กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการสะพานไม้แก่นรณรงค์ป้องกันไวรัสโควิด-19 ปีงบประมาณ 2564
รหัสโครงการ 64-L5187-01-13
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสะพานไม้แก่น
วันที่อนุมัติ 10 กุมภาพันธ์ 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 25 มีนาคม 2564 - 31 ธันวาคม 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 31 มกราคม 2565
งบประมาณ 77,310.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวฟารีนา วงศ์หมัดทอง เจ้าพนักงานสาธารณสุขชำนาญงาน
พี่เลี้ยงโครงการ นายธนพนธ์ จรสุวรรณ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลสะพานไม้แก่น อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.826,100.783place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 976 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

ระบุ

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ต้นตอของไวรัสน่าจะมาจากการที่ไวรัสจากสัตว์ตัวกลางระบาดมาสู่คน ผู้ป่วยรายแรกเท่าที่ทราบกันเริ่มมีอาการตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2562 และไม่มีความเชื่อมโยงกับตลาดต้องสงสัยในเมืองอู่ฮั่น ประเทศจีน แต่ผู้ป่วยหลายรายอาจมีมาตั้งแต่ช่วงกลางเดือนพฤศจิกายนหรือก่อนหน้านั้น มีการเก็บตัวอย่างจากสิ่งแวดล้อมในตลาดไปส่งตรวจและพบเชื้อไวรัส และพบมากที่สุดในบริเวณที่ค้าสัตว์ป่าและสัตว์เลี้ยงในฟาร์ม ตลาดอาจเป็นต้นกำเนิดของไวรัส หรืออาจมีบทบาทในการขยายวงของการระบาดในระยะเริ่มแรก โรคโควิด-19 นี้โดยหลักแล้ว แพร่จากคนสู่คนผ่านทางฝอยละอองจากจมูกหรือปากซึ่งขับออกมาเมื่อผู้ป่วยไอหรือจาม เรารับเชื้อได้จากการหายใจเอาฝอยละอองเข้าไปจากผู้ป่วย หรือจากการเอามือไปจับพื้นผิวที่มีฝอยละอองเหล่านั้นแล้วมาจับตามใบหน้า ระยะเวลานับจากการติดเชื้อและการแสดงอาการ (ระยะฟักตัว) มีตั้งแต่ 1-14 วัน และมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 5-6 วัน เกิด 97 % ของผู้ป่วยเริ่มมีอาการภายใน 14 วัน งานวิจัยระบุว่า เด็กและคนหนุ่มสาวติดเชื้อและแพร่เชื้อได้ อย่างไรก็ตาม เด็กมักจะไม่มีอาการรุนแรง ความเสี่ยงต่ออาการรุนแรงของโรคเพิ่มขึ้นตามอายุ และในผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น ความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคระบบทางเดินหายใจเรื้อรัง และโรคมะเร็ง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสะพานไม้แก่น ได้เห็นความสำคัญของปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการสะพานไม้แก่นร่วมใจให้บริการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด -19 ปีงบประมาณ 2564 ขึ้น เพื่อลดการติดเชื้อจากไวรัสโควิด-19 การปฏิบัติตัว และความเข้าใจในวัคซีน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจแก่ผู้นำสุขภาพ อสม. ผู้นำชุมชนและกลุ่มเป้าหมาย

จากการสอบถามปัญหาระหว่างชี้แจงให้ความรู้เกี่ยวกับวัคซีนป้องกันโรค โควิด 19

0.00
2 เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายที่ได้รับการอบรมแล้วเผยแพร่ความรู้ ข้อมูล ข่าวสาร ทางด้านสุขภาพทั้งในครอบครัวและชุมชนได้

จากความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมชี้แจงให้ความรู้เกี่ยวกับวัคซีนป้องกันโรค โควิด 19

0.00
3 ให้ตระหนักถึงความร้ายแรงของการติดต่อของโรค และนำไปปฏิบัติตัวอย่างถูกต้อง

 

0.00
4 ความเข้าใจตรงกันของตัววัคซีน ผลที่ได้รับ และประโยชน์

ยินยอมรับบริการฉีดวัคซีนป้องกันโรค โควิด19

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 1001 77,310.00 2 53,310.00
19 - 30 เม.ย. 64 จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์รณรงค์เรื่องการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 25 9,390.00 9,390.00
26 เม.ย. 64 - 7 พ.ค. 64 อบรมให้ความรู้เรื่องการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019 ชี้แจงขั้นตอนการฉีดวัคซีนและให้บริการฉีดวัคซีน 976 67,920.00 43,920.00
  1. รณรงค์เรื่องการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) ดำเนินการ ผลิตสื่อ ประชาสัมพันธ์เพื่อให้ประชาชนรับรู้ข้อมูล สถานการณ์ผ่านช่องทางต่างๆ
  2. จัดอบรมให้ความรู้กับประชาชนในการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนส 2019 จำนวน 10 รุ่น รุ่นละ 97-98 คน พร้อมให้บริการฉีดวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ตามความสมัครใจ
  3. สนับสนุนการดำเนินงานเฝ้าระวัง สอบสวนและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โดยจัดหาวัสดุ อุปกรณ์ป้องกันการติดเชื้อ ตามแนวทางในการสอบสวนโรคและควบคุมโรค ของกรมควบคุมโรคกระทรวงสาธารณสุข
  4. การจัดหาวัสดุอุปกรณ์ในการป้องกันโรคไวรัสโคโรนา 2019
  5. ติดตามสถานการณ์ เฝ้าระวังสถานการณ์และแจ้งให้ประชาชนทราบเป็นระยะ
  6. สรุปผลการดำเนินงาน
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ผู้นำสขภาพ อสม. ผู้นำชุมชน และกลุ่มเป้าหมาย มีความรู้ ความเข้าใจ และนำไปปฏิบัติ 2. กลุ่มเป้าหมายที่ได้รับการอบรมแล้วสามารถเผยแพร่ความรู้ ข้อมูลข่าวสารทางด้านสุขภาพทั้งในครอบครัวและชุมชนได้ 3. มีความตระหนักถึงความร้ายแรงของการติดต่อของโรค และนำไปปฏิบัติตัวอย่างถูกต้อง 4. มีความเข้าใจตรงกันของตัววัคซีน ผลที่ได้รับ และประโยชน์

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 23 มี.ค. 2564 10:50 น.