กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการแก้ปัญหาภาวะโภชนาการและการขาดโภชนาการเด็ก
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 3 สนับสนุนการจัดกิจกรรมของ ศูนย์เด็กเล็ก/ผู้สูงอายุ/คนพิการ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลเชิงแส
วันที่อนุมัติ 2 พฤษภาคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2560 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 11,275.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเชิงแส อำเภอกระแสสินธุ์ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.561,100.356place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ) ปัจจุบันประเทศไทยกำลังเผชิญทั้งปัจจุบันปัญหาภาวะโภชนาการเกินและภาวะขาดสารอาหารในเวลาเดียวกันโดยเฉพาะในวัยเด็กผลกระทบอันเกิดจากภาวะผอมและเตี้ยของเด็กไทยจะส่งผลต่อภาวะไอคิวของเด็กไทยที่มีค่าเฉลี่ยเพียง98.59แม้ว่าจะจัดอยู่ในเกณฑ์ปกติแต่ค่อนข้างไปทางต่ำกว่าค่ากลางมาตรฐานสากลซึ่งควรจะมีไอคิวอยู่ที่100ในขณะที่เด็กเกาหลีใต้ , ญี่ปุ่น ,จีนและสิงคโปร์อยู่ที่105-108 ส่วนผลกระทบความอ้วนในเด็กพบว่าเด็กไทยที่อ้วนเกินครึ่งมีภาวะไขมันในเลือดสุงกว่าปกติและหนึ่งในสามของเด็กอ้วนจะมีภาวะความดันโลหิตสูงและน้ำตาลในเลือดสูงที่สำคัญเด็กที่อ้วนจะมีโอกาสโตเป็นผู้ใหญ่อ้วนสูงถึงร้อยละ30เมื่อผู้ใหญ่อ้วนจะตามด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังสาเหตุสำคัญที่ทำให้เด็กไทยวัยเรียนผอมเตี้ยหรืออ้วนเพราะพฤติกรรมทางโภชนาการและสุขภาพที่ไม่พึงประสงค์ซึ่งจากการสำรวจโภชนาการเด็กไทยวัย6-14ปีจำนวน1ใน5คนกินอาหารไม่ครบ3 มื้อโดยเฉพาะมื้อเช้ามีมากถึงร้อยละ60ที่ไม่ได้กินเด็กวัย6-14ปีร้อยละ68และ55กินผักและผลไม้น้อยกว่า1ส่วนต่อวันตามลำดับในขณะที่เด็กไทย1ใน3กินอาหารแป้งไขมันน้ำตาลและโซเดียมสูงเป็นประจำที่น่าตกใจเด็กไทยวัยเรียนร้อยละ49.6กินขนมกรุบกรอบเป็นประจำซึ่งขนมกรุบกรอบส่วนมากจะมีไขมันน้ำตาลโซเดียมและให้พลังงานสูงส่วนอาหารกลางวันมีเด็กวัยเรียนจำนวนไม่น้อยที่ไม่น้อยที่ไม่ได้กินถึงได้กินแต่เป็นอาหารกลางวันที่ขาดคุณภาพและไม่เพียงพอส่งผลให้เด็กไทยมีปัญหาภาวะทุพโภชนาการทั้งขาดและเกินผลกระทบของการได้รับสารอาหารไม่เพียงพอจะส่งผลให้เด็กมีการเจริญเติบโตและพัฒนาการด้านร่างกายและสติปัญญาที่ช้าไม่เต็มตามศักยภาพที่ควรจะเป็น ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านเชิงแส รับเด็กอายุ 2ปี 5 เดือน ถึง 4ปี ปัจจุบันมีเด็กจำนวน 56 คน เด็กร้อยละ 50 ของจำนวนเด็กใน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านเชิงแสอยู่กับกับย่าหรือยายเป็นผู้เลี้ยงดู จากการตรวจสุขภาพของเด็กของโดยเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลกระแสสินธุ์และการนำโปรแกรม Inmu-Schoo-Shortcut มาใช้ทำให้ทราบข้อมูลภาวะโภชนาการเด็ก ที่ขาดสารอาหาร มีโภชนาการไม่สมวัยและยังมีเด็กที่ขาดสารอาหารเป็นจำนวน11 คนและเด็กบางคนไม่ชอบรับประทานผักผลไม้เพื่อปรับนิสัยการรับประทานอาหารของเด็ก เพื่อกระตุ้นให้ผู้ปกครองใส่ใจให้ความสำคัญกับการเจริญเติบโตและพัฒนาการของเด็กสมวัย เด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านเชิงแสได้เรียนรู้ ได้ฝึกปฏิบัติเอง ปลูกเองรับประทานเอง และสร้างเครือข่ายไปยังผู้ปกครองในชุมชนปลูกผัก ผลไม้โดยใช้ปุ๋ยอินทรีย์เกิดความปลอดภัย เด็กและผู้ปกครองต่างมีส่วนช่วยในการกระตุ้นซึ่งกันและกันให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพตลอดจนลดการบริโภคน้ำหวานลงและเพิ่มการบริโภคผักผลไม้มากขึ้นซึ่งจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมด้านสุขภาพที่ดีของนักเรียนต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

วิธีดำเนินการ (ออกแบบให้ละเอียด) 1.1 ประชุมและแต่งตั้งคณะทำงาน 1.2 ประชุมเพื่อวางแผนการทำงาน 1.3 แบ่งบทบาทหน้าที่คณะทำงาน 2.จัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ในการทำโครงการ 2.1ท่อชีเมนต์ 2.2ดิน 2.3เมล็ดพันธ์ผัก 2.4ปุ๋ยคอก 2.5แกลบ 2.6บัวรดน้ำผัก 2.7บุ้งกี้ 2.8ทำป้ายไวนิล 3.ประชุมผู้ปกครอง 3.1อบรมผู้ปกครองเกี่ยวกับการกินอาหารของเด็กโดยเจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาลกระแสสินธุ์จำนวน2ท่าน 3.2สาธิตวิธีการผสมดินในการปลูกผักโดยคุณครูเป็นผู้สาธิต 3.3ให้ผู้ปกครองและเด็กได้ลงมือทำพร้อมกับใส่ดินลงในท่อชีเมนต์ 4.ปลูกผักโดยให้นักเรียน ครู ผู้ปกครอง ช่วยกันปลูก 5.ส่งเสริมการเรียนรู้เรื่องการบริโภคผักผลไม้ 5.1 กิจกรรมเสริมสร้างการเรียนรู้การบริโภคผักผลไม้เช่นมีการวาดภาพผักผลไม้และระบายสีภาพผักผลไม้เป็นต้น 5.2 จัดทำป้ายไวนิลส่งเสริมการจัดทำโครงการการปลูกผักผลไม้ 6.จัดทำรายการอาหารกลางวันในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านเชิงแส 6.1ครูและแม่ครัวร่วมจัดทำรายการอาหารกลางวันที่สอดคล้องกับผลผลิตทางการเกษตรของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านเชิงแส 6.2จัดให้มีร้านค้าขายผักในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านเชิงแส 7.การติดตามประเมินผล 7.1 ติดตามการจัดเมนูอาหารทุกวันเพื่อวัดผลลัพธ์เรื่องการรับประทานอาหารของเด็กที่ขาด สารอาหาร

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เด็กและผู้ปกครองได้รับความรู้ภาวะโภชนาการในเด็กปฐมวัย และประโยชขน์ของการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการบริโภค
  2. เกิดกระบวนการเรียนรู้และมีทัศนคติที่ดีเรื่องการกินผักและผลไม้
  3. เกิดหลักสูตรโรงเรียนเรื่องเกษตรหรือผักผลไม้
  4. เด็กรู้จักประโยชน์ของการรับประทานผักผลไม้
  5. เด็กรู้จักวิธีการปลูกผักปลอดสารพิษไว้รับประทานเอง
  6. ครูบุคลากรในศูนย์เด็กเล็กบ้านเชิงแสและชุมชนมีส่วนร่วมในโครงการ
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 27 ก.ค. 2560 14:30 น.