเรือนที่มีอาหารครบ 5 หมู่ ครบ3 มื้อ เพิ่มขึ้น

74.00 86.00
2 ลดสารเคมีตกค้างในเลือดของเกษตรกร

ร้อยละของเกษตรกรที่ตรวจพบสารเคมีตกค้างในเลือด เกินมาตรฐานความปลอดภัย ลดลงเหลือ

36.50 22.00
3 เพื่อเพิ่มครัวเรือนที่ทำการเกษตรแบบปลอดภัย/อินทรีย์

ร้อยละครัวเรือนที่ทำการเกษตรแบบปลอดภัย/อินทรีย์ เพิ่มขึ้น

22.96 33.00
4 เพื่อเพิ่มพื้นที่ผลิตอาหาร (ข้าว ผัก ผลไม้)

ร้อยละพื้นที่ผลิตอาหาร (ข้าว ผัก ผลไม้) ต่อพื้นที่เกษตรทั้งหมด เพิ่มขึ้น

74.00 80.00
5 ลดการปนเปื้อนสารเคมีในอาหาร

ร้อยละของตัวอย่างอาหารที่ตรวจพบสารปนเปื้อน 6  ชนิด มีสารเคมีตกค้างในอาหาร ลดลงเหลือ

70.00 85.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 175 30,000.00 2 30,000.00
20 เม.ย. 63 อบรมให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการร้านค้า แผงลอย แกนนำสุขภาพ อสม 140 25,000.00 25,000.00
21 - 24 เม.ย. 63 ตรวจสารปนเปื้อนในอาหาร ร้านชำ แผงลอย จำหน่ายอาหาร 35 5,000.00 5,000.00

๑.ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พร้อมทั้งจัดตั้งไลด์กลุ่มคุ้มครองผู้บริโภค ๒.จัดทำสื่อให้ความรู้ผู้ประกอบการร้านค้า แผงลอย แกนนำสุขภาพ และอสม.เรื่องงานคุ้มครอง ต.เก็บตัวอย่างอาหารตรวจสอบสารปนเปื้อนอาหารจากร้านค้า แผงลอย ร้านขายของชำในหมู่บ้าน ตามมาตรฐานหลักสุขาภิบาลอาหารและงาน คุ้มครองผู้บริโภค ในรูปแบบสติ๊กเกอร์ แผ่นพบ กระเป๋า แจกเอกสารความรู้ให้กับร้านค้า แผงลอย ร้านขายของชำ ๔.รายงานผลการสุ่มตรวจสารอาหารปนเปื้อนให้ร้านค้า แผงลอย ร้านขายของชำทราบทางไลด์กลุ่ม ๕.เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ข่าวสารด้านงานคุ้งครองผู้บริโภคให้ประชาชนรับทราบโดยกลุ่มแกนนำ และผู้ประกอบกสนร้านค้า/แผงลอย โดยการสื่อสารทางไลด์กลุ่ม ๖.สรุปผลการดำเนินงาน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ร้านจำหน่ายอาหารในเขตตำบลเกาะขนุนได้รับการตรวจอาหารและได้มาตรฐานได้รับป้ายอาหารปลอดภัย
  2. ผู้บริโภคอาหารได้ใช้ผลิตภัณฑ์ และบริโภคอาหารที่ปลอดภัยจากสารปนเปื้อน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 23 มี.ค. 2564 10:13 น.