กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการค่ายพัฒนาทักษะชีวิต ปลูกจิตสำนึก“รักษ์สุขภาพ”ในเยาวชนตำบลสะดาวา
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม องค์การบริหารส่วนตำบลสะดาวา
วันที่อนุมัติ 18 มีนาคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2564 - 30 เมษายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2564
งบประมาณ 85,430.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวฮัยฟา จาหลง (นักวิชาการสาธารณสุขปฏิบัติการ)
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลสะดาวา อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.821,101.311place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานสิ่งเสพติด , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 80 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและการสื่อสาร ก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อสภาพสังคมและสิ่งแวดล้อม ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อวิถีชีวิตของเยาวชน ทั้งนี้เกิดจากการเลียนแบบพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม ขาดการคิดไตร่ตรอง ซึ่งการดำเนินชีวิตดังกล่าว นำไปสู่ปัญหาทั้งตัวเด็ก ครอบครัวและสังคม อาทิเช่น ปัญหายาเสพติด การตั้งครรภ์โดยไม่พึงประสงค์ และปัญหาอื่นๆที่ตามมา
สถานการณ์การลักลอบนำเข้ายาเสพติดรุนแรงอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี ๒๕๖๐ เป็นต้นมา ข้อมูลสถิติการจับกุม คดียาเสพติดของสำนักงานตำรวจแห่งชาติในปีงบประมาณ ๒๕๖๒ สามารถจับกุมคดียาเสพติดทั้งหมด ๓๕๙,๖๘๘ คดี ในส่วนของพื้นที่ภาคใต้ตอนล่างส่วนใหญ่เป็นการลักลอบนำเข้าใบกระท่อม จากประเทศมาเลเซีย เป็นการลักลอบนำเข้าผ่านช่องทางด่านศุลกากรและช่องทางตามธรรมชาติ ตามแนวชายแดนไทย - มาเลเซีย ปีงบประมาณ ๒๕๖๒ มีการจับกุมคดีพืชกระท่อมและตรวจยึดของกลางในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่างได้มากถึง ๖๗.๘๕ ตัน (แผนปฏิบัติการด้านการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดพ.ศ.2563 ป.ป.ส.) จากสถานการณ์ดังกล่าวจะเห็นได้ว่าปัญหายาเสพติดในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ทวีความรุนแรงมากขึ้น บวกกับปัญหาเศรษฐกิจ การว่างงานและการแพร่ระบาดของโรคไวรัสโคโรนา จึงทำให้เยาวชนที่ว่างงานเกิดความเครียดและแก้ปัญหาโดยการพึ่งพายาเสพติดอย่างต่อเนื่อง
กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม องค์การบริหารส่วนตำบลสะดาวา ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการป้องกันการเกิดปัญหาสุขภาพ จึงได้จัดทำโครงการค่ายพัฒนาทักษะชีวิต ปลูกจิตสำนึก“รักษ์สุขภาพ”ในเยาวชนตำบลสะดาวา ขึ้น เพื่อให้เยาวชนมีภูมิคุ้มกันที่ดี มีทักษะในการดำรงชีวิตในสังคมยุคปัจจุบัน ส่งเสริมให้เยาวชนมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ในการพัฒนาตนเอง เป็นบุคคลที่มีคุณค่าในตนเอง รู้จักคิดแก้ปัญหาด้วยตนเอง ไม่ตกเป็นทาสยาเสพติด สามารถเป็นแบบอย่างให้กับเยาวชนรุ่นหลังได้ ต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเสริมสร้างองค์ความรู้ด้านการดูแลสุขภาพ ครอบคลุมทั้งด้านการส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค ให้แก่เยาวชนในพื้นที่

ร้อยละ 80 ของผู้เข้ารับการอบรม มีองค์ความรู้ด้านการส่งเสริมสุขภาพและการป้องกันโรค

64.00
2 เพื่อสร้างกลุ่มแกนนำเยาวชน “รักษ์สุขภาพ” ในการส่งเสริม ป้องกันและแก้ไขปัญหาสุขภาพ รวมถึงร่วมกันแก้ไขปัญหาการติดยาเสพติดของเยาวชนในพื้นที่

ร้อยละ 100 ของผู้เข้ารับการอบรม เป็นเเกนนำเยาวชน “รักษ์สุขภาพ” ในพื้นที่

80.00
3 เพื่อให้เยาวชนสามารถพัฒนาทักษะในด้านต่างๆ รวมถึงการพัฒนาคุณภาพชีวิต ทั้งด้านความคิด การปฏิบัติตน และสร้างภูมิคุ้มกันทางด้านจิตใจ ไม่ตกเป็นเครื่องมือของอบายมุข

ร้อยละ 80 ของผู้เข้ารับการอบรม มีทักษะในการใช้ชีวิตในสังคมและมีภูมิคุ้มกันด้านจิตใจที่เข้มแข็ง

64.00
4 เพื่อให้เยาวชนมีสุขภาวะที่ดี เกิดความร่วมมือ และมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่าง ๆ ซึ่งส่งผลให้การดำรงชีวิตในสังคมเป็นไปอย่างปกติสุขด้วยความสมัครใจ

ร้อยละ 80 ของผู้เข้ารับการอบรมมีสุขภาวะที่ดี เกิดความร่วมมือ และมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆ ในพื้นที่

64.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 90 85,430.00 2 85,430.00
1 - 2 เม.ย. 64 กิจกรรมอบรมให้ความรู้ 90 85,430.00 85,430.00
1 - 2 เม.ย. 64 แบ่งกลุ่มการเรียนรู้(Work Shop) เรื่อง แนวทางการแก้ปัญหาสุขภาพที่เกิดขึ้นจริงในสังคมยุคปัจจุบัน 0 0.00 0.00

14.1 ขั้นตอนเตรียมการ 1) ประชุมผู้เกี่ยวข้อง เพื่อกำหนดรูปแบบของกิจกรรม 2) เขียนโครงการเพื่อเสนอคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพฯเพื่อขออนุมัติสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินงาน 3) จัดเตรียมวัสดุ อุปกรณ์ สำหรับจัดทำโครงการ
4) ประสานงานกับกลุ่มเป้าหมาย ติดต่อวิทยากร เพื่อดำเนินกิจกรรมตามรูปแบบที่กำหนด 5) กำหนดวัน เวลาการจัดกิจกรรม จัดเตรียมสถานที่สำหรับจัดกิจกรรมและแจ้งผู้ที่เกี่ยวข้อง 14.2 ขั้นตอนดำเนินงาน กิจกรรมที่ 1 การอบรมให้ความรู้เชิงวิชาการ ในหัวข้อเรื่อง อิทธิพลของสื่อที่มีผลต่อพฤติกรรมเสี่ยงด้านสุขภาพเยาวชนยุคใหม่ ,ปัจจัยเสี่ยงในสังคมปัจจุบันที่ส่งผลให้เยาวชนในพื้นที่ติดยาเสพติดมากขึ้น ,ศาสนากับการใช้ชีวิตในยุคปัจจุบัน (โลกาภิวัฒน์)
กิจกรรมที่ 2 แบ่งกลุ่มการเรียนรู้(Work Shop) เรื่อง แนวทางการแก้ปัญหาสุขภาพที่เกิดขึ้นจริงในสังคมยุคปัจจุบัน 14.3 ขั้นตอนการสรุปผลการดำเนินงาน จัดทำรายงานสรุปผลการดำเนินงานของโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เยาวชนมีองค์ความรู้ด้านการดูแลสุขภาพ ครอบคลุมทั้งด้านการส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค ให้แก่เยาวชนในพื้นที่
  2. มีกลุ่มแกนนำเยาวชน “รักษ์สุขภาพ” ในการส่งเสริม ป้องกันและแก้ไขปัญหาสุขภาพ รวมถึงร่วมกันแก้ไขปัญหาการติดยาเสพติดของเยาวชนในพื้นที่
  3. เยาวชนมีทักษะในการใช้ชีวิตในสังคมและมีภูมิคุ้มกันด้านจิตใจที่เข้มแข็ง ไม่ตกเป็นเครื่องมือของอบายมุข
  4. เยาวชนมีสุขภาวะที่ดี เกิดความร่วมมือ และมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆ ในพื้นที่
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 24 มี.ค. 2564 12:58 น.