กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการร่วมมือร่วมใจกำจัดลูกน้ำยุงลาย ป้องกันภัยไข้เลือดออกในโรงเรียน
รหัสโครงการ 64-L2511-2-25
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงเรียนบ้านบากง
วันที่อนุมัติ 29 มีนาคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กรกฎาคม 2564 - 31 สิงหาคม 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2564
งบประมาณ 15,300.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางประณีต สุริยงค์
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาวซากีนา ดอเล๊าะ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลรือเสาะ อำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานขยะ , แผนงานยาสูบ , แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 230 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

หลักการและเหตุผล
โรคไข้เลือดออกนับเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทยตลอดมา เพราะไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อโดยมียุงลายเป็นพาหะ ที่สร้างความสูญเสียชีวิต ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลและความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ เนื่องจากโรคนี้มีแนวโน้มการระบาดในช่วงฤดูฝนของทุกปี และพบว่าประชากรที่ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกมากที่สุด ได้แก่ กลุ่มเด็กวัยเรียนที่มีอายุตั้งแต่ 3 –๑2 ปี ดังนั้นการดำเนินงานควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกให้ประสบผลสำเร็จและเกิดประสิทธิภาพนั้น จำเป็นต้องระดมความร่วมมือจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในการกำจัดลูกน้ำยุงลายที่เป็นพาหะนำโรคและรณรงค์ให้ทุกคนตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาโรคไข้เลือดออกและร่วมมือกันเฝ้าระวังป้องกันการแพร่ระบาดของโรคนี้ กรมควบคุมโรคได้เตรียมความพร้อมรับการระบาดโดยได้กำหนดยุทธศาสตร์ และมาตรการในการควบคุมโรค ระยะแรกมีการประชุมปฏิบัติการโรคไข้เลือดออกยุงลายเป็นตัวพาหะนำโรค เพื่อเร่งรัดการเฝ้าระวังโรคสกัดกั้นการแพร่ระบาด การป้องกันและควบคุมโรค การดูแลผู้ป่วย การเผยแพร่ความรู้ส่งเสริมบทบาทการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก เพื่อให้ประชาชนมีความเข้มแข็งยิ่งขึ้น สามารถรับมือกับโรคไข้ไข้เลือดออก ที่ยุงลายเป็นตัวพาหะนำโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพซึ่งผลการดำเนินงานจะช่วยลดโรคไข้เลือดออกด้วย สำหรับการป้องกันควบคุมโรค ที่สำคัญคือ ประชาชน ชุมชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องมีส่วนร่วมในการดูแลสิ่งแวดล้อมให้สะอาด และสามารถป้องกันการติดเชื้อ และลดการแพร่ระบาดโรคไข้เลือดออกได้ โรงเรียนเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนและสังคม นอกจากให้ความรู้ในด้านต่างๆ แก่นักเรียนแล้วยังต้องมีหน้าที่รับผิดชอบดูแลสุขภาพพลานามัยให้สมบูรณ์อยู่เสมอ ดังนั้นเพื่อเป็นการเฝ้าระวังและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก ทางโรงเรียนบ้านบากง จึงได้จัดทำโครงการ โรงเรียนร่วมใจ ต้านภัยไข้เลือดออก ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในโรงเรียน

ร้อยละ 90 นักเรียนไม่ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก

230.00 200.00
2 เพื่อกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายและกำจัดลูกน้ำยุงลาย

ร้อยละ 100 ไม่มีแหล่งเพาะพันธ์ลูกนำ้ยุงลายในโรงเรียน

5.00 4.00
3 เพื่อให้นักเรียนและบุคลากรมีความรู้ ความเข้าใจ ในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกที่ถูกวิธี

ร้อยละ 95 นักเรียนมีความรู้เกี่ยวกับโรคไข้เลือดออก

230.00 230.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 15,300.00 1 15,300.00
1 ก.ค. 64 - 31 ส.ค. 64 อบรมให้ความรู้ โรคไข้เลือดออก 0 15,300.00 15,300.00
1 ก.ค. 64 - 31 ส.ค. 64 กำจัดแหล่งเพาะพันธ์ุลูกน้ำยุงลาย 0 0.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1 โรงเรียนมีทีมนักเรียนที่สามารถเฝ้าระวัง และป้องกันโรคไข้เลือดออก 2 สามารถควบคุมมิให้มีการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 23 มี.ค. 2564 00:00 น.