กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการพัฒนาตำบลดูแลผู้สูงอายุระยะยาว (Long Term Care)
รหัสโครงการ 2564/L1465/1/02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโคกยาง
วันที่อนุมัติ 11 มีนาคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 11 มีนาคม 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2564
งบประมาณ 29,500.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายวิจิตร เรืองแสนสกุล
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลโคกยาง อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.509,99.48place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานผู้สูงอายุ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 11 มี.ค. 2564 30 ก.ย. 2564 295,578.00
รวมงบประมาณ 295,578.00

คำเตือน : รวมงบประมาณของทุกงวด (295,578.00 บาท) ไม่เท่ากับ งบประมาณโครงการ (29,500.00 บาท)

stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 24 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ 36 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุของประเทศไทย จากข้อมูลพบว่าขนาดหรือจำนวนประชากรรวม และประชากรสูงอายุเพิ่มขึ้นจากในปี พ.ศ.2503 จนถึงปัจจุบันและมีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นต่อไปในอนาคต โดยประชากรผู้สูงอายุหรือประชากรที่มีอายุ 60 ปี ขึ้นไป เพิ่มจาก 1.5 ล้านคน ในปี พ.ศ. 2503 เป็น 7.5 ล้านคน ในปี พ.ศ. 2553 และคาดว่าจะเพิ่มถึง 17.7 ล้านคน ในปี พ.ศ.2573 เมื่อมองถึงสัดส่วนประชากรวัยสูงอายุเพิ่มขึ้นเป็นลำดับเช่นกัน โดยในปี พ.ศ. 2550 ประมาณ 1 ใน 10 ของประชากรไทยจะเป็นผู้สูงอายุ และภายในปี พ.ศ. 2573 คาดประมาณกันว่าสัดส่วนดังกล่าวจะเพิ่มเป็น 1 ใน 4 ในขณะที่แนวโน้มผู้สูงอายุอยู่คนเดียวหรืออยู่ลำพังกับคู่สมรสเพิ่มมากขึ้น โดยพบว่าผู้สูงอายุคนเดียวเพิ่มจากร้อยละ 3.6 ในปี พ.ศ. 2537 เป็นร้อยละ 7.6 ในปี พ.ศ. 2550 ซึ่งมีผลต่อการให้การดูแลผู้สูงอายุทั้งทางร่างกายและจิตใจ อายุยิ่งเกิดการเสื่อมถอยของร่างกาย พบว่าผู้สูงอายุเกินครึ่ง (ร้อยละ 57.7) มีปัญหาด้านการมองเห็น การได้ยิน การหกล้ม จากปัญหาสุขภาพผู้สูงอายุดังกล่าว ทำให้มีค่าใช้จ่ายสูงในการดูแลรักษาพยาบาล การส่งเสริมสุขภาพและการป้องกันโรคในผู้สูงอายุที่ยังมีสุขภาพดี ให้มีสุขภาพแข็งแรงเพื่อยืดเวลาที่จะเกิดการเจ็บป่วยเรื้อรังต่อไป และในผู้สูงอายุที่เจ็บป่วยให้หายหรือทุเลาจากการลดการเกิดความพิการหรือทุพพลภาพ และยืดเวลาของการเข้าสู่ภาวะทุพพลภาพออกไป การเตรียมการเพื่อรองรับสภาพปัญหาของผู้สูงอายุ     โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโคกยาง มีผู้สูงอายุ จำนวน 594 คน คิดเป็นร้อยละ 15.07 พบว่าเป็นผู้สูงอายุติดสังคม ร้อยละ 94.95 และเป็นผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงกลุ่มติดบ้าน ร้อยละ 3.54 ติดเตียงร้อยละ 1.56 เพื่อเป็นการรองรับสังคมผู้สูงอายุ การพัฒนาระบบบริการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวและผู้สูงอายุที่ต้องการการพึ่งพิงจึงเป็นสิ่งสำคัญเร่งด่วน กลไกที่สำคัญ คือ การพัฒนาตำบลดูแลสุขภาพผู้สูงอายุระยะยาว ซึ่งมีองค์ประกอบที่สำคัญคือจะต้องมีข้อมูลผู้สูงอายุ เพื่อวางแผนการดูแลช่วยเหลือ มีผู้ดูแลผู้สูงอายุในชุมชน มีการเยี่ยมดูแลผู้สูงอายุที่บ้านโดยทีมหมอครอบครัว เพื่อให้ผู้สูงอายุเข้าถึงบริการสุขภาพอย่างถ้วนหน้า เท่าเทียม และมีคุณภาพชีวิตที่ดี     โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโคกยาง ตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาดังกล่าวจึงได้ดำเนินการโครงการพัฒนาตำบลดูแลผู้สูงอายุระยะยาว (Long Term Care) เพื่อการดูแลผู้สูงอายุ ผู้พิการ และผู้ที่มีภาวะพึ่งพิงในชุมชน ขึ้นเพื่อตอบสนองดัชนีวัดตามแผนผู้สูงอายุแห่งชาติ ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2545-2564) ยุทธศาสตร์การพัฒนาสุขภาพผู้สูงอายุของกระทรวงสาธารณสุข รวมถึงนโยบายสำคัญของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข การพัฒนาศักยภาพผู้ดูแลผู้สูงอายุให้เป็นผู้มีความรู้ความเข้าใจ สามารถปฏิบัติดูแลสุขภาพผู้สูงอายุได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป จึงได้จัดทำโครงการพัฒนาตำบลดูแลผู้สูงอายุระยะยาว (Long Term Care) เพื่อการดูแลผู้สูงอายุ ผู้พิการ และผู้ที่มีภาวะพึ่งพิงในชุมชน เพื่อพัฒนาระบบการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวโดยเน้นการดำเนินงานแบบครอบครัว ชุมชน ท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการดูแลผู้สูงอายุ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้ดูแลผู้สูงอายุมีความรู้ ความเข้าใจเรื่องการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุและปฏิบัติต่อผู้สูงอายุอย่างมีประสิทธิภาพ

ร้อยละ 80 ของผู้ดูแลผู้สูงอายุและแกนนำ อสม. มีความรู้ความเข้าใจเรื่องการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุและปฏิบัติต่อผู้สูงอายุได้อย่างถูกต้อง

80.00
2 ผู้สูงอายุทุกคนได้รับการคัดกรองอย่างมีระบบส่งเสริม ป้องกัน ฟื้นฟูและการดูแลระยะยาวให้สามารถดำรงชีวิตอย่างมีศักดิ์ศรี

ผู้สูงอายุทุกคนได้รับการคัดกรองอย่างมีระบบสามารถและดำรงชีวิตอย่างมีศักดิ์ศรี

80.00
3 ผูู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง (ติดเตียง และติดบ้าน) สามารถเข้าถึงระบบการดูแลระยะยาวที่พึงได้รับได้อย่างเหมาะสมต่อเนื่อง โดยมีการเชื่อมโยงของระบบการดูแล ตั้งแต่สถานพยาบาล ชุมชนและครอบครัว

ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง (ติดเตียง และติดบ้าน) ทุกคน ได้รับการดูแลและเข้าถึงระบบการดูแลระยะยาว

80.00
4 ตำบลโคกยางเป็นตำบลดูแลสุขภาพผู้สูงอายุระยะยาว

ตำบลโคกยางเป็นตำบลดูแลสุขภาพผู้สูงอายุระยะยาว

80.00
5 เพื่อพัฒนาศักยภาพบุคลากรและภาคีเครือข่ายที่ทำงานด้านการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุระยะยาว

ร้อยละ 80 ของบุคลากรและภาคีเครือข่าย มีความรู้ด้านการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุระยะยาว

80.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 60 29,500.00 0 0.00
11 มี.ค. 64 - 30 ก.ย. 64 อบรมเชิงปฏิบัติการผู้ดูแลผู้สูงอายุ (care Giver) และแกนนำ อสม. 60 29,500.00 -
  1. ประชุมคณะกรรมการพัฒนาระบบสุขภาพตำบล เพื่อกำหนดเป็นวาระตำบล
  2. แต่งตั้งคณะทำงานพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุระยะยาว
  3. สำรวจสถานการณ์ปัญหาผู้สูงอายุในพื้นที่และคัดกรองผู้สูงอายุโดยใช้แบบประเมินผู้สูงอายุ 10 ประการ จำนวน 594 คน
  4. คืนข้อมูลและจัดทำแผนการดูแลผู้สูงอายุในระดับตำบล
  5. กำหนดรูปแบบการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุระยะยาว โดยยึดตามมาตรฐานการดูแลผู้สูงอายุ 3 กลุ่ม คือ ติดบ้าน ติดเตียง ติดสังคม
  6. อบรมเชิงปฏิบัติการผู้ดูแลผู้สูงอายุ (care Giver) และแกนนำ อสม.
  7. เยี่ยมบ้านกลุ่มเป้าหมายทุกราย ประเมินความครอบคลุมการได้รับการดูแลตามความจำเป็นในกลุ่มผู้สูงอายุติดบ้านติดเตียง
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เพื่อให้ผู้ดูแลผู้สูงอายุและแกนนำ อสม. มีความรู้ ความเข้าใจเรื่องการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุและปฏิบัติต่อผู้สูงอายุได้ร้อยละ 80
  2. ผู้สูงอายุทุกคนได้รับการคัดกรองอย่างมีระบบ ร้อยละ 100
  3. ผู้สูงอายที่มีภาวะพึ่งพิง (ติดเตียงและติดบ้าน) สามารถเข้าถึงระบบการดูแลระยะยาว ร้อยละ 100
  4. ตำบลโคกยางเป็นตำบลดูแลสุขภาพผู้สูงอายุระยะยาว
  5. บุคลากรและภาคีเครือข่ายที่ทำงานด้านการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุระยะยาวมีความรู้ ร้อยละ 80
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 23 มี.ค. 2564 14:07 น.