กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

directions_run

โครงการพัฒนาศูนย์เด็กเล็กน่าอยู่ สู่ศูนย์เด็กเล็กปลอดโรค ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในตำบลฝาละมี อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง ประจำปี 2560

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการพัฒนาศูนย์เด็กเล็กน่าอยู่ สู่ศูนย์เด็กเล็กปลอดโรค ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในตำบลฝาละมี อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง ประจำปี 2560
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 3 สนับสนุนการจัดกิจกรรมของ ศูนย์เด็กเล็ก/ผู้สูงอายุ/คนพิการ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ สำนักงานเลขาฯกองทุน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ อบต.ฝาละมี
วันที่อนุมัติ 24 กรกฎาคม 2017
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 สิงหาคม 2017 - 31 สิงหาคม 2018
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 200,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ กองการศึกษา อบต.ฝาละมี
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลฝาละมี อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.371,100.261place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ประเทศไทยในแต่ละปีมีเด็กเกิดใหม่ จำนวน 700,000 กว่าคน จึงมีเด็กก่อนวัยเรียนที่มีอายุต่ำกว่า 5ปี จำนวนเกือบ 4 ล้านคน ซึ่งในกลุ่มเด็กที่มีอายุระหว่าง 2 ปี ครึ่ง - 5 ปี ร้อยละ50 หรือประมาณเกือบ 2 ล้านคน จากสถานภาพสังคมและเศรษกิจในปัจจุบันที่เปลี่ยนแปลงไปทำให้ผู้ปกครอง ส่วนใหญ่ไม่มีเวลาที่จะเลี้ยงดูบุตรหลานด้วยตนเอง จึงนิยมนำบุตรหลานไปฝากเลี้ยงที่ศููนย์เด็กเล็ก (Nursery) เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนเข้าโรงเรียน ดังนั้นศูนย์เด็กเล็ก จึงเป็นสถานที่ที่เด็กอยู่รวมกันเป็นจำนวนมาก เมื่อเจ็บป่วยจะแพร่เชื้อโรคสู่เด็กอื่นได้ง่าย เนื่องจากเด็กเล็กมีภูมิคุ้มกันต่ำจึงมีโอกาสป่วยได้บ่อย โดยเฉพาะโรคติดต่อที่สำคัญและพบบ่อย ได้แก่ โรค ไข้เลือดออก โรคมือเท้าปาก โรคอุจาระร่วงเฉียบพลัน เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีโรคติดเชื้อที่สำคัญอื่นๆ ซึ่งสามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีน เช่น หัดเยอรมัน คางทูม คอตีบ ไอกรน เป็นต้น โดยจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพและพัฒนาการโดยรวมของเด็ก ในปี พ.ศ.๒๕๕๙ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในตำบลฝาละมี มีเด็กที่ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก จำนวน ๑๓ ราย โรคมือ เท้า ปาก จำนวน ๑๕ ราย และโรคอุจาระร่วง จำนวน ๒๓ ราย ซึ่งจะเห็นได้ว่า เด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในตำบลฝาละมี ยังมีความเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยด้วยโรคที่ป้องกันได้ ในระดับสูง ซึ่งการดำเนินงานการป้องกันควบคุมโรคในศูนย์เด็กเล็กให้มีประสิทธิภาพจึงเป็นสิ่งที่จำเป็น และมีความสำคัญอย่างยิ่ง ในการช่วยลดการเกิดและแพร่กระจายของโรคติดต่อดังกล่าว โดยครูผู้ดูแลเด็กเป็นบุคลากรที่มีความสำคัญอย่างยิ่งที่จะพัฒนาให้ศูนย์เด็กเล็กปลอดภัยจากโรคต่างๆ เนื่องจากเป็นผู้ที่อยู่ใกล้ชิดเด็กมากที่สุดในช่วงที่เด็กอยู่ในศูนย์เด็กเล็ก อีกทั้งเป็นผู้มีอิทธิพลต่อการดูแลและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ และส่งเสริมพัฒนาการด้านต่างๆ ของเด็กและสิ่งสำคัญอีกประการที่จะช่วยให้การดำเนินงานเฝ้าระวังป้องกัน ควบคุมโรคติดต่อในศูนย์เด็กเล็กประสบความสำเร็จได้ เกิดจากความตระหนัก ความร่วมมือของบุคลากรทุกภาคส่วนและทุกระดับ ทั้งพ่อแม่ ผู้ปกครอง ครูผู้ดูแลเด็ก ในการส่งเสริมสนับสนุนการดำเนินงานขอศูนย์เด็กเล็กอย่างเข้มแข็ง
กองการศึกษาฯ ตำบลฝาละมีมีครูผู้ดูแลเด็กจำนวน ๓๑ คน และมีเด็กทั้งหมด ๓๓๕ คน ซึ่งยังต้องมีการพัฒนาองค์ประกอบต่างๆ ให้ได้ตามเกณฑ์มาตรศูนย์เด็กเล็กคุณภาพ เพื่อส่งเสริมให้เด็กได้รับบริการส่งเสริมสุขภาพครอบคลุมทุกด้าน อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่สะอาดปลอดภัย เอื้อต่อการมีสุขภาพกายและใจดี ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในตำบลฝาละมี ได้เล็งเห็นความสำคัญของการดำเนินงานเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุม โรคในศูนย์เด็กเล็ก ซึ่งเปรียบเสมือนปราการสำคัญที่จะช่วยลดการติดเชื้อที่อาจเกิดขึ้นในเด็ก จึงได้จัดทำโครงการ พัฒนาศูนย์เด็กเล็ก สู่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กปลอดโรค ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในตำบลฝาละมี ขึ้นเพื่อเป็นการศึกษาและพัฒนารูปแบบการพัฒนาศูนย์พัฒนาเด็กที่ได้มาตรฐานต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อครูผู้ดูแลเด็ก ผู้ปกครองเด็ก มีความรู้และตระหนักถึงความสำคัญของการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคของเด็ก ในศูนย์เด็กเล็ก

 

2 2.เพื่อส่งเสริมทักษะการดูแลตนเองที่จำเป็นสำหรับเด็ก

 

3 3.เพื่อปรับปรุงสภาพแวดล้อมในศูนย์เด็กเล็ก ให้ปลอดภัย ปลอดโรค

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

1.จัดหาอุปกรณ์สำหรับการควบคุมและป้องกันโรคที่พบบ่อย 2.จัดกิจกรรมประชุมปฏิบัติการการป้องกันและควบคุมโรคที่พบบ่อยแก่ครูและผู้ปกครอง 3.ศูนย์เด็กเล็กประเมินตนเองตามมาตรฐานศูนย์เด๋กเล็กคุณภาพ 4.ศูนย์เด็กเล็กร่วมกับชุมชนในการพัฒนาสิ่งแวดล้อม ภายในศูนย์เด็กเล็ก ให้ปลอดภัย ปลอดโรค เช่น การกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือแหล่งเพาะพันธ์พาหะนำโรค ปรับปรุงห้องนอน ปรับปรุงสนามเด็กเล่น ปรุบปรุงโรงครัว โรงอาหาร ให้เหมาะสม 5.ร่วมกับครูผู้ดูแลเด็ก จัดกิจกรรม เสริมทักษะการดูแลตนเองให้ปลอดโรค ได้แก่ ทักษะการล้างมือ ทักษะการแปลงฟัน การเลือกกินอาหารที่ถูกต้อง 6.ประเมินมาตรฐานศูนย์เด็กเล็กคุณภาพ 7.สรุปผลการดำเนินงาน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ครูผู้ดูแลเด็ก ผู้ปกครองเด็ก มีความรู้ และตระหนักถึงความสำคัญของการส่งเสริมสุขภาพ และป้องกันโรคของเด็ก ในศูนย์เด็กเล็ก 2.เด็กมีทักษะการดูแลตนเองที่จำเป็นที่ถูกต้อง 3.ศูนย์เด็กเล็กมีสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัย ปลอดโรค 4.ลดอัตราป่วยโรคไข้เลือดออก และโรค มือ เท้า ปาก จากปีที่ผ่านมา

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 27 ก.ค. 2017 15:00 น.