กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเด็กกำพร้า เด็กด้อยโอกาส สุขภาพใจสุขภาพกายดีชีวีมีสุข
รหัสโครงการ 64-L8408-2-12
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ คณะกรรมการมัสยิดใหม่นาโต๊ะขุน
วันที่อนุมัติ 14 มกราคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 24 มีนาคม 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 16,450.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายดลเสด สันเกาะ
พี่เลี้ยงโครงการ นายสมนึก อาดตันตรา
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลแป-ระ อำเภอท่าแพ จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 6.855,99.927place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 24 มี.ค. 2564 30 ก.ย. 2564 16,450.00
4 0.00
รวมงบประมาณ 16,450.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 60 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ.2546 ได้ให้ความหมายของคำว่า "เด็ก" หมายความว่า บุคคลซึ่งมีอายุต่ำกว่าสิบแปดปีบริบูรณ์ แต่ไม่รวมถึงผู้ที่บรรลุนิติภาวะด้วยการสมรส และคำว่า "เด็กกำพร้า" หมายความว่า เด็กที่บิดาหรือมารดาเสียชีวิต เด็กที่ไม่ปรากฏบิดามารดาหรือไม่สืบหาบิดามารดาได้ โดยพระราชบัญญัติคุ่มครองเด็ก พ.ศ.2546 มีหลักการสำคัญ คือ การระดมทรัพยากรทุกภาคส่วนเข้ามาร่วมดูแล ปกป้อง คุ้มครองเด็ก เพื่อประโยชน์สูงสุดของเด็ก และส่งเสริมหน้าที่รับผิดชอบของครอบครัว ชุมชน ภาครัฐและภาคเอกชน ในการร่วมมือคุ้มครองเด็ก ตามมาตรา 23 กล่าวคือ "ผู้ปกครองต้องให้การอุปการะเลี้ยงดู อบรม สั่งสอนและพัฒนาเด็กที่อยู่ในความปกครองดูแลของตนตามสมควรแก่ขนบธรรมเนียม แระเภณี และ วัฒนธรรมแห่งท้องถิ่น ทั้งนี้ ต้องไม่ต่ำกว่ามาตรฐานขั้นต่ำตามที่กำหนดในกฏกระทรวง และต้องสวัสดิภาพเด็กที่อยู่ในความปกครองดูแลของตนมิให้ตกอยู่ในภาวะอันน่าจำเกิดอันตรายแก่ร่างกายหรือจิตใจ" ด้วยสภาพทางเศรษฐกิจในปัจุบันของประเทศไทยเกิดการชลอตัว ค่าครองชีพสูงขึ้นแต่รายได้ไม่เพียงพอกับรายจ่าย ทำให้ผู้ปหครองหรือผู้ดูแล ไม่มีเวลาดูแลเอาใจใส่เด็กกำพร้า ทำให้เด็กกำพร้าขาดโอกาสออกมาทำกิจกรรมในตำบล บางรายอาจเกิดการน้อยใจ ถ้าไม่ได้รับการชี้นำแนวทางที่ถูกต้องอาจเกิดปัญหาทางสังคมในภายภาคหน้า   คณะกรรมการมัสยิดในพื้นที่ตำบลแป-ระ อำเภอท่าแพ จังหวัดสตูล ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของปัญหาเด็กกำพร้า เด็กด้อยโอกาส ที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต จึงได้จัดทำโครงการเด็กกำพร้า เด็กด้อยโอกาส สุขภาพใจสุขภาพกายดี ชีวีมีสุข ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณมี.ค. 64เม.ย. 64พ.ค. 64มิ.ย. 64ก.ค. 64ส.ค. 64ก.ย. 64
1 อบรมให้ความรู้ คุณธรรม จริยธรรม และการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ(4 ก.ย. 2564-4 ก.ย. 2564) 16,450.00              
รวม 16,450.00
1 อบรมให้ความรู้ คุณธรรม จริยธรรม และการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 60 16,450.00 1 16,450.00
4 ก.ย. 64 อบรมให้ความรู้ คุณธรรม จริยธรรม และการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ 60 16,450.00 16,450.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1 เด็กกำพร้า เด็กด้อยโอกาส ได้รับความรู้ในเรื่องการส่งเสริม และสนับสนุนการพัฒนาด้านสุขอนามัย 2 เด็กกำพร้า เด็กด้อยโอกาส ในตำบลแป-ระ เห็นคุณค่าของชิวิตและพร้อมที่จพดำรงชีวิตต่อไป 3 เด็กกำพร้า เด็กด้อยโอกาส มีความรู้ความเข้าใจในการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ 4 เด็กกำพร้า เด็กด้อยโอกาส มรกิจกรรมร่วมกัน 5 เด็กกำพร้า เด็กด้อยโอกาส มัคุณธรรม จริยธรรม เป็นคนดีของสังคมและประเทศชาติ

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 24 มี.ค. 2564 09:44 น.