กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการพัฒนา "ยุวอาสาสมัครสาธารณสุข" สร้างเสริมสุขบัญญัติแห่งชาติของโรงเรียน
รหัสโครงการ 64-L2972-10(2)-1
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของรัฐ เช่น สสอ.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ สาธารณสุขอำเภอกะพ้อ
วันที่อนุมัติ 25 กุมภาพันธ์ 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กรกฎาคม 2564 - 30 พฤศจิกายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 6,400.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายอะหลี หมานมานะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลตะโละดือรามัน อำเภอกะพ้อ จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.603,101.554place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานขยะ , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การที่เด็กวัยเรียนจะ มีสุขภาพที่ดี ต้องเริ่มปลูปฝั่งวิถีชีวิตสุขภาพที่ถูกต้องและเหมาะสมตั้งแต่วัยเยาว์ โดยได้รับการส่งเสริมจากครอบครัว โรงเรียน ชุมชน และสังคม การส่งเสริมบทบาทให้เด็กวัยเรียน แสดงศักยภาพในการช่วยเหลือดูแลสังคมและคนรอบข้าง ให้มีความรู้และทักษะในการดำเนินชีวิตที่ดี โดยเน้นลักษณะงานที่เป้นอาสาสมัครโดยเน้นการจัดการสุขภาพตามสุขบัญญัติแห่งชาติ ให้มีสุขภาพอนามัยแข็งแรง และรู้จักป้องกันตนเองและบคคลรอบข้างจากโรคและภัยต่างๆต่อไป     "ยุวอาสาสมัครสาธารณสุข" ดำเนินการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร ความรู้ตลอดจนดำเนินการเฝ้าระวังพฤติกรรมสุขภาพและการเจ็บป่วยของคนในครอบครัว เพื่อนๆและชุมชนให้มีการปฏิบัติด้านสุขภาพที่ถูกต้อง หลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงที่เป้นภัยคุกคามต่อสุขภาพ กระตุ้นให้เกิดการสร้างสุขภาพขึ้นในโรงเรียนและชุมชน จนนำไปสู่การปฏิบัติเกิดเป็นพฤติกรรมใหม่ที่ถูกต้องและเหมาะสมในกลุ่มวัยเรียนที่รู้จักรับผิดชอบใส่ใจสุขภาพของตนเอง ตลอดจนคนในครอบครัว เพื่อน และคนในชุมชนให้ตระหนักถึงการดูแลสุขภาพตั้งแต่เยาว์วัย อันจะนำไปสู่การมีสุขภาพที่ยั่งยืนตลอดไป     โรงเรียนตะโละดือรามัน เป็นหนึ่งในโรงเรียนโครงการพระราชดำริและโครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน ทั้งยังได้รับการคัดเลือกจากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดปัตตานีเป็นโรงเรียนนำร่อง "ทีมสร้างเสริมสุขบัญญัติแห่งชาติของโรงเรียน" ในการเสริมการเป็น ยุวอาสาสมัครสาธารณสุขในกลุ่มนักเรียนชั้นประถทศึกษาปีที่ 5-6 จำนวน 10 คน สำหรับหน้าที่ของ ยุวอสม. ที่ได้รับการการคัดเลือกจากโรงเรียน ในการพัฒนา "วิถีชีวิตด้วยสุขบัญญัติ" เป็นแกนหลักในการส่งเสริมและเฝ้าระวังพฤติกรรมสุขภาพเพื่อนนักเรียน โดยเฉพาะการป้องกันโรคโควิด 19 อาทิ จัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้/สร้างเสริมพฤติกรรมสุขภาพ เช่น จัดบอร์ดประชาสัมพันธ์ เสียงตามสาย เฝ้าระวังพฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพ เช่น การสวมหน้ากากอนามัย การเล่นในระยะห่าง ที่เหมาะสม การล้างมือ ความสะอาดส่วนบุคคล รวมทั้งเป็น "ต้นแบบด้านสุขภาพ/ร่วมกับครูค้นหานักเรียนต้นแบบสุขภาพ เพื่อส่งเสริมให้คงพฤติกรรมสุขภาพดีอย่างต่อเนื่อง     ซึ่ง ยุวอสม. จะได้รับเรียนรู้จากการปฏิบัติจริงในทักษะด้านสุขภาพ ที่สามารถนำมาใช้กับตนเอง ครอบครัว และสังคม ฝึกการเป็นผู้นำด้านสุขภาพ พัฒนาเป็นนักจัดการสุขภาพในโรงเรียนและชุมชน และจะได้รับ ใบเกียรติบัตรเป็น "ยุวอาสาสมัครสาธารณสุข" แสดงถึงความเป็นผู้นำและผู้เสียสละ ส่วนในโรงเรียนที่มีการพัฒนาคุณภาพตามแนวทางสุขบัญญัติในระดับดีเยี่ยม จะได้รับโล่และใบเกียรติบัตรต้นแบบโรงเรียนส่งเสริมสุขบัญญัติแห่งชาติ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.การมีส่วนร่วมในกิจกรรมที่มีประโยชน์ต่อเพื่อน โรงเรียน และชุมชน

1.นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5-6 มีความรู้รอบด้านสุขภาพ (Health Literacy) อยู่ในระดับดีขึ้นไป ร้อยละ 70

0.00
2 2.ได้เรียนรู้จากการปฏิบัติจริงมีความรู้ ความเข้าใจและทักษะด้านสุขภาพ ที่นำมาใช้กับตนเอง ครอบครัว สังคม

2.มีทีมสร้างเสริมสุขบัญญัติแห่งชาติของโรงเรียนจำนวน 1 ทีม

0.00
3 3.ได้ร่วมสร้ามจิตสำนึกที่ดีต่อเพื่อนมนุษย์ สังคม และสังคม

 

0.00
4 4.ได้ค้นพบศักยภาพในตัวเอง สามารถเป็นผู้นำด้านสุขภาพได้

 

0.00
5 5.โรงเรียนสร้ามเสริมสุขบัญญัติแห่งชาติผ่านเกณฑ์ตั้งแต่ระดับดีขึ้นไป

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

1.ประชุมเจ้าหน้าที่สาธารณสุขผู้รับผิดชอบงาน (ผู้รับผิดชอบงาน สสอ./รพ.สต./ครูอนามัยโรงเรียน) เพื่อกำหนดแผนสร้างเสริมสุขบัญญัติ 2.อบรม นักเรียนในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5-6 ตามหลักสูตร ยุวอาสาสมัครสาธารณสุข 1 วัน วันลั 6 ชั่วโมง ตามแนวทางการพัฒนา ยุวอาสาสมัครสาธารณสุข ประกอบด้วยเนื้อหาวิชา 6 รายวิชา   2.1เข้าถึงข้อมูลลและบริการสุขภาพ 1 ชั่วโมง   2.2เข้าใจข้อมูลด้านสุขภาพ 1 ชั่วโมง   2.3โต้ตอบ ซักถาม แลกเปลี่น ข้อมูลด้านสุขภาพ 1 ชั่วโมง   2.4ตัดสินใจเพื่อสุขภาพ 1 ชั่วโมง   2.5ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ 1 ชั่วโมง   2.6บอกต่อนำเสนอทางเลือกด้านสุขภาพ 3.นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5-6 ได้รับคัดเลือกเป็น ยุวอาสาสมัครสาธารณสุขปฏิบัติกิจกรรมในโรงเรียนร่วมกับทีม ได้แก่   3.1การจัดป้ายนิทรรศการให้ความรู้ในโรงเรียน   3.2จัดเสียงตามสายโรงเรียนและชุมชน   3.3การรณรงค์ด้านสุขภาพในชุมชน 4.ออกแบบเครื่องมือเฝ้าระวังตามประเด็นปัญหาและเก็บรวบรวมข้อมูลตามเวลาที่กำหนดในแผน 5.วิเคราะห์ข้อมูล ความรอบรู้ด้านสุขภาพ (Health Literacy) ด้วยสถิติ 6.มอบเกียรติบัตร นักเรียนที่ผ่านมาหลักสูตรและสรุปผลการดำเนินโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.นักเรียนสามารถเข้าถึงข้อมูลและบริการสุขภาพได้ด้วยตนเอง 2.นักเรียนเข้าใจข้อมูลด้านสุขภาพที่ถูกต้อง 3.นักเรียนสามารถโต้ตอบ ซักถาม และแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านสุขภาพได้ 4.นักเรียนสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้องให้กับตนเอง และบุคคลใกล้ชิด 5. นักเรียนสามารถบอกต่อนำเสนอทางเลือกด้านสุขภาพได้

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 24 มี.ค. 2564 11:25 น.