กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการครอบครัวโภชนาการดี สูงสมส่วน สมวัย ปี 2564
รหัสโครงการ 64-L2972-10(1)-2
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านอุแตบือราแง
วันที่อนุมัติ 25 กุมภาพันธ์ 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2564 - 30 กรกฎาคม 2564
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 16,250.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางฟารีฮา เด่นอุดม
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลตะโละดือรามัน อำเภอกะพ้อ จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.603,101.554place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนเป็นเป้าหมายสำคัญของการพัฒนาประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดแนวทางการดำเนินงานเพือให้ประชาชนมีสุขภาวะ (Well-being) ทั้งมิติทางกาย ใจ สังคม และปัญญา (จิตวิญญาณ) และมิติของคน ครอบครัว และสังคมมากขึ้น โดยเริ่มจาวัยต้นของชีวิต คือ เด็ก 0-5 ปี ซึ่งเป็นวัยที่เป็นความสำคัญ เนื่องจากเป็นวัยที่มีการพัฒนาอย่างรวดเร็วทั้งทางด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ สังคม และเป็นวัยที่เริ่มต้นการรับรู้และรับรู้เพื่อเป็นพื้นฐานของช่วงวัยต่อไป ดังนั้รเพื่อให้เด็ก 0-5 ปี มีสุขภาพดีเด็กวัยนี้ควรได้ับการดูแลสุขภาพอย่างเป็นองค์รวมและครอบคลุมทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ การเจริญเติบโตสมส่วนตามวัย พัฒนาการด้านสมองตามวัย การดูแลสุขภาพช่องปากและฟันไม่ให้มีฟันพุ และรับวัคซีนครบตามกำหนดผลการดำเนินงานดูแลสุขภาพกลุ่มเด็กอายุ 0-5 ปี       จากการปรเมิณผลการดำเนินงานตามนโยบายการพัฒนาเด็กก่อนวัยเรียน ตามโครงการ Pattani Smart Kids ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านอุแตบือราแง ตั้งแต่ ตุลาคม 2559 จนถึง ธันวาคม 2563 พบว่า เด็กอายุครบ 30 เดือน จำนวน 21 คน ผ่านเกณฑ์ 4 ด้าน จำนวน 10 คน คิดเป็นร้อยละ 47.62 ไม่ผ่านเกณฑ์ 4 ด้าน 11 คน คิดเป็นร้อยละ 52.38 ที่ไม่ผ่านเกณฑ์ 4 ด้าน พบมากที่สุด คือด้านการเจริญเติบโตช้า คิดเป็นร้อยละ 21.73 มีปัญหาน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ เตี้ย และท้วม       สาเหตุส่วนใหญ่มาจาก ผู้ปกครองหรือผู้เลี้ยงเด็ก ละเลยการจัดการหาอาหารที่ไม่เหมาะสมกับวัย และการเสริมสร้างลักษณะนิสัยการเลือบริโภคอาหารที่ไม่เหมาะสมตั้งแต่เล็ก เช่น ชาเย็น นมเย็น ยำมาม่า ลูกชิ้นไส้กรอกขนมกรุบกรอบ ทำให้เด็กได้รับสาอาหารที่ไม่เพียงพอต่อการเจริญเติบโต ฟันผุง่าย เจ็บป่วยบ่อย ส่งผลกระทบต่อการพํฒนาและการเรียนรู้ของเด็กได้       ดังนั้นการพัฒนาคนให้มีการคุณภาพนั้น จึงต้องเริ่มต้นตั้งแต่วัยเด็กให้มีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรงอยู่เสมอ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านอุแตบือราแง จึงได้จัดทำโครงการแก้ไขภาวะทุพโภชนาการในเด็ก (0-5 ปี) ภายใต้ชื่อโครงการ ครอบครัวโภชนาการดี สูงดีสมส่วน สมวัย ปี 2564 เพื่อเฝ้าระวังดูแลสุขภาพเด็กก่อนวัยเรียน โดยอาศัยความร่วมมือและการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองหรือผู้เลี้ยงดูเด็ก ให้มีความยั่งยืนต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อประเมินและเฝ้าระวังภาวะโภชนาการเจริญเติบโตในเด็ก 0-.5 ปี (Pattani smart kids)

ร้อยละ 95 เด็กเล็ก (Pattani smart kids) ได้รับการชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง

0.00
2 2.เพื่อให้ความรู้แก่ผู้ปกครอง/ผู้ดูแลเด็ก 0-5 ปี ในเรื่องการดูแลเด็กให้มีภาวะโภชนาการสูงดี สมส่วน / ผลกระทบจากภาวะทุพโภชนาการและแนวทางการแก้ไขการเจริญเติบโตช้าในเด็ก

ผู้ปกครอง/ผู้ดูแลเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการและการเจริญเติบโตช้าได้รับความรู้ ร้อยละ 100

0.00
3 3.เพื่อให้เด็ก 0-5 ปี (Pattani smart kids) ที่มีภาวะทุพโภชนาการ ได้รับการดูแลแก้ไข

ร้อยละ 50 ของเด็กเล็ก (Pattani smart kids) ที่มีภาวะทุพโภชนาการและเจริญเติบโตช้า มีความก้าวหน้าเพิ่มขึ้นจากเดิมไมน้อยกว่า 0.3 ก.ก/เดือน

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

ขั้นเตรียมการ 1.รวบรมข้อมูลการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการและการเจริญเติบโตเด็ก (0-5ปี) ของ รพ.สต. เพื่อทราบกลุ่มเป้าหมาย 2.วิเคราะห์ข้อมูล เพื่อนำมาประเมินภาวะทุพโภชนาการ ด้าน ส่วนสูง - อายุ-น้ำหนัก,น้ำหนัก-อายุ เพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาที่ถูกต้อง       ขั้นดำเนินการ 1.ประชุมชี้แจงเจ้าหน้าที่และ อสม.เพื่อวางแผนแนวทางการดำเนินงานและกำหนดหน้าที่รับผิดชอบ 2.ดำเนินการชั่งน้ำหนักและวัดส่วนสูงเด็กเล็ก (0-5ปี) เชิงรุกในชุมชน ทุก 3 เดือน 3.บันทึกผลน้ำหนักและส่วนสูงในทะเบียนเด็กและบันทึกสุขภาพเด็กสีชมพู พร้อมแจ้งผู้ปกครองทราบ 4.เจ้าหน้าวิเคราะห์ข้อมูลจัดทำทะเบียนเด็กที่มีน้ำหนักเกินหรืออ้วน เด็กที่มีน้ำหนักน้อยหรือผอมและเด็กเตี้ย แยกเป็นการเฉพาะ 5.ตรวจประเมินสุขภาพเบื้องต้น เด็กที่มีน้ำหนักเกินหรืออ้วน เด็กที่มีน้ำหนักน้อยหรือผอมและเด็กเตี้ย โดย พยาบาลวิชาชีพประจำ รพ.สต. และหากมีปัญหาส่งต่อแพทย์ เป็นรายกรณี 6.จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ในการเฝ้าภาวะโภชนาการและการเจริญเติบโตของเด็ก และพูดคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการดูแลเด็กจากผู้ปกครองโดยเชิญพ่อแม่เด็กที่มีนำ้หนักเกินหรืออ้วน น้ำหนักน้อยหรือผอม เตี้ย เข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการ และจัดทำ Pre-Post Test โดยวิทยากรจาก รพ. หรือ รพ.สต. มีเนื้อหาดังนี้ (หรือตามหลักสูตรกรมอนามัย) -ความสำคัญของอาหารสำหรับเด็ก และการจัดเมนูอาหารที่เหมาะสมสำหรับเด็กอ้วน และเด็กผอม เตี้ย -วิธีการปรับพฤติกรรมและนิสัยการกินของเด็ก -ความสำคัญของการเล่นและการออกกำลังกาย -วิธีการกระตุ้นให้เด็กเล่นและลดพฤติกรรมอยู่นิ่ง -การเป็นแบบอย่างที่ดีแก่เด็ก 7.แนะนำผู้ปกครองที่บ้าน         -พ่อแม่ กรณีเด็กอ้วน ดูแลเรื่องการกินของเด็ก ลดการกินขนมกรุบกรอบ/ขนมหวาน กินโปรตีนเนื้อสัตว์ กระตุ้นให้เล่นเพิ่มเติมกรณีเด็กผอม กระตุ้นให้เกิดกินมากขึ้น เพิ่มอาหารที่มีไขมัน/โปรตีน(ตามที่กรมอนามัยแนะนำ) 8.จัดอาหารเสริม (นม/ไข่) แจกเพิ่มเติมสำหรับให้เด็ก (Pattani smart kids) ที่มีปัญหาโภชนาการและเจริญเติบโตช้า และสนับสนุนให้เด็กที่มีปัญหาและที่ครอบครัวมีฐานะยากจน พร้อมแบบันทึกการดื่มนมและกินไข่ รายงันแก่ผู้ปกครอง ซึ่งกำหนดให้เด็กต้องได้รับการรับประทานอาหารเสริม นม/ไข่ ต่อเนื่องเป็นเวลา 180 วัน โดยแบ่งจ่ายให้ครั้งละ 30 วัน จ่ายในวันประชุม และแจกจ่ายในวันนัดติดตามประเมินผล 9.ติดตามประเมินภาวะโภชนาการและการเจริญเติบโตเด็กกลุ่มเป้าหมายเชิงรุกในชุมชน พร้อมจ่าย ยาบำรุงเลือด/วิตามิน และติดตามชั่งน้ำหนัก/วัดส่วนสูงเด็ก เดือนละ 1 ครั้งจนครบ 3 เดือน และแนะนำพ่อแม่ให้ดำเนินการต่อเนื่อง 10.เยี่ยมบ้านกลุ่มเป้าหมายพิเศษที่ประเมินแล้วไม่ก้าวหน้า เพื่อสำรวจและประเมินสภาพปัญหา หาแนวทางแก้ไขได้ตรงตามความต้องการของกลุ่มเป้าหมายพิเศษ 11.สรุปผลการดำเนินงานตามแผนงานโครงการพร้อมแนบรายงาน ส่งให้กองทุนหลักประกันสุขภาพองงค์การบริหารส่วนตำบลตะโละดือรามัน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

เด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียนมีภาวะโภชนาการปกติ

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 24 มี.ค. 2564 11:08 น.