กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเรียนรู้การป้องกันและฟื้นฟูในสถานการณ์โควิด
รหัสโครงการ L3313-2-2
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงเรียนเทศบาลจองถนน(วัดบางแก้ว)
วันที่อนุมัติ 19 มีนาคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กรกฎาคม 2563 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 5,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางหัตถยา เพชรย้อย
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลจองถนน อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.489,100.194place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว , แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง , แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 190 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ในสถานการณ์โควิค ๑๙ ระบาดเราควรเปลี่ยนในทุกๆที่ให้กลายเป็นโรงเรียน เพราะการเรียนณุ้ต้องดำเนินอยู่แม้นักเรียนไม่สามารถเปิดเรียนได้ตามปกติ ในหลายประเทศที่มีประกาศมาตรการปิดโรงเรียน รัฐบาลมักจะออกมาตรการด้านการเรียนรู้มารองรับ ด้วยการเรียนทางไกลรูปแบบต่าง ๆ โดยพิจารณาจากเงื่อนไขความพร้อมด้านอุปกรณ์ ความพร้อมของพ่อ แม่ และความพร้อมตามช่างวัยของเด็ก
โรงเรียนเทศบาลจองถนน(วัดบางแก้ว) ได้เล็งเห้นความสำคัญในการส่งเสริมสุขภาพที่ดีให้แก่เด็ก และบุคลากร จึงได้จัดทำโครงการเรียนรู้การป้องกันและฟื้นฟูในสถานการณ์โควิค ๑๙ จึงเป็นจุดเริ่มต้นของความเป็นอยู่อย่างมีความสุข

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ๑.เพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้ขั้นตอนการล้างมือที่ถูกวิธี ๗ ชั้นตอน

๑.นักเรียนมีความรู้ในการดูแลตนเองและการล้างมือที่ถูกวิธี ในสถานการณ์โควิด ๑๙

0.00
2 ๒. เพื่อให้นักเรียนผลิตน้ำยาล้างมือใช้เอง

๒.นักเรียนผลิตน้ำยาล้างมือใช้เอง

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

๑. ขั้นเตรียม ๑.๑ จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติ ๑.๒ แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานตามโครงการอย.น้อยในโรงเรียน ๑.๓ ประชุมคณะกรรมการเพื่อวางแผนการดำเนินงาน ๑.๔ ศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง ๑.๕ เตรียมเอกสารที่เกี่ยวข้องกับบทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการการดำเนินงาน ๒.ขั้นดำเนินการ ๒.๑ ดำเนินกิจกรรมจัดกิจกรรมการเรียนรู้     - การดูแลตนเองในสถานการณ์โควิด ๑๙     - การล้างมือที่ถูกวิธี     - การทำน้ำยาล้างมือ ๒.๒ จัดทำน้ำยาล้างมือใช้ในโรงเรียน ๓. ขั้นติดตามประเมินผล ๓.๑ ประเมินผลภายในของโรงเรียนโดยใช้กระบวนการ PDCA ๓.๒ โรงเรียนสรุปผลการดำเนินงานโครงการและรายงานผล

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑.นักเรียนมีความรู้ในการดูแลตนเองในสถานการณ์โควิค ๑๙ ๒.เกิดความร่วมมืออันดีระหว่างโรงเรียนและชุมชนในการส่งเสริมสภาวะสุขภาพ

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 24 มี.ค. 2564 10:25 น.