โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในกลุ่มสงสัยป่วยโรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน โรคหัวใจ และโรคหลอดเลือดในสมอง ตำบลประกอบ ประจำปีงบประมาณ 2564
ชื่อโครงการ | โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในกลุ่มสงสัยป่วยโรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน โรคหัวใจ และโรคหลอดเลือดในสมอง ตำบลประกอบ ประจำปีงบประมาณ 2564 |
รหัสโครงการ | 64-L5202-(1)-4 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ตำบลประกอบ |
วันที่อนุมัติ | 18 มีนาคม 2564 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 24 มีนาคม 2564 - 30 กันยายน 2564 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 31 ตุลาคม 2564 |
งบประมาณ | 49,150.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางสาวคอรีเย๊าะ เลาะปนสา |
พี่เลี้ยงโครงการ | นายสุธน โสระเนตร์ |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลประกอบ อำเภอนาทวี จังหวัดสงขลา |
ละติจูด-ลองจิจูด | 6.483,100.643place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง | 383 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง : |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด | |||
---|---|---|---|---|
1 | ร้อยละของกลุ่มสงสัยป่วยโรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน โรคหัวใจ และโรคหลอดเลือดในสมอง สามารถปรับเปลี่ยนพฆติกรมการดูแลสุขภาพด้านโภชนาการ | 70.00 |
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | 1. เพื่อให้กลุ่มสงสัยป่วยโรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน โรคหัวใจ และโรคหลอดเลือดในสมอง มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพตนเอง ร้อยละของผู้เข้าอบรมมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพด้านการออกกำลังกาย การบริโภคอาหาร และสุขภาพจิตที่ถูกต้องเพิ่มขึ้น หลังเสรจสิ้นโครงการ (มากกว่าหรือเท่ากับ 9 คะแนน จากคะแนนเต็ม 12 คะแนน) |
70.00 | |
2 | 2. เพื่อให้กลุ่มสงสัยป่วยโรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน โรคหัวใจ และโรคหลอดเลือดในสมอง มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้อง และสามารถลดระดับความดันโลหิตสูง และระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติได้ ร้อยละของกลุ่มสงสัยป่วยโรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน โรคหัวใจ และโรคหลอดเลือดในสมอง สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลสุขภาพด้านโภชนาการและการออกกำลังกายที่ถูกต้องเพิ่มขึ้น และมีระดับค่าความโลหิต และระดับน้ำตาลอยู่ในเกณฑ์ปกติ หลังการอบรม 3 เดือน |
60.00 | |
3 | 3. เพื่อสร้างกระแสให้ประชาชน และชุมชนเห็นความสำคัญและตระหนักถึงการป้องกันเพื่อลดความรุนแรงของโรค ร้อยละของหมู่บ้านต้นแบบที่มีมาตรการทางสังคม ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสม |
1.00 |
รวมทั้งสิ้น | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 | 0.00 |
ขั้นเตรียมการ 1. ประชุมประชาคมและประชาสัมพันธ์โครงการแก่ ผู้นำหมู่บ้าน อบต. อสม. ในเขครับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ตำบลประกอบ 2. จัดเตรียมเอกสาร ประสานงาน และความพร้อมก่อนดำเนินการอบรม 3. ขึ้นทะเบียนผู้มีภาวะเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน 4. จัดทำคู่มือแบบบันทึกสุขภาพกลุ่มเสี่ยงทุกคน เพื่อใช้ในการบันทึกและประเมินภสวะสุขภาพ ขั้นดำเนินการ 1. จัดกิจกรรมเสริมทักษะการสร้างแรงจูงใจ ให้ความรู้แก่กลุ่มสงสัยป่วยและผู้ที่มีภาวะเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ และโรคหลอดเลือดสมอง เกี่ยวกับการป้องกันและควบคุมโรคที่เหมาะสม เพื่อให้กลุ่มสงสัยป่วยและผู้ที่มีภาวะเสี่ยงปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ถูกต้องตามหลัก 3 อ. 2 ส. 1.1 กิจกรรมเสริมสร้างการเรียนรู้ ตามหลัก 3 อ. 2ส. ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้ - อบรมพัฒนาความรู้ ความเข้าใจ เรื่องโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ และโรคหลอดเลือดสมอง โดยเน้น ให้กลุ่มสงสัยป่วยและผู้ที่มีภาวะเสี่ยงฯ มีความตระหนักเกี่ยวกับปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความเชื่อด้านสุขภาพ ตามแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ ได้แก่ การรับรู้โอกาสเสี่ยงของการเป็นโรค การรับรู้ความรุนแรงของสุขภาพ ได้แก่ การรับรู้ถึงประโยชนื อุปสรรคของการปฏิบัติเพื่อป้องกันโรค การรับรู้ต่ออุปสรรคของการปฏิบัติพฤติกรรมสุขภาพ แรงจูงใจด้านสุขภาพ - เสริมทักษะ การเรียนรู้เรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการออกกำลังกาย และสาธิตการออกกำลังกาย - เสริมทักษะ การเรียนรู้เกี่ยวกับการจัดการอารมณ์ และการผ่อนคลายความเครียด - เสริมทักษะ การเรียนรู้เกี่ยวกับการลด ละ เลิก บุหรี่ และสุรา ในผู้ที่มีการสูบบุหรี่ และสุรา 1.2 กิจกรรมแลกเปลี่ยนประสบการณ์จากผู้ป่วยความดันโลหิตสูง และผู้ป่วยโรคเบาหวานที่สามารถควบคุมระดับความดันโลหิตและน้ำตาลได้ดี (บุคคลต้นแบบ) 2. กิจกรรมประชาสัมพันธ์ สร้างกระแสการดูแลสุขภาพ โดยการจัดนิทรรสการเกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน โรคหัวใจและโรคหลอดเลือดในรูปแบบต่างๆ เช่น ไวนิล เอกสาร แผ่นพับ เสียงตามสาย 3. กิจกรรมการติดตามและประเมินผล การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้านการรับประทานอาหารและการออกกำลังกาย และติดตามการเปลี่ยนแปลงของภาวะสุขภาพ โดยมีการประเมินภาวะด้านสุขภาพหลังการอบรมใน 1 เดือน และ 3 เดือน โดยมีการตรวจวัดความดัน เจาะประเมินน้ำตาลในเลือด ตรวจประเมินความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด การประเมินผล 1. ระดับความรู้ ความเข้าใจของผู้เข้ารับการอบรม ประเมินจากแบบสอบถาม เรื่อง การดูแลสุขภาพด้านการออกกำลังกาย การบริโภคอาหาร และสุขภาพจิต ก่อนและหลังการอบรม เกณฑ์ร้อยละ 70 ของผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้เกี่ยวกับการดูลสุขภาพที่ถูกต้อง เพิ่มขึ้น 2. พฤติกรรมการดูแลสุขภาพของผู้เข้ารับการอบรม สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลสุขภาพ ด้านโภชนาการ และการออกกำลังกาย มีพฤติกรรมในการดูแลสุขภาพที่ถูกต้อง และมีระดับค่าความดันโลหิต และระดับน้ำตาลอยู่ในเกณฑ์ปกติ ร้อยละเพิ่มขึ้นร้อยละ 60 หลังการอบรม 3 เดือน 3. เกิดหมู่บ้านต้นแบบที่มีมาตรการทางสังคมในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างน้อย 1 หมู่บ้าน
- กลุ่มสงสัยป่วยและกลุ่มเสี่ยงสูงต่อโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหัวใจ และโรคหลอดเลือดสมอง มีความรู้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสม เพิ่มขึ้นร้อยละ 70
- กลุ่มสงสัยป่วยและกลุ่มเสี่ยงสูงโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหัวใจ และโรคหลอดเลือดสมอง มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม สามารถควบคุมระดับความดันโลหิต และน้ำตาลในเลือดได้ในระดับปกติ และมีสุขภาพดี ไม่น้อยกว่าร้อยละ 60
- อัตราการเกิดผู้ป่วยรายใหม่โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหัวใจ และโรคหลอดเลือดลดลง
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 24 มี.ค. 2564 14:39 น.